บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2011

ภาษีกับการลงทุนหลักทรัพย์

บทความเรื่องภาษีแนวนี้ ผมเพิ่งเขียนเพราะเมื่อก่อนนอกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ซื้อของทั่วไป และก็ไม่ได้ทำงานประจำ รายได้ต่อปีเลยไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ตอนนี้ทำงานประจำแล้วเงินเดือนเฉลี่ยก็ยังไม่ต้องเสียภาษีอยู่ แต่เกิดโชคดี บริษัทแจกโบนัสทำให้ผมมีรายได้จ่ายให้ภาครัฐสักที เมื่อต้องจ่ายเงินภาษีให้ภาครัฐ คราวนี้ผมต้องมานั่งคิดอีก แล้วปันผลที่ผมได้ต่อปีเนี่ย มันเยอะนะ ต้องนำไปจ่ายภาษีให้รัฐ ด้วยหรือไม่ เป็นคำถามที่ผมต้องรีบหาคำตอบ หลังจากค้นหาใน Google เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ การรับเงินปันผล การจ่ายภาษีพวกนี้ทั้งหมด เกี่ยวกับการลงทุน ทำให้เจอข้อมูลใน http://www.settrade.com/brokerpage/IPO/StaticPage/Education/tax.html ซึ่งแยกข้อมูลให้กระจ่างทั้งหมด ที่ผมสรุปการเสียภาษี มี การซื้อขายหลักทรัพย์ เสียภาษีไปพร้อมกับค่าคอมของการซื้อขายหลักทรัพย์ ลองไปเปิดใบคำสั่งซื้อขายที่ ส่งมาที่บ้านดูนะครับ ภาษีจากเงินปันผล 10 % หักไปทันที ณ ที่จ่าย หักไปเลยพร้อมกับเงินปันผล ที่ได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ภาษีจากเงินปันผลนั้น ถ้าบริษัทที่เราถือหุ้น มีสิทธิทางภาษี หรือ การลดหย่อนภาษี เราสามารถนำรายได้จากเง

การวิเคราะห์จากงบการเงินของบริษัท : รู้จักกับงบการเงิน

บทความนี้เป็นการทีผมแต่งเองนะครับ รวมๆมาจากที่ได้ใช้จริง อาจไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือ หลักสูตร CFA CISA แต่อย่างไร อย่าว่ากันนะครับ ก่อนที่จะวิเคราะห์งบการเงิน เรามารู้จักกับ งบการเงินกันก่อนดีกว่า ว่างบการเงินนั้น มันคืออะไร ประเภทของงบการเงินมีหลักๆ อยู่ 4 อย่าง ที่รวมกันแล้วเรียกว่างบการเงิน แต่ผมที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ตัวเลขกันมีหลักๆ แค่ 3 อย่างคือ งบดุล แสดงฐานะด้านการเงินของบริษัท โดยส่วนประกอบหลักคือ สินทรัทย์ หนี้สิน และส่วนผู้ถือหุ้น งบกำไรขาดทุน แสดงผลการดำเนินงานว่ากำไรหรือ ขาดทุนในช่วงเวลานั้น งบกระแสเงินสด แสดงถึงกิจกรรมของเงินสด ว่าได้นำมาใช้อย่างไร ได้มาจากไหนบ้าง โดยแบ่งเป็น 3อย่าง กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และ กิจกรรมจัดหาเงิน เป็น 3 อย่างที่ผมใช้ดูและวิเคราะห์ อีกส่วนคือ ภาพรวมของตัวหลักทรัพย์โดยอาศัยข้อมูลจากตลาดหุ้น ไม่ว่าเป็น ปริมาณหุ้น ราคาหุ้น มาคำนวณรวมกับตัวเลขทางการเงินของบริษัทนั้น เช่น มูลค่าตลาด P/E

การวิเคราะห์จากงบการเงินของบริษัท : วิธีหางบการเงิน

หลังจากที่ผมจะหาเวลาเขียนบทความชุดนี้ให้มันออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ก็ใช่เวลาเกือบ 2 ปี (หมดไปกับการอ่าน การคิด การจินตนาการ การใช้จริง) ซึ่งก่อนหน้าอาจจะพูดเรื่องพวกนี้ไว้แล้วบ้าง แต่น่าจะกระจายๆ ไม่เป็นรวมเป็นกลุ่มซะที่เดียว ตอนแรกก่อนจะเขียนการวิเคราะห์จากงบการเงินของบริษัทนึกว่าต้องเป็นเรียน CFA ก่อน แล้วจะมาเขียน บังเอิญทุนน้อยครับ CFA ไม่ได้เลยขอรวบรวมความรู้จากหนังสือต่างๆ บทความเป็นชีรีส์ การวิเคราะห์จากงบการเงินของบริษัท ผมจะเริ่มจากวิธีการหางบการเงินก่อน สิ่งที่ต้องใช้และหาง่ายที่สุดในการทำวิเคราะห์พื้นฐานบริษัท คือ งบการเงิน สามารถตามไปอ่านที่ผมเคยเขียนไว้ได้นะครับ และที่มีรวมไว้ด้วยก็เป็น รายงาน 56-1 คำถามต่อมา แล้วงบการเงินเนี่ย หาได้จากที่ไหน คำตอบก็ ตลาดหลักทรัพย์ครับ สมัยก่อนต้องไปที่ตลาดหลักทรัพย์ แล้วเข้าจะเรียงกันไว้เป็นบริษัทๆ เลย แต่ ยุคหลังๆ ก็กลายเป็น CD และเราสามารถไป ดูหรือload ได้ที่ www.settrade.com หรือ www.set.or.th ส่วนถ้าต้องการจะวิเคราะห์ย้อนกลับไปหลายๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่ตลาดหลักทรัพย์มีให้แค่ไม่กี่ปี เราสามารถไปที่เว็บไซด์ของบริษัทนั้นๆ

การลงทุนในปี 2554

บทความก่อนหน้าผมพูดเรื่องเศรษฐศาสตร์ ไปละ ว่าคงโต และก็คงมีปัญหาเศรษฐกิจตามวัฏจักรของมัน เช่น ของแพง เงินเฟ้อ ภาษีเพิ่ม คราวนี้มาพูดเรื่องการลงทุนบ้างดีกว่า ว่าไปตามหลักเหตุผล แน่นอนถ้าเศรษฐกิจดี แนวโน้มการทำการค้า การขาย การให้บริการ ต้องมีมากขึ้นด้วยตามหลักเศรษฐศาสตร์ สิ่งที่จะตามมาคือแนวโน้มของรายได้จะมากขึ้น ซึ่งทำให้ราคาหลักทรัพย์ต้องเพิ่มขึ้นด้วย แต่ปัญหาต่อมา คือการขยายกิจการ การลงทุนเพิ่ม การกู้เงิน จะตามมา อันนี้เป็นปัญหาท้าทายอยู่แล้วสำหรับบริหารธุรกิจ ซึ่งถ้าทำถูกที่ ถูกเวลา ก็จะดีมากต่อบริษัทและส่งผลดีในระยะยาวของ แต่ถ้าพลาดก็รับกรรมกันไปถ้วนหน้า ไม่ว่าผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น ยันลูกน้องในบริษัทนั้นเอง ถ้าจะดูการโตรายบริษัท ในปีที่เศรษฐกิจน่าจะขยายตัว ผมอยากให้ตระหนักไว้ คือ โตแบบไหน โตแบบ Margin เพิ่มไหม ซึ่งในปีที่แล้วส่วนใหญ่โตแบบ Margin เพิ่มแน่นอน นั้นจะเป็นสิ่งที่ดีมาก แม้จะโตแบบ Margin ลดลงบ้าง หรือ ไม่มีเลย ก็ยังดีกว่า ถดถอย โดยเฉพาะปีนี้ ที่ใครๆ คิดว่า มันต้องดี ถ้าใครถดถอยหรือถอยหลัง ต้องให้ดูได้ละว่าเพราะอะไร ลงทุนเกินตัวไหม หรือ การขายลดลง ก็วิเคราะห์กันไปต่างๆนานา

เริ่มต้นปีการลงทุนและการออม 2554

ปีที่แล้ว ผมนั่งเซ็งและน้ำตาไหลกับการที่ห้องสมุดมารวยโดนเผาไปต่อหน้าต่อตา ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์เป็นสถานที่แรกๆ ที่ผมไปฝังตัวอยู่ช่วงเรียนจบใหม่ๆ (ก่อนเป็นห้องสมุดมารวย ที่ผู้คนล้นทะลัก เด็กวิ่งกันเต็มไปหมด ใครจะไปเชื่อว่าเมื่อก่อนบางวัน มีผมนั่งอยู่คนเดียว และเป็นสถานทีแรกๆ ที่ผมหัดอ่าน Textbook) ส่วนปี 53 ต้องเรียกว่าเป็นปีมหัศจรรย์ เลยทีเดียว แม้จะมีเหตุการณ์วุ่นวายเผาบ้านเมือง ยิงกันตาย วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย แต่ตลาดหุ้นกับวิ่งทะลัก 1000 จุดและยืนได้สบายๆ ชิวๆ จนหมดปี2553 จนทำให้นักลงทุนแถมลืมไปว่า มีอะไรเกิดขึ้น ในแง่เศรษฐศาสตร์มหภาคได้มีสิ่งหลายอย่างที่ตอนเรียนไม่เคยคิดว่าได้เห็น ตัวเลขเศรษฐกิจที่โตสวนทางกับยุโรธและอเมริกา ค่าเงินบาทแข็ง การย้ายขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจสู่เอเชีย ก็ได้เกิดให้เห็นกันในปีที่แล้ว คือไม่ว่าใครจะบอกอย่างไร มันเป็นสัญญาณของการเติบโตของเศรษฐกิจจริงๆ ไม่ว่าใครจะเถียงอย่างไรก็ตาม อาจมีปัญหามหภาค (Marco Economic)ที่น่าจะกระทบตัวพวกเราในส่วนของ จุลภาค(Micro Economic) เช่น หนี้สาธารณะ (แต่ถ้ารัฐไม่อัดฉีดหนักๆ ก็ฟื้นยาก) คิดว่าก็เตรียมหาทางจ่ายภาษีกันให้ได้ต