ว่ากันด้วยเศรษฐศาสตร์กับการซื้อขายหุ้น: กลไกตลาด 2

คราวนี้ผมจะลองยกตัวอย่างจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดูเล่นๆ นะครับ



กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ ราคา กับ ปริมาณ เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้เพื่อหาแนวโน้ม ซึ่งใช้อธิบายช่วงพฤติกรรมเวลานั้น ว่ามีการซื้อขายมากไปหรือน้อยไปหรือไม่ ซึ่งบ่อยครั้งที่ตลาดที่มีการซื้อขายมากเกินไป จะส่งผลต่อราคา

แต่ผมอยากให้มองนักลงทุนในตลาด สามารถเป็น Demand หรือ Supply อีกนัยหนึ่งคือ นักลงทุนสามารถเปลี่ยนสถานะตัวเอง เป็นผู้ซื้อ หรือ ผู้ขายก็ได้



Demand คือ นักลงทุนที่ต้องการซื้อหลักทรัพย์



Supply คือ นักลงทุนที่ต้องการขายหลักทรัพย์



ผมคิดว่าใครที่เคยเซื้อขายหลักทรัพย์คงเข้าใจว่า คุณ ก็เคยอยู่ทั้งฝั่ง Demand และ Supply คุณตกอยู่ในกำมือกลไกตลาด หรือ โดนมือที่มองไม่เห็นผลักดันโดยไม่รู้ตัว



แต่สิ่งที่ผมคิดว่าถ้าตลาดหุ้น เป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะไม่มีใครขาดทุนแน่นอน เพราะถ้าหุ้นราคาลง เราจะมีความต้องการมากขึ้น และเมื่อราคามันสูงขึ้น เราจะต้องการขายมัน



สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างกับทางทฤษฎีคือ หุ้นราคาลง เราขาย หุ้นราคาขึ้นเราซื้อ สิ่งที่เราเรียกว่าราคา มันอาจเป็นเป็นตัวเลขบนกระดาน หรือ หน้าจอเท่านั้น แต่จุดตัดสินใจคือ จิตใจ หรือ สภาวะอารมณ์ในช่วงนั้น



สิ่งที่ควบคุมตลาดการซื้อขายในระยะสั้นจริงๆ คือ ความโลภ และ ความกลัว



เมื่อตลาดหุ้นขึ้น ราคาหุ้นขึ้น เราจะต้องการซื้อมากขึ้น เพราะความโลภ ทำให้เราคาดว่า ราคามันจะสูงขึ้นไปอีก



แต่เมื่อตลาดหุ้นลง ราคาหุ้นจะลง เราจะต้องการขายมากขึ้น เพราะความกลัว ทำให้เราคาดว่า ราคามันจะลงไปอีก



ผมใช้คำว่าคาดว่านะครับ เพราะอาจเป็นได้ ที่จะคาดเดาได้ถูก ใครทำได้ คาดการณ์ถูกต้องก็เป็นผู้ชำนาญกันไป แต่ใครคาดการณ์ได้ถูกตลอด ก็เซียนเป็นเทพกันไป



ซึ่งในทางตรงกันข้าม ถ้าเรามีตัววัดที่ดี และ ถูกต้อง เราจะสามารถบอกได้ว่าเราตัดสินใจถูกหรือไม่ ราคาหุ้นเป็นอย่างไร แพงไปไหม หรือ ถูกไปหรือไม่



โดยตัววัดที่ใช้ได้ดี ก็ เทคนิค หรือไม่ก็ พื้นฐาน อยู่ๆ บอกว่าตลาดกำลังกลัว ผมก็คงไม่รู้เพราะไม่ได้เห็นตลาดตัวสั่น แต่ผมอาจดูได้จาก ปริมาณการขายกับการปรับตัวดัชนี ที่มากเกินความเป็นจริง หรือไม่ก็ดูว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้นดีอยู่ดังเดิมหรือไม่



เมื่อวันหนึ่ง มีผู้ขายมากกว่าผู้ชื้อ นั้นหมายถึง คนซื้อมีน้อย ทำให้ไม่มีใครต้องการหุ้น ราคาก็จะลดลง แต่ถ้าวันใด มีแต่คนซื้อ ไม่มีคนขาย ราคาหุ้นก็จะเพิ่มขึ้น เพราะมีความต้องการมาก นี้คือหลักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป แต่คนที่อยู่ตลาดจะมองไม่เห็น



สรุป คนเรามักจะตัดสินใจโดยเปรียบเทียบมากกว่า โดยตัวเปรียบเทียบง่ายสุด ที่นักลงทุนสัมผัสตลอดเวลาคือ การเคลื่อนไหวของตลาด ทำให้เราคิดว่าหุ้นนั้น ถูก หรือ แพงไป นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เราเข้าไปลงทุนผิดจังหวะ เพราะความเย้ายาวของตลาด หรือ ความน่ากลัวของตลาด ถ้าเราตัดสินใจด้วยตัวเปรียบเทียบตัวอื่นๆ เช่น พื้นฐานการทำธุรกิจ หรือ ตัววัดอื่นๆ นั้นน่าจะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องมากกว่าที่จะพึ่ง Mr. Market นะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin

บันทึกการลงทุน 06/11/2023

บันทึกการลงทุน 05/10/2557 ว่าด้วยหนังสือการลงทุน