บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2009

Who is Warren Buffet: วอร์เรน บัฟเฟตต์คือใคร

รูปภาพ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ( Warren Buffet ) คือใคร ทำไมเค้าถึงสำคัญกับการลงทุน เค้าว่าใครที่ชอบเดินไปร้านหนังสือในหมวดธุรกิจหรือการลงทุนต้องเคยเห็นหน้าคุณลุงคนหนึ่ง หน้าตาผ่องใส ใส่แว่นกรอบใหญ่ในหนังสือหมวดนี้ นั้นละครับ คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ( Warren Buffet ) ผมเ็ห็นหนังสือของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ( Warren Buffet ) ตั้งแต่ผมยังไม่เข้าไปในการลงทุนเลย โดยหนังสือเล่มแรกๆ แปลโดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ซึ่งได้ ยึดถือแนวทางการลงทุนแบบ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ( Warren Buffet ) ด้วยเช่นเดียวกัน โดยในปัจจุบันมีหนังสือของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ( Warren Buffet ) ออกมาหลายเล่มมาก รวมทั้งได้รับการแปลเป็นภาษาไทย (น่าจะมากกว่าตำราสอนลงทุนในหุ้นด้วยซ้ำ) ซึ่งเราสามารถหาอ่านกันได้ง่ายและสะดวกมากในปัจจุบัน วอร์เร็น เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์ เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1930 ที่โอมาฮา, เนบราสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นนักลงทุน,นักธุรกิจชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงระดับโลก เขาเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และซีอีโอของบริษัทเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ เขาได้รับการจัดอันดับใ

หลักปรัชญาของการวิเคราะห์แบบเทคนิค

สิ่งที่เป็นหลักความเชื่อและต้องเชื่อสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยเรียกว่าเป็นหลักปรัชญาสำหรับนักวิเคราะห์ทางเทคนิคเลยก็ว่าได้ โดยมีอยู่ 3 ข้อ Market Action Discounts Everything. หมายถึุงราคาหลักทรัพย์ หรือ ราคาหุ้นนั้นจะแสดงผลกับทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น ข่าว ผลประกอบการ เศรษฐกิจ การเมือง Prices move in trends. การเคลื่อนที่ของราคานั้นจะเป็นไปตามแนวโน้ม(Trend) History repeats itself. ประวัติศาสตร์ต้องซ้ำรอย โดยความเชื่อนี้เปรียบเสมือนสมมุติฐาน อาจจะไม่เกิดขึ้นจริงหรือไม่เป็นไปตามความเป็นจริงเสมอไปก็ได้ แต่เพื่อให้สามารถอธิบายได้ด้วยทางทฤษฎีแล้ว ต้องทำการสมมุติสถานการณ์ หรือตัดตัวแปรที่ไม่จำเป็นทิ้งไป เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย ซึ่งผมจะอธิบายรายละเอียดแต่ละข้อในครั้งต่อไปนะครับ

แนวรับ แนวต้าน คืออะไร

คำแรกคือในบทความวิเคราะห์ทางเทคนิคคือ แนวรับ แนวต้าน แนวรับ แนวต้าน คืออะไร แนวรับ แนวต้าน เป็นคำที่นักลงทุน นักเล่นหุ้น ได้ยินบ่อยๆ จากนักวิเคราะห์หุ้น หรือ พวกมีความรู้ทั้งหลาย เช่นว่า "ให้รอแนวรับที่ XXX จุด และ ขายที่ แนวต้านแถวๆ XXX จุด" "ถ้าหลุดแนวรับนี้ไปได้ ก็ให้ไปรอแนวรับต่อไป" "แนวต้านนี้แข็งมากๆ คงฝ่าไปยาก" เป็นต้น จากนั้นการหาแนวรับแนวต้านหาจากไหน ตอนผมอบรมที่ NIP มีอาจารย์คนหนึ่งบอกว่า แนวรับอยู่ใจ แนวต้านอยู่ที่เงิน หรือ แนวรับอยู่ทีเงิน แนวต้านอยู่ที่ใจ ไม่แน่ใจเหมือนกัน แนวรับอยู่ใจคือ หุ้นตกแค่ไหน ใจถึงไหมที่จะถือ แนวต้านอยู่ที่เงิน คือ ช่วงนัี้นร้อนเงินไหม ถ้าร้อน ก็ขาย โดยแนวรับ เป็นจุดที่คาดการณ์ว่า หุ้นคงไม่หล่นลงไปมากกว่านี้ ส่วนแนวต้านคือ จุดที่คาดการณ์ว่า หุ้นไม่สามารถฝ่าขึ้นไปได้ จากนั้นเลยมีคำว่า หลุดแนวรับ หรือ ฝ่าแนวต้าน คือ เมื่อหุ้นนั้นสามารถผ่าสิ่งที่เราคิดไปได้ นั้นละครับ สรุปง่ายๆ คือ แนวรับ แนวต้าน เป็น ตัวเลขที่เราสมมุติขึ้นมา แนวรับถ้าอยู่ได้ ก็ให้ซื้อ เพราะน่าจะไม่ตกไปอีกแล้ว แนวต้านถ้าไม่ทะลุ ก็ให้ขาย แล้วไปรอรับข้างล่

แนวรับ แนวต้าน คืออะไร ภาคอ้างอิง

ความหมายที่คนอื่นได้บอกไว้ "แนวรับ รับไว้ไม่ให้ตก" หมายถึง บ่อยครั้งที่ราคาหุ้นได้อ่อนตัวลงมาถึง ระดับน้ทีไร ก็มีแรงซื้อมาช่วยผลักดันให้ราคาหุ้นมีการดีดตัวกลับทุกที หรือ อาจกล่าวได้ว่า ในอดีตที่ผ่านมา มีความต้องการซื้อเกิดขึ้น เมื่อราคามาถึงระดับนี้ "แนวต้าน ต้านไว้ไม่ให้ขึ้น" หมายถึง บ่อยครั้งที่ราคาหุ้นได้ขึ้นมาถึง ระดับนี้ทีไร ก็มีแรงเทขายออกมากดให้ราคาหุ้นมีการอ่อนตัวลงไปทุกที หรือ อาจกล่าวได้ว่า ในอดีตที่ผ่านมา มีความต้องการขายเกิดขึ้นมา ณ ระดับนี้ จาก http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/I3618490/I3618490.html แนวรับรับไว้ไม่ให้ตก หมายถึง บ่อยครั้งที่ราคาหุ้นได้อ่อนตัวลงมาถึง ณ ระดับนี้ทีไร ก็มีแรงซื้อเข้ามาช่วยผลักดันให้ราคาหุ้นมีการดีดตัวกลับขึ้นไปทุกที หรืออาจจะกล่าวได้ว่าในอดีตที่ผ่านมา มีความต้องการซื้อเกิดขึ้น เมื่อราคามาถึงระดับนี้ แนวต้านต้านไว้ไม่ให้ขึ้น หมายถึง บ่อยครั้งที่ราคาหุ้นได้ขึ้นมาถึง ณ ระดับนี้ทีไร ก็มีแรงเทขายออกมากดให้ราคาหุ้นมีการอ่อนตัวลงไปทุกที หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ในอดีตที่ผ่านมา มีความต้องการขายเกิดขึ้นมา ณ ระดับนี้ จาก h

การวางแผนเรื่องของรายรับกับรายจ่ายป้องกันอาการสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ

คืนวันศุกร์ต้นเดือนนั้นเป็นช่วงที่จราจรนั้นติดขัดเสมอมากมาย ไปตามห้างสรรพสินค้าก็นับเป็นช่วงที่คนมากเหลือเกินหรือร้านอาหารที่ดัง คนก็จะแน่นในคืนวันศุกร์ เป็นความเคยชินของมนุษย์เงินเดือนโดยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะวันที่เงินเดือนออก แล้วช่วงไหนที่ไม่ค่อยใช้จ่าย เหมือนก่อนแม่ผมชอบร้องเพลง สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ เงินหมดสิ้นไปในวันสิ้นเดือน ก็ทำให้เห็นภาพของมนุษย์เงินเดือนได้ชัดเจนอีกรูปแบบหนึ่ง เรามาพูดถึุงการบริหารเงินครับ ปกติ ในช่วงวันเงินเดือนออก เรามักใช่จ่ายมากกว่าปกติ เพราะหลายปัจจัย เช่น ปลายเดือนทีแล้วกินแต่มาม่า เิงินเดือนออกชอฉลองหน่อยแล้วกัน เงินมาแล้ว ไปฉลองกัน อยากได้ ไอ้นั้น มาตั้งแต่เดือนทีแล้วละ เงินเดือนออกไปซื้อดีกว่า ฯลฯ เห็นไหมครับ อันนี้เหมือนกับเราไม่มีคำว่า วินัยทางการเิงิน คือ มีเงินเท่าไร ก็ใช้ไปเต็มตามอรรถภาพที่มี มีเยอะก็ใช้เยอะมีน้อยก็ใช้น้อย ไม่มีก็ไม่ใช้ หรือ หนักที่สุด คือ ไม่มีก็ไปกู้เค้า เห็นได้ว่า ถ้าเราใช้ชีวิตแบบนี้ไม่ว่า จะกี่เดือนๆ ก็ตาม ก็เป็นสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ ตลอดทุกเดือนครับ สิ่งที่มนุษย์เราลืมนึกไปว่า รายได้มีวันเดียว แต่รายจ่ายมีทุกวัน อันนี้คือความจ

เทคนิคการออม จากชีวิตผม

ปัจจุบันนี้ไม่ทราบว่าเรามีเงินออมกันหรือไม่ครับ ถ้าพรุ่งนี้เราโดนไล่ออกจากงาน หรือ เราไม่สามารถหาเงินได้อีกไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือเกิดป่วยขึ้นมากระทันหัน ทำอย่างไร "ในปี 2545 อัตราการออมร้อยละ 6.3"อ้างอิงจาก http://news.sanook.com/education/education_169634.php "เมื่อสิ้นปี 2549 แล้วการออมในภาคครัวเรือนจะมีสัดส่วนประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับ GDP"อ้างอิงจาก http://www.fpo.go.th/S-I/Source/Article/Article57.htm แสดงให้เห็นว่า คนไทยมีอัตราการออมที่ต่ำมากในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในแง่ของภาคครัวเรือนนั้นปํญหาคือ ถ้าเกิดในกรณีฉุกเฉินจะหาเงินที่ไหนมาใช้จ่าย ซึ่งในกรณีนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เกิดหนี้สิน อันนี้คือเรื่องการจ่ายเงินให้ตัวเอง อย่างในหนังสือ The Richest Man in Babylon ได้กล่าวไว้ คนเรามักเคยตัว ว่ารายได้ที่ได้มานั้นต้องใช้ให้หมด อาจจะจริง แต่ต้องอย่าลืมจ่ายให้ด้วยนะครับ วิธีที่ง่ายที่สุดและผมเคยใช้มาตั้งแต่สมัย ม.ปลาย คือ จ่ายให้กับการออมตั้งแต่ได้เงินมา ผมเริ่มออมเงินครั้งแรกตอน ม .6 ครับ อาจจะช้าไปสำหรับคนบางคน แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้เริ่มทำ เงินก้อนแร

The Richest Man in Babylon หนังสือดีที่อยากให้อ่าน

The Richest Man in Babylon เป็นนิยาย วรรณกรรมที่พูดเกี่ยวกับด้านใช้เงินไว้เยอะครับ เป็นหนังสือเกี่ยวกับการบริหารเงินส่วนบุคคลที่ผมชอบมากที่่สุด และน่าเป็นหนังสือเล่มเดียวที่ผมอ่านเกิน 5 รอบ เพราะอ่านแล้วมันช่วยย้ำเตือนความจำเสมอ โดยแปลเป็นไทยหลายครั้ง พิมพ์ซ้ำก็หลายครั้งเปลี่ยนชื่อบ้างแต่ก็ให้หาชื่อภาษาอังกฤษไว้แล้วกันนะครับเพราะมันเไม่เคยเปลียน สิ่งที่พูดในหนังสือเล่มนี้ คือ การใช้เงินที่ได้มาในการทำสิ่งที่ทำให้ตนเองนั้นมีความมัี่งคงขึ้น เข่นการออมเงิน การลงทุนแบบยุคโบราณ หรือความจริงของสินทรัพย์กับรายได้ที่เรามี หนังสือเล่มนี้ใช้วิธีเล่าเรื่องผ่านตัวละครช่วงต่างๆว่า เริ่มจากมีหนี้บ้าง เริ่มจากเป็นทาสบ้าง แต่ในที่สุดเค้าใช้ความเข้าใจว่ารายได้ที่ได้มานั้นไม่ได้ตกมาจากท้องฟ้า แต่เป็นการบริหารรายได้ที่ถูกต้องของเราต่างหาก หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ทุนนิยมสุดโต่ง จะมองว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงก็น่าจะได้ สิ่งที่พูดแล้วทำให้ได้คิดมีประโยชน์ คือ "ทุกวันนี้เราไม่เคยจ่ายเงินที่เราได้มาให้ตัวเราเองเลย เราจ่ายเงินให้คนอื่นหมด ถ้าเจ้าต้องการเสื้อเจ้าต้องจ่ายเงินให้คนขายเสื้อ เจ้าต้องการอาหารเจ้าก็จ่า

อิสรภาพทางการเงินคำนี้ที่ปรารถนา

อิสรภาพทางการเงิน คำนี้เป็นที่ปรารถนาของที่ยังไม่มีฐานะร่ำรวย ทุกคนที่ยังทำงานอยู่หรือเป็นมนุษย์เงินเดือนยังต้องพึ่งพาเงินจากรายได้รูปแบบต่างๆ ที่เรายังต้องลงมือทำเองอยู่ เช่น เงินเืดือน การค้าขาย เป็นต้น บางคนอาจไม่รู้จักว่าคืออะไร ผมจะบอกตามความเข้าใจของผมแล้วกัน ผมรู้จักคำว่า อิสรภาพทางการเงิน ครั้งแรกตอนปี 2544 จากหนังสือ พ่อรวยสอนลูก (Rich Dad, Poor Dad) เขียนโดย Robert T. Kiyosaki เป็นครั้งแรกที่ได้อ่านและยอมรับว่าหนังสือเล่มนี้ได้ให้ความคิดใหม่ๆ จากในตอนนั้น เช่น การทำงานเพื่อเงิน อิสรภาพทางการเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย เป็นหนังสือเล่ม หนึ่งที่อยากให้อ่าน และควรอ่าน อย่างน้อยได้มีแนวคิดการบริหารเงินในกระเป๋า หรือจัดการเรือ่งการเงินส่วนบุคคล ได้ดีขึ้น ชัดเจนขึ้น หลักจากนั้นคำว่า อิสรภาพทางการเงิน ก็เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น การทำงานโดยปกตินั้น ไม่ใช่ทุกคนได้ทำงานที่ตัวเองชอบ หรืองานที่ตัวเองชอบบางครั้งไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเราและครอบครัวได้ ซึ่งทำให้เราต้องทำงานเพื่อรายได้อยู่ นั้นคือ เรายังไม่เป็นอิสรภาพทางการเงิน อิสรภาพทางการเงินคือ คุณมีอิสระจากการหาเงินเช่น คุณไม่ต้องทำงา

ชีวิตผมกับ cut lose

ผมเคยไปอบรมคอร์สการลงทุนของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยในโครงการ NIP2 ชื่อเต็มว่า New Investors Program 2 ภาษาไทยคือ โครงการนักลงทุนรุ่นใหม่ รุ่นที่2 เมื่อ ตุลาคม 45 ซึ่งเรียกว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดในชีวิตการลงทุนผมเลย ถ้าไม่มีโครงการนี้ ผมอาจเป็นแค่แมงเม่า และคงโดนไฟเผาตายไปตั้งแต่เริ่มลงทุน สัก 2 ปีแรกละ ซึ่งที่นี้เป็นที่ให้คำว่า ตัดขาดทุน หรือ cut lose โดยที่จำแม่น คือ อาจารย์หลายสำนักให้คำนี้ไว้ตรงกัน โดยมี อาจารย์ดร.นิเวศ เหมวชิรวรากร เขียนหนังสือหลายเล่มมาก อาจาย์วิกรม ซึ่งเป้นนักลงทุนแนวพื้นฐานทั้งคู่ อีกท่านจาก กิมเอ็ง เคยเป็นแพทย์มาก่อนผมจำชือ่ท่านไม่ได้ แต่ท่านเป้นอาจารย์คนแรกที่สอนเรื่อง เทคนิค ได้ให้พื้นฐานเต็มที่ ได้แนะนำหนังสือ ของ จอน เจ เมอฟีี่ ในผม ซึ่งผมได้ใช้ตลอดมาจนปัจจุบัน (อีกเล่มผมจำไมไ่ด้) แม้เวลาผ่านไปนานมากแล้ว เกือบ 8 ปี ชีวิต ความทรงจำ ความรู้ รวมทั้งความฝันในตอนนั้นได้หายไปมากแล้ว แต่สิ่งที่ยังฝังหัวในเรื่องความรู้่ในการลงทุนเรื่องหนึ่ง คือ cut lose แม้อาจารย์แต่ละท่านแตกต่างแนวทางการลงทุนและมองการตัดขาดทุนต่างกัน แต่ทุกคนให้รู้จัก cut lose หรือ ตัดขาดทุน

ความเสี่ยงในการลงทุนคือเพื่อนร่วมทางคุณตลอดไป (3): Cut lose is The best

พูดเรื่องความเสี่ยงมาก 2 บทความแล้ว คราวนี้ผมจะมาพูดถึงวิธีจำกัดความเสี่ยงในการลงทุนให้นะครับ จากกรณีความเสี่ยงด้านไม่ดีที่จะเกิดขึ้นในบทความที่ 1 ที่ผมได้กล่าวไว้ ผมขออนุญาติตัดกรณี -100% ทิ้งไปก่อนนะครับ แม้ความเสียหายรุนแรงสุดแต่โอกาศเกิดก็น้อยมากครับ โอกาสเกิดคือ บริษัทล้มละลาย ซึ่งก็ควรดูให้ดีๆนะครับ เราสามารถดูได้จากงบการเงินบริษัทไว้อธิบายในโอกาสต่อไป ก็เหลือ ถ้าหุ้น - 5 % เป็น 9,500 บาท เรารับความเสี่ยงนี้ได้ไหม ถ้าหุ้น - 10% เป็น 9,000 บาท เรารับความเสี่ยงนี้ได้ไหม ถ้าหุ้น -50% เป็น 5,000 บาท เรารับความเสี่ยงนี้ได้ไหม นั้นละครับ ความจริงอาจต้องแตกแยกกว่านี้อีก ให้ได้ครบทุกกรณี แต่ผมจะให้คุณคิดว่า ความยอมรับผลการขาดทุนได้มากขนาดไหนก่อน มีเงินอยู่ 10,000 บาท ยอมขาดทุนเท่าไร แล้วค่อยมาดูกันว่าวิธีจำกัดความเสี่ยงคืออะไร ........................................................ ........................................ ........................... .................. ........... ..... . คิดว่าน่าจะได้คำตอบกันแล้ว วิธีการจำกัดความเสี่ยง หลายคนอาจรู้จักแล้ว แต่ถ้ายังไม่รู้จัก ก็เรียกว่า

ความเสี่ยงในการลงทุนคือเพื่อนร่วมทางคุณตลอดไป (2): What is risk

ความเสี่ยงนั้น เป็นสิ่งที่พูดกันในเกือบทุกวงการ ตั้งแต่ เศรษฐศาสตร์, IT, แพทย์, การเมือง จนถึง หมอดู มีคนเคยสอนผมไว้ว่า เมื่อเริ่มลงทุนความเสี่ยงจะเป็นเพื่อนร่วมทางคุณตลอดไป แต่ผมคิดว่าชีวิตมนุษย์เจอความเสี่ยงทุกนาที ผมนั้งพิมพ์ blog อยู่ทีบ้าน อาจมีรถ 10 ล้อ เบรกแตกวิ่งมาชนก็ได้ หรืออาจมีเครื่องบินตกใส่หลัีงคาบ้านก็ได้ นี้ก็เป็นความเสี่ยงหรือเรียกชัดๆ อีกอย่างคือ ความซวย ความซวยในมุมมองผม คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับชีวิตในด้านไม่ดี มีกฏอธิบายเช่น กฏของเมอร์ฟี่ (Murphy's law) เป็นต้น ส่วนโชคนั้น ส่วนใหญ่ก็ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับชีวิตในแง่ดี ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีคนจัดการเท่าไรแต่ความจริง มันสามารถจัดการได้ ลองอ่านหนังสือของ คุณ บัณฑิต อึ้งรังษี ดูสิครับ ดีมาก แต่ ส่วนใหญ่ ถ้านักวิชาการ ผู้บริหารต้องจัดการความเสี่ยงแง่ไม่ดี หรือความซวย ไว้ก่อนเพราะถ้าเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบวงกว้างมากกว่า ซึ่งการจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ คือการทำให้โอกาสเกิดน้อยที่สุด ถึงกับมีวิชา Risk management ไว้ให้เรียน ซึ่งผมได้เรียนมาจากมหาวิทยาลัยตอนปรัิญญาโทที่ ม.กรุงเทพ เป็นจำนวน 1 บท ได้อธิบายความเสี่ยงไว้ ง่าย

ความเสี่ยงในการลงทุนคือเพื่อนร่วมทางคุณตลอดไป (1): The risk in investment:

ความเสี่ยงในความคิดผมคือ อะไรที่ไม่แน่นอน, อนิจจัง อะไรที่อาจเกิดขึ้นได้, อะไรที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่ว่าในอัตราต่ำเท่าไร การลงทุนในหลักทรัพย์หรือในหุ้นนั้น การเปลี่ยนแปลงของราคาเป็นสิ่งที่เรากำหนดไม่ได้ และการเปลี่ยนแปลงราคานั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดว่าการลงทุนนั้นจะขาดทุนหรือกำไร ราคาหุ้นขึ้นเรากำไร และถ้ามันขึ้นไปถึงเมื่อไรเราไม่สามารถกำำหนดได้ ราคามันลงเราก็ไม่รู้ว่ามันจะลงถึงเมื่อไรซึ่งก็ถือว่าเราไม่สามารถกำหนดได้เช่นกัน สิ่งที่ทำให้นักลงทุนมีปัญหาต่อการลงทุนมากที่สุดคือ การขาดทุน สิ่งนี้ไม่ว่าเป็นใครมือใหม่มือเก่า เซียนหุ้น แมงเม่านั้นก็เป็นสิ่งที่เราไม่ปรารถนาเหมือนกัน เพราะทุกคนลงทุนเพื่อกำไร ไม่ใช่เพื่อขาดทุน แต่ในเมื่อมันขาดทุนแล้วจะทำอย่างไร ความเสี่ยงนั้นมาพร้อมกันกับการลงทุน เมื่อคุณพร้อมลงทุนแล้ว ความเสี่ยงคือเพื่อนร่วมทางคุณตลอดไป โดยความเสี่ยงนั้น คือการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นนั้น ดังนั้นเราต้องมาจำกัดความเสี่ยงก่อนว่าเรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะสถานะภาพทางการเงินของทุกคนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนรับความเสี่ยงได้มากด้วยหลายประการ เช่น อายุน้อย ไม่มีภาระครอบครัวเ

แบบ 56-1 แหล่งขุดทองของหุ้น

รูปภาพ
แบบ 56-1 หรือ รายงานการเปิดเผยข้อมูลประจำปี (56-1) เป็นรายงานประเภทหนึ่ง ที่บริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ ต้องส่งให้กับ ตลาดหลักทรัพย์หรือกลต. (ไม่แน่ใจ) ที่มีข้อมูลพร้อมที่ทางบริษัทเปิดเผยให้เราทราบมากที่สุด มีทั้งงบการเงิน รายชื่อผู้บริหาร และ แนวโน้มการทำธุรกิจด้วย ซึ่งผมชอบอ่านมาก และนักลงเน้นมูลค่าก็ควรอ่านเพื่อให้ทราบว่า บริษัทที่เราจะซื้อหุ้นนั้นมีวิสัยทัศน์อย่างไร มีปัญหาอะไรในบริษัท ใครบริหาร และงบการเงินเป็นอย่าง ซึ่งผมว่ามันเป็นแหล่งข้อมูลอย่างเป็นทางการที่ให้มากที่สุด โดยเราสามารถหาได้จากเว็บตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามลำดับ 1.เข้า http://www.set.or.th/th/index.html แล้วไปที่ ค้นหาหลักทรัพย์ ให้เราใส่ หลักทรัพย์ที่เราต้องการ 2.เลือกหัวข้อ บริษัทฝหลักทรัพย์ 3.กด แบบ 56-1 เพื่อ download ซึ่งเราก็ได้รับข้อมูลจาก 56-1 ที่ให้เรามิติความรู้หลายมิติ ช่วงนี้หุ้นกำลังขึ้น อาจจะทำให้การซื้อขายมีความโลภมาก ก็อย่าให้ลองศึกษาพื้นฐานก่อน แล้วค่อยตัดสินใจอีกทีนะครับ