บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2009

นักลงทุนหลักทรัพย์กับการขาดทุน

ความเป็นจริงอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจริงกับการลงทุนคือ ไม่ว่าเราจะศึกษาวิเคราะห์หุ้นมาแค่ไหนแต่เราก็ไม่สามารถรู้อนาคตได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นความเสี่ยงที่เราต้องหาวิธีจัดการ ทุกศาสตร์การวิเคราะนั้นสอนให้เรารู้จักทรัพย์ให้ดีที่สุด เพราะพร่งนี้ หุ้นจะเป็นอย่างไร ก็ยังไม่มีใครตอบได้ แต่เราสามารถทราบแนวทางได้ว่าบริษัทนี้จะมีแนวโน้มอย่างไรต่อไป ถ้าแนวโน้มดีก็อาจส่งผลให้หุ้นที่เราถืออยู่นั้น มีโอกาสราคาสูงขึ้น เรื่องความไม่แน่นอนในตลาดหุ้นแต่ Warren Buffet ก็เคยขาดทุน พวก ดร.ทางการเงินก็เคยขาดทุน หรือผู้บริหารกองทุน ก็เคยขาดทุน แม้แต่ ผู้บริหารกองทุนระดับไหนในโลกนี้ ก็เคยขาดทุนทั้งนั้นละครับ แม้ผมเองที่ชอบเรียกให้คนอื่นมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และบอกว่าไม่เคยขาดทุน ก็ยังเคยขาดทุนครับ แต่อย่างพวกนักลงทุนที่ผมกล่าวมาคือ เค้าขาดทุนแค่บางช่วงเวลา แต่เมื่อคำนวณออกมาแล้ว ตลอดช่วงชีวิตการลงทุน ก็กำไรมากกว่าขาดทุนครับ คนที่ขาดทุนอยู่ก็ขอให้รู้ไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียวในโลกการลงทุนแห่งนี้ สักวันคุณต้องกำไรแน่ แต่ต้องเลือกลงทุนให้ถูกวิธีนะครับฃ แม้เราไม่สามารถรู้อนาคต หรือ ควบคุมการเคลื่อนไหวของตลาดได้ แต่สิ่ง

เวลาหลังตลาดหุ้นปิด

ช่วงนี้ผมกลับมาสู่ตลาดหุ้นแบบเกือบเต็มตัวอีกครั้ง หลังหันหลังให้มาหลายปีมากตั้งแต่ ปี 48 ซึ่งกลับมางวดนี้ตอนนี้ หวังว่า คงกลับไปดีดตัวเหมือนช่วงปี 45-46 อีก สิ่งที่เราซื้อขายกันในเวลา 9.30-17.00 นั้น เมื่อเลยเวลานั้น ตลาดหุ้นก็ปิด แต่ในความเป็นจริงประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวทีมีตลาดหุ้น อีกทั้งตลาดประเทศเราก็เล็กน้อยมาก ถ้าเทียบกับตลาดในเอเชีย ยุโรป และ อเมริกา ที่สำคัญนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ที่สำคัญกับโลกเรานั้น มักมาหลังตลาดหุ้นปิด เช่น การประกาศนโยบายดอกเบี้ยของ ธนาคารกลางสหรัฐ รายงานการเติบโตหรือถดถอยต่างๆ จากประเทศต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มาหลังตลาดบ้านเราเปิด เพราะ เวลาที่ต่างกัน วันนี้ผมลงมาตอน ตี1 ดู CNBC ก็ได้บรรยากาศสมัยหัดเล่นหุ้นแรกๆ ที่ลงมาดูว่า ตลาดดาวโจนส์เป็นอย่างไรบ้าง มีข่าว STEVE JOBS ซึ่งหน้าตาโทรมมาก โดยธุรกิจที่เป็นชั้นแนวหน้าของโลก นั้นมีหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกา ซึ่งทำให้เรารู้ว่าแต่ละอุตสาหกรรมมีแนวโน้มอย่างไร แม้ตอนนี้เรายังไม่สามารถหอบเงินออกไปลงทุนที่ต่างประเทศได้ แต่ข่าว แนวโน้ม นั้นมีผลอย่างแน่นอนต่อตลาดหุ้นของเราวันรุ่งขึ้น ไม่ว่าข่าวจากยุโรป สหรัฐ หรือ เอเ

สภาพคล่องหุ้น

ในตลาดหลักทรัพย์เวลาเรานั้นจะเลือกซื้อหรือลงทุนในหุ้นตัวไหน สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากอีกอย่างคือ มูลค่าการซื้อขาย หรือ จำนวนหุ้นที่มีการซื้อขายในแต่ละวัน ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าสภาพคล่องของหุ้น การหลังจากดูปัจจัยพื้นฐานแล้วให้ ถ้าเกิดว่าดี ซึ่งเป็นเรื่องแปลกอย่าง บริษัทที่ปัจจัยพื้นฐานดีตามหลักน้กลงทุนมูลค่าบ่อยครั้งจะสภาพคล่องไม่ดีด้วย หรือ อาจเพราะนักเก็งกำไรไม่สนใจ ซึ่งการมีสภาพคล่องนั้นดีอย่างไร คือ ซื้อง่ายขายคล่องไม่ต้องมานั้งรอว่าจะขายได้เมื่อไร หุ้นที่มีสภาพคล่องดีๆ ซื้อมาอย่างไรก็ขายได้ง่าย แต่ถ้าสภาพคล่องไม่ดีบางครั้งต้องนั้งรอนานมากกว่าจะขายได้ หรือไม่ก็ช่วงราคาก็ห่างกันมากกว่าราคาหุ้นทั่วไป สำหรับนักลงทุนมูลค่าหรือพวกเน้นเงินปันผล อาจไม่ค่อยรู้สึกถึงความไม่มีสภาพคล่องเท่าไร เพราะเน้นไปที่บริษัทอยู่แล้ว แค่บริษัททำกำไรได้ดี เงินปันผลก็ดี อย่างอื่นคงไม่สนใจอยู่ว่าจะเป็นอย่างไร ในทางตรงกันข้ามพวกนักเก็งกำไรคงไม่ชอบเท่าไรเพราะมันซื้อยากขายลำบาก ซื้อแล้วไม่รู้จะขายได้หรือไม่ แต่หลายๆ ครั้ง ผมกลับเห็นหุ้นพื้นฐานไม่ดีสุดๆ หรือแทบจะเป็นฟื้นฟูกิจการเป็นที่โปรดปรานของนักเก็งกำไรเหลือเกิน สภา

สร้างสมการง่ายในลงทุน

สมการ เป็นอะไรที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่เราเรียนหนังสือตอนเด็กมาแล้ว สมการคืออะไรที่เท่ากัน เช่น 2y = x+6 1+1 = 2 เป็นต้น สมการ เป็นประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมายเท่ากับ แสดงความเท่ากันของจำนวน 2 จำนวน จาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/ratchaburi/winai_a/index.html การทำให้เป็นสมการ เพราะง่ายในการตัดสินใจไม่พลาดจากเดิม เท่าไร แบบง่ายให้การซื้อหุ้น ก็ดูว่า เรามีเงินเท่าไร ซื่้อได้กี่หุ้น จำนวนเงิน = ราคาหุ้น * ปริมาณ หรือ ผมอยากสร้างอัตราการ Cut loss ผมก็สร้างให้ออกมาเป็น สมการคณิตศาสตร์เพื่อต่อไป สามารถนำไปใช้ได้ทัน หรืออาจนำสมการนี้ไปใช้ในการเขียนโปรแกรมต่อไปในอนาคต เพื่อ ไม่ต้องมากดเครื่องคิดเลขหลายรอบ ราคา Cutlose = Ps - ( Ps * x% ) Ps คือ ราคาหุ้น x คือ อัตราทีี่เรารับได้ในการตัดขาดทุน ถ้าเราทำอะไรให้เป็นหลักการคณิตศาสตร์ ครั้งต่อไป การตัดสินใจนั้นได้ออกมามาตรฐานเีดี่ยวกันนะครับ

ประโยชน์ของการออม

การออมเงินนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์มองว่าเป็นการลงทุนเช่นกัน โดยมีสมการว่า (S = I). การออมเท่ากับการลงทุน เพราะว่า การออมเงินส่วนใหญ่ได้ผลตอบแทนโดยสามารถนำไปลงทุนทางอ้อม เช่น นำเงินออมไปใช้ในการฝาก ซื้อพันธบัตร หรือซื้อกองทุนรวม เงินที่ส่วนใหญ่เราเก็บออมไว้ทางเรานำไปฝากในธนาคารก็ได้รับผลตอบแทนที่เราเรียกว่า ดอกเบี้ย หรือ เงินปันผล ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่เราได้รับจากการออมเงิน เมื่อเรามีเงินออม ก็ เท่ากับว่าเรามีเงินลงทุน ไว้เพื่อให้เงินออมก้อนนั้น เติบโต ออกดอกออกผล นั้นเอง ส่วนอีกข้อหนึ่งคือเงินออมสามารถนำมาใช้ในกรณีฉุกเฉินของชีวิตได้ด้วยครับ ในขณะเดียวกันเราก็นำมันไปจัดการความเสี่ยงด้านนี้ด้วยการไปซื้อประกันชีวิต หรือ ซื้อประกันสุขภาพได้ครับ ผมไม่ได้เป็นคนขายประกันนะครับ แต่อยากให้เพื่อนๆ ได้จัดการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเงินไว้ให้คอยสนับสนุนในชีวิตของเรานั้นสามารถผ่านไปได้อย่างราบรื่นครับ ส่วนวิธีการออมก็อยากให้ทุกคนเริ่มทำให้เป็นนิสัยนะครับ ทำแรกๆอาจจะยาก แต่ทำไปหลังมันจะเป็นนิสัยเอง แล้วสักวันคุณอาจเข้าใจว่า เงินออมมันสำคัญกับชีวิตเราแค่ไหนนะครับ ผมเขียนวิธีเพิ่มเงินออม http://

คณิตศาตร์ กับ การลงทุน

จากที่ผมเคยบอกเรื่องการลงทุนที่ใช้เหตุผลตัดสินใจไปแล้ว เครื่องมือการนำมาตัิดสินใจที่ดีตัวหนึ่งก็คือ ตัวเลขต่างๆ ซึ่งต่อไปผมคงได้เขียนพวกตัวเลขที่ใช้ตัดสินใจในการลงทุน แต่วันนี้เรามาดูความสำคัญของตัวเลขกับการลงทุนก่อน ความจริงตัวเลขในการลงทุนนั้น อาจเป็นของคู่กันเลย เพราะเวลาเราทำอะไรเกี่ยวข้องกับเงิน ก็จะมีตัวเลขด้วย เพราะ ตัวเงินเป็นอะไรที่สามารถนับได้ ไม่ใช่สิ่งที่นับไม่ได้ เวลาใครทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆ ต้องมีตัวเลขมาเกี่ยวข้องด้วยอยู่แล้ว และตัวเลขนั้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะ สารารถบ่งบอกให้เราทราบได้ว่า เรามีการเปลียนแปลงแค่ไหน แล้วเปลี่ยนแปลงอย่างดีหรือไม่ดี เพิ่มขึ้น ลดลงอย่างไร เช่น ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 500 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลง 1% SET Index ปรับตัวขึ้น 10 จุดเป็นต้น ส่วนนี้เป็น การ + - * / ง่ายๆ แต่ก็ทำให้เราทราบสถานะภาพการลงทุนมากขึ้น ซึ่งตัวเลขนั้นบอกเราได้เป็นอย่างดี แม้คณิตศาสตร์ในระดับสูงนั้น สามารถใช้พยากรณ์แนวโน้มต่างๆได้ ก็จริง แต่นั้นหมายถึง ความยากขึ้นของหลักคณิตศาสตร์ สมการที่วุ่นวาน สถิติจำนวนมากที่ชวนงง และ อื่นๆ ที่ยากเหลือเกิน แต่สุดท้ายต้องกลับมาคิดว่

งบการเงิน

ในการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐานเครื่องมือที่ให้ข้อมูลซึ่งที่สำคัญใช้เป็นตัวดูความสามารถในการทำรายได้คือ งบการเงิน งบการเงิน หมายถึง รายงานผลประกอบการทางการเงินของบริษัทซึ่งจัดทำขึ้นตามวิธีการบัญชี โดยเป็นการรายงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ จากหนังสือเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงินงริษัทจดทะเบียน ปี 2545 โดยส่วนปกติ งบการเงินจะออกเป็นรอบ ไตรมาส หรือ 3 เดือนออกที่ ประมาณ +45 วัน หลังหมดไตรมาสถึงจะประกาศออกมาว่างบการเงินรอบไตรมาสนั้นเป็นอย่างไร งบการเงินใครเรียนพวก บัญชี การเงิน มาคงไม่ต้องอ่านบทความนี้นะครับ เพราะผมคงเหมือนบอกสิ่งที่คุณรู้ดีกว่าผม ในฐานะที่ตัวผมตอนเรียน ปริญญาตรีเรียนบัญชีแค่ตัวเดียว ต้องมาหาความรู้เอง หลังที่ทิ้งไปนานแล้ว ก็คงอธิบายได้แค่ระดับเบื้องต้นเท่านั้น ในการดูหลักทรัพย์ หรือ หุ้น ในงบการเงินเหมือนเป็นต้นบอกว่า บริษัทหนึ่งบริษัทนั้นมีความสามารถทำรายได้ ได้เท่าไร กำไรดีไหม บริษัทใหญ่แต่ความสามารถทำกำไรไม่เหมาะสมเลย เวลาดูงบการเงิน เราก็ควรดูย้อนหลังไปให้มากที่สุด แม้บางคนบอกว่าอาจไม่จำเป็นเพราะอนาคตไม่แน่นอน แต่เรารู้อดีต ก็พอดูแนวโน้มใน

การเลือกแนวทางการวิเคราะห์

มีคนพูดกันเยอะมาก ว่าเราควรใช้การวิเคราะห์แบบไหนดี ซึ่งผมมองว่า การวิเคราะห์แบบไหน ก็ให้ข้อมูลการเลือกลงทุนได้คล้าย ๆ กัน ซึ่งแต่ละการวิเคราะห์นั้น มีจุดเด่น จุดดี แตกต่างกัน วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เป็นการดูปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้บริษัทนั้นเกิดการเติบโตได้ โดยง่ายๆ คือ ดู งบการเงินของบริษัท วิเคราะทางเทคนิค ดูสถิติ ราคา จำนวนการซื้อขาย ของบริษัทนั้นๆ ว่ามีแนวโน้มการเคลื่อนไหวอย่างไร โดยวิธีใช้คือ ปัจจัยพื้นฐานบอก ตัวหลักทรัพย์ว่าดีหรือไม่ เทคนิค บอก เวลา (Timing) ว่าควรซื้อช่วงไหน โดยวิธีที่ผมใช้คือ ดูว่า หุ้นตัวไหนดี แล้วตั้งเป้าไว้ จากนั้นเค้ามาดูว่าควรซื้อราคาเท่าไรดี เนี่ยละครับ หลักการใช้เทคนิค ส่วนจะให้น้ำหนักกับตัวไหนมากกว่ากัน ก็ ขึ้นอยู่กับว่า คุณอยากเป้นนักลงทุนแบบไหน ระยะสั้น ก็ให้ เทคนิคเยอะๆ หน่อย ระยะยาว ก็ให้ ปัจจัยพื้นฐานมากๆ หน่อย แค่นั้นละครับ ขอแค่ให้เหมาะกับรูปแบบการลงทุนก็พอ หลักการ ทฤษฎี วิชาเป็นของตาย นักลงทุนเป็นของเป็น ตลาดหุ้นเป็นของเป็น ดังนั้น นักลงทุนต้องนำหลักการ วิชา ทฤษฎี มาใช้อย่างพลิกแพลงนั้นครับ ไม่งั้นอย่าหาว่าวิชาที่ตัวเองเรียนรู้มาใช้งานไมได้ แต่อาจเป

ทำไมต้องวิเคราะห์หลักทรัพย์

เคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่าทำไมต้องวิเคราะห์หุ้นกัน ทั้งทางปัจจัยพื้นฐาน ทั้งทางเทคนิค หาข้อมูลกันวุ่นวายเพื่อทราบว่าหุ้นตัวไหนดี ทำไมต้องวิเคราะห์หลักทรัพย์ โดยทั่วไปมนุษย์เราการที่เลือกตัดสินใจจ่ายเงินอะไรสักอย่าง ส่วนใหญ่จะใช้เหตุผลมาอ้าง ว่าสิ่งนั้นดี ไม่ดี เหมาะสมหรือไม่ แต่บ้างครั้งอารมณ์อยู่เหนือเหตุผลตลอดเวลาครับ อันนี้ไม่เกี่ยวกับเพศนะครับ ถ้ามนุษย์ใช้่เหตุผลตัดสินใจอย่างเดียวสินค้าบางประเภทคงไม่ได้มีโอกาสเกิดในโลกนี้แน่นอนครับ ปัญหาคือ อารมณ์เอาชนะเหตุผลได้อย่างเป็นประจำ ที่ผมเคยไปอบรมการขายประกัน เค้าบอกไว้ว่า เราใช้เหตุผลเลือกสินค้า แต่ซื้อสินค้าด้วยอารมณ์ เหตุผลที่ผ่านมาไม่จำเป็น กลับมาที่หลักทรัพย์บ้างครับ ก่อนอื่นการวิเคราะห์เนี่ย บอกได้ว่าบริษัีทนั้นเป็นอย่างไร พฤติกรรมหุ้นนั้นเป็นอย่างไร บอกได้ถึงโอกาสที่จะเตืบโตของบริษัีท บอกแนวโน้มที่ควรจะเป็น ฯลฯ ซึ่งมีแนวทางหลัก 2 ประเภท ปัจจัยพื้นฐาน เทคนิค แต่สิ่งที่เราทุกคนถ้าไม่วิเคราะห์ห้นกันเลย เพราะเรามองแค่ ราคาจะขึ้นไหม เท่านั้น อย่างนี้ก เราจึงใช้กันแต่ หลักเค้า คือ "เค้าว่าอย่างนั้น" ไม่พึ่งหลักการ ใช้กันแต่หลัก