การวิเคราะห์จากงบการเงินของบริษัท :สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
โดยคำนิยามในวิชาบัญชีให้ความหมายว่า สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนคือ สินทรัพย์ที่ไม่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือ 1 รอบทำการธุรกิจ
ตัวอย่างเช่น เงินฝากสถาบันการเงินที่มีข้อจำกัดในการใช้, เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีราคาทุน, อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน, ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์,สินทรัพย์ภายใต้สัญญาสัมปทาน
ซึ่งที่สำคัญ คือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ซึ่งโดยหลักจะเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีทุกบริษัทและ(โดยส่วนใหญ่) มีมูลค่าค่อนข้างสูงมากที่สุด
ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนั้น ส่วนใหญ่มีไว้เพื่อใช้ในการทำรายได้ เช่น
-ที่ดินเอาไว้ตั้งสำนักงาน โรงงาน หรือไว้สร้างอสังหาเพื่อการขาย จนไปถึงเช่า
-อุปกรณ์สำนักงานให้พนักงานทำงานหรืออำนวยความสะดวก
-เครื่องจักรต่างๆไว้ผลิตสินค้า
-เงินลงทุนระยะยาว เก็บดอกกินผล
ซึ่งสิ่งที่มีเป็นข้อพิจารณาคือ ค่าเสื่อมของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นสิ่งที่บันทึกลงว่ามันมีการเสื่อมสภาพ ยิ่งถ้าปีที่ค่าเสื่อมมันน้อย เช่น คอมพิวเตอร์ ซึ่งนิยมตัดค่าเสื่อมประมาณ 3 ปี หมายความว่าถ้าบริษัทซื้อคอมพิวเตอร์ในวันนี้ อีก 3ปี จะหมดมูลค่า
จากที่ผมเคยคุยกับนักบัญชี เค้าบอกว่า การขายซาก หรือ จำหน่ายของที่หมดค่าเสื่อมแล้วจะมีคิดเป็น การขายซาก ซึ่งคิดแค่ 1 บาท (ถ้ามูลค่าเกินกว่านั้น ไม่รู้ว่าบันทึกไว้ว่าอะไรในงบการเงิน) แต่ถ้าไม่ขายก็ใช้งานต่อไปได้
ค่าเสื่อมจะทำให้มูลค่าสินทรัพย์ในงบดุลมันน้อยลง ซึ่งปัจจุบันผมเห็นหลายบริษัทนั้น ใช้ลดค่าเสื่อมด้วยวิธีการเช่าแทน เวลาเช่าของที่เราได้จะไม่บันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แล้วจะทำให้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนไม่ลดค่าลง
ในทางตรงข้าม สมมุติถ้าสินทรัพย์ตัวนั้นมีค่าเป็น 0 แล้วแต่ยังใช้งานได้ยังทำรายได้ให้กับบริษัท ก็จะทำให้พวก ค่า ROA ดูดีขึ้น แต่คงไม่ดีในภายรวมเท่าไรนัก
ถ้าเทียบว่าอยู่สินทรัพย์ปีนี้ มันลดหายไปในหายตานักลงทุนอย่างผม (ผมเรียนบัญชีมาตัวเดียว แล้วต้องมาทำงานแนวบัญชี ความคิดบางอย่างออกเป็นแนวนักเศรษฐศาสตร์มากกว่า ผิดพลาดอย่างไร ขออภัยด้วยนะครับ)
ส่วนค่าเสื่อมแบบยาวๆ ทำให้น่าลงทุนเยอะๆ เช่นพวกเครื่องจักร แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมันมาเร็ว อาจทำให้พวกเครื่องจักรอุตสาหกรรมนั้น ตกรุ่นได้ไว
ดังนั้นจะดูสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนแนวนี้ ควรดูประเภทอุตสาหกรรมด้วย ถ้าแนวผลิตสินค้าทั่วๆ ไปคงมีโอกาสตกรุ่นไว แต่ถ้าแนวอุตสหกรรมหนัก เช่น น้ำมัน ไฟฟ้า ก็อาจดีกว่า ผมเคยเห็นค่าเสื่อม 30 ปีจากเขื่อน กับ โรงงานผลิตไฟฟ้ามาแล้วครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น