บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2011

ว่ากันด้วยเศรษฐศาสตร์กับการซื้อขายหุ้น: กลไกตลาด 2

คราวนี้ผมจะลองยกตัวอย่างจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดูเล่นๆ นะครับ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ ราคา กับ ปริมาณ เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้เพื่อหาแนวโน้ม ซึ่งใช้อธิบายช่วงพฤติกรรมเวลานั้น ว่ามีการซื้อขายมากไปหรือน้อยไปหรือไม่ ซึ่งบ่อยครั้งที่ตลาดที่มีการซื้อขายมากเกินไป จะส่งผลต่อราคา แต่ผมอยากให้มองนักลงทุนในตลาด สามารถเป็น Demand หรือ Supply อีกนัยหนึ่งคือ นักลงทุนสามารถเปลี่ยนสถานะตัวเอง เป็นผู้ซื้อ หรือ ผู้ขายก็ได้ Demand คือ นักลงทุนที่ต้องการซื้อหลักทรัพย์ Supply คือ นักลงทุนที่ต้องการขายหลักทรัพย์ ผมคิดว่าใครที่เคยเซื้อขายหลักทรัพย์คงเข้าใจว่า คุณ ก็เคยอยู่ทั้งฝั่ง Demand และ Supply คุณตกอยู่ในกำมือกลไกตลาด หรือ โดนมือที่มองไม่เห็นผลักดันโดยไม่รู้ตัว แต่สิ่งที่ผมคิดว่าถ้าตลาดหุ้น เป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะไม่มีใครขาดทุนแน่นอน เพราะถ้าหุ้นราคาลง เราจะมีความต้องการมากขึ้น และเมื่อราคามันสูงขึ้น เราจะต้องการขายมัน สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างกับทางทฤษฎีคือ หุ้นราคาลง เราขาย หุ้นราคาขึ้นเราซื้อ สิ่งที่เราเรียกว่าราคา มันอาจเป็นเป็นตัวเลขบนกระดาน หรือ หน้าจอเท่านั้น แต่จุดตัดสินใจคือ จิตใจ หรือ สภ...

ว่ากันด้วยเศรษฐศาสตร์กับการซื้อขายหุ้น: กลไกตลาด

กลไกตลาดเป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์ในบทแรกๆ ที่เราต้องรู้จักเลย ซึ่งตลาดที่เราใช้อธิบายทฤษฎีพฤติกรรมวิชาเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะใช้ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งเป็นอุดมคติของมนุษย์ โดยความเป็นจริงเรียกว่าแทบไม่มีถ้าเกิดขึ้นได้บนโลกแห่งความจริง แต่สำหรับผมมันเป็นวิธีใช้อธิบายพฤติกรรมมนุษย์ได้ชัดเจน โดยหลังรู้จักว่า Demand Supply หรืออุปสงค์แบะอุปทาน ก็จะมาเกิดตลาดได้ โดยตัวแปรที่เกิดและใช้อธิบายคือ ราคา และ ปริมาณ ตามโมเดลของตลาดจะบอกเราว่า ราคาเท่านี้ จะมีปริมาณการซื้อขายเท่าไร Demand หรือ อุปสงค์ใช้อธิบายความต้องการซื้อ โดยอธิบายว่า กรณีที่ราคาสูงขึ้น ปริมาณจะลดลง ส่วนกรณีตรงข้ามราคาต่ำลง ปริมาณจะเพิ่มขึ้น Supply หรือ อุปทานใช้อธิบายความต้องการขาย โดยอธิบายว่า กรณีที่ราคาสูงขึ้น ปริมาณจะสูงขึ้น ส่วนกรณีตรงข้ามราคาต่ำลง ปริมาณจะลงลด ก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ปกติอยู่แล้วนะครับ ถ้าเราอยากซื้ออะไร มันแพงเราก็ซื้อมันได้ปริมาณน้อย แต่ถ้ามันราคาถูก ก็ได้ปริมาณมาก ซึ่งใน ณ เดียวกัน ถ้าเราขายของก็ถ้าราคาแพง ก็อยากขายเยอะๆ แต่กลไกตลาดจะเป็นตัวจัดสมดุล โดยสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าเหมาะสมที่สุด คือ จุดดุลยภาพ...

ว่ากันด้วยเศรษฐศาสตร์กับการซื้อขายหุ้น: องค์ประกอบของตลาด และวันวานถึงวันนี้

บทความนี้ผมเขียนขึ้นจากความคิดเห็นของผมเอง ไม่ได้มีหลักการวิชาการอะไรมาอ้างอิงนอกจากความรู้ที่ได้มาจากคณะเศรษฐศาสตร์เมื่อ ช่วงปี 2542-2546 แรงบรรดาลใจมาจากช่วงนี้ได้อ่านหนังสือการลงทุนที่พูดเรือ่งเศรษฐศาสตร์แบบสวนกระแสกับที่เรียนมา กับ เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมเลยว่าลองมาเขียนเรียบเรียงความรู้ที่ได้มาจากปริญญาตรีใช้อธิบายสิ่งที่เห็นกับตลาดหลักทรัพย์ วันนี้ลองมาดูนิยามคำว่าตลาดก่อนแล้วกันครับ Q: ตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ไหน A: แถวสถานีศูนย์วัฒนธรรม แต่ถ้าตามนิยามตลาดของวิชาเศรษฐศาตร์จริงๆ เราน่าจะตีความว่า สถานที่ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน หรือ ใช้คำให้เหมาะสม กับวิชาเศรษฐศาตร์หน่อยคือ สถานที่อุปสงค์ (Demand) และอุปทาน( Supply ) มาเจอกัน Q: เราซื้อขายหุ้น ฟิวเจอร์ ที่ไหน A: iPhone,Moblie device,Notebook, PC, Website ของ Marketing เรา หรือรุ่นเก่ากว่านั้น คือ การเขียนลงกระดาษ ที่ห้องดูหุ้น โทรหามาร์ส่วนตัว ถ้าดูอย่างนี้ ตลาดหลักทรัพย์ที่ถนนสาธร น่าจะเป็นอาคารปฎิบัติการดำเนินงาน หรือ สำนักงาน มากกว่า ที่ใช้คำว่าตลาด เพราะ สถานที่ Demand กับ Supply มาเจอกัน ไม่น่าที่จะใช้แถวถนนสาธร (เว้น...