ว่ากันด้วยเศรษฐศาสตร์กับการซื้อขายหุ้น: องค์ประกอบของตลาด และวันวานถึงวันนี้
บทความนี้ผมเขียนขึ้นจากความคิดเห็นของผมเอง ไม่ได้มีหลักการวิชาการอะไรมาอ้างอิงนอกจากความรู้ที่ได้มาจากคณะเศรษฐศาสตร์เมื่อ ช่วงปี 2542-2546 แรงบรรดาลใจมาจากช่วงนี้ได้อ่านหนังสือการลงทุนที่พูดเรือ่งเศรษฐศาสตร์แบบสวนกระแสกับที่เรียนมา กับ เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมเลยว่าลองมาเขียนเรียบเรียงความรู้ที่ได้มาจากปริญญาตรีใช้อธิบายสิ่งที่เห็นกับตลาดหลักทรัพย์
วันนี้ลองมาดูนิยามคำว่าตลาดก่อนแล้วกันครับ
Q: ตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ไหน
A: แถวสถานีศูนย์วัฒนธรรม
แต่ถ้าตามนิยามตลาดของวิชาเศรษฐศาตร์จริงๆ เราน่าจะตีความว่า สถานที่ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน หรือ ใช้คำให้เหมาะสม กับวิชาเศรษฐศาตร์หน่อยคือ สถานที่อุปสงค์ (Demand) และอุปทาน( Supply ) มาเจอกัน
Q: เราซื้อขายหุ้น ฟิวเจอร์ ที่ไหน
A: iPhone,Moblie device,Notebook, PC, Website ของ Marketing เรา หรือรุ่นเก่ากว่านั้น คือ การเขียนลงกระดาษ ที่ห้องดูหุ้น โทรหามาร์ส่วนตัว
ถ้าดูอย่างนี้ ตลาดหลักทรัพย์ที่ถนนสาธร น่าจะเป็นอาคารปฎิบัติการดำเนินงาน หรือ สำนักงาน มากกว่า ที่ใช้คำว่าตลาด เพราะ สถานที่ Demand กับ Supply มาเจอกัน ไม่น่าที่จะใช้แถวถนนสาธร (เว้นแต่ เครื่อง server อยู่ที่นั้น แต่ก็เป็นด้านธุรกรรมที่จับคู่กัน)
สำหรับผม ตลาดที่ใช้ซื้อขายหลักทรัพย์ น่าจะเป็นทุกสถานที่ ที่เราสามารถเข้าไปยื่นคำสั่งซื้อขาย หลักทรัพย์นั้นๆ ได้ สิ่งราคาการ เสนอซื้อ เสนอขาย ปริมาณ หรือ Bid Offer Volum นั้นเป็นข้อมูลสำคัญมากที่บอกให้ทราบถึงDemand Supply ของตลาด
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เมื่อก่อนเราซื้อ ได้เป็นบางสถานที่ เช่น ห้องค้า หรือ ผ่านโทรศัพท์เท่านั้น การทราบข่าวสาร ถ้าไม่ถามมาร์ ก็ต้องนั่งดูจากทีวีช่อง 9 ที่มีตัววิ่ง วิ่งมาข้างใต้ โดยสมัยก่อนที่ผมยังไม่ลงทุน ตอนปิดเทอมจะรำคาญไอ้ตัววิ่งนั้นมาก เพราะมันบังทีวีเรา ต่อมาเริ่มลงทุน ก็ทรมานมากกับการลุ้นว่าเมื่อไร มันจะแสดงหุ้นที่เราถืออยู่นะ รอบเมื่อกี้ไปห้องน้ำมา กลับมา มันจะเปลี่ยนสีไหม
ยิ่งยุคก่อนที่จะมีมือถือ การซื้อขายคือต้องไปที่โทรศัพท์ตั้งโต๊ะ หรือไม่ก่อนไปห้องค้าเพื่อเขียนคำสั่งซื้อขาย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ห้องค้าสมัยก่อน ใหญ่มาก หรูมาก และจะอยุ่ตามตึกสำนักงานใหญ่ๆ เมื่อก่อนผมชอบแอบไปนั่งในนั้น
ถ้าใครนึกออกที่ผมพูด ผมว่าคุณ ต้องอยู่ในตลาดมาไม่น้อยๆ กว่า 10 ปีขึ้นไปแน่นอน
ต่อมาเราซื้อขายผ่าน Internet (ผมเริ่มซื้อขายแรกๆ ก็อยู่ในยุคนั้น)
ยุคนั้นก็เหมือนมีการเปลี่ยนแปลงของการซื้อขาย คือเราเข้าผ่านเว็บไซค์ของบริษัทหลักทรัพย์เรา ซึ่งของผมก็คือ www.kks.co.th ใช้มาเกือบ 10ปี เพื่งเห็นเค้าเปลี่ยนหน้าเว็บไม่กี่ปีที่ผ่านมาเอง
ในยุคนั้นตลาดของเรา ก็ย้ายจาก โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ ห้องค้า มาลงใน คอมพิวเตอร์ส่วนตัวมากขึ้น แถวเราสามารถดูราคาหุ้นได้ Realtime ด้วย การซื้อขายก็ทำด้วยมือเราเอง (พลาดก็พลาดเอง ผมเคยจะขายแต่ดันซื้อ หรือ พิมพ์จำนวน แล้ว มี 0 เกินมาตัว) เห็นได้ว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นนั้น เริ่มเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าเป็น เทคโนโลยี หรือ กฎเกณฑ์ (ด้วยการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ เมื่อก่อนผมจะเปิดบัญชีต้องมีเงิน เกิน 50,000 ถึงจะเปิดบัญชีซื้อขายได้)
มาถึงในปัจจุบัน เทคโนโลยีก็มีราคาถูกลง การเข้าถึงระบบเครือข่ายก็ง่ายขึ้น มือถือ Smartphone มาอยู่ในมือเรา เราสามารถส่งคำสั่งซื้อขายที่ไหนก็ได้ ง่ายแค่ปลายนิ้ว เมื่อตลาดนั้น อยู่ในกำมือเราจริงๆ
แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ การประกอบกิจการของบริษัทมหาชน บัญชี การแลกเปลี่ยนซื้อขาย สิ่งที่เป็นพื้นฐานเหล่านี้ ยังคงเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการซื้อและขายอยู่ในกำมือเราแค่ปลายนิ้วสัมผัส แต่ราคานั้นอยู่ได้ด้วย กลไกตลาด หรือ อดัม สมิธ เรียกว่า มือที่มองไม่เห็น มีอยู่ทุกตลาดครับ และจะมีอยู่ตลาดไปไม่มีวันหาย ตราบเท่าที่มีตลาด ของเหล่านี้ก็ต้องอยู่คู่กันไป
สรุปบทความนี้ไม่ได้มีความเห็นอะไรเชิงวิชาการ หรือ ความรู้ด้านการลงทุน แค่อยากเสนอความคิดเห็นดูเฉยๆ และรำลึกถึงอดีตเพื่อเตือนปัจจุบัน และ บอกผ่านไปยังอนาคต นะครับ ว่ากลไกตลาดจะเป็นสิ่งที่อยู่กันไปไม่ว่า ตลาดจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
โชคดีในการลงทุนครับ
วันนี้ลองมาดูนิยามคำว่าตลาดก่อนแล้วกันครับ
Q: ตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ไหน
A: แถวสถานีศูนย์วัฒนธรรม
แต่ถ้าตามนิยามตลาดของวิชาเศรษฐศาตร์จริงๆ เราน่าจะตีความว่า สถานที่ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน หรือ ใช้คำให้เหมาะสม กับวิชาเศรษฐศาตร์หน่อยคือ สถานที่อุปสงค์ (Demand) และอุปทาน( Supply ) มาเจอกัน
Q: เราซื้อขายหุ้น ฟิวเจอร์ ที่ไหน
A: iPhone,Moblie device,Notebook, PC, Website ของ Marketing เรา หรือรุ่นเก่ากว่านั้น คือ การเขียนลงกระดาษ ที่ห้องดูหุ้น โทรหามาร์ส่วนตัว
ถ้าดูอย่างนี้ ตลาดหลักทรัพย์ที่ถนนสาธร น่าจะเป็นอาคารปฎิบัติการดำเนินงาน หรือ สำนักงาน มากกว่า ที่ใช้คำว่าตลาด เพราะ สถานที่ Demand กับ Supply มาเจอกัน ไม่น่าที่จะใช้แถวถนนสาธร (เว้นแต่ เครื่อง server อยู่ที่นั้น แต่ก็เป็นด้านธุรกรรมที่จับคู่กัน)
สำหรับผม ตลาดที่ใช้ซื้อขายหลักทรัพย์ น่าจะเป็นทุกสถานที่ ที่เราสามารถเข้าไปยื่นคำสั่งซื้อขาย หลักทรัพย์นั้นๆ ได้ สิ่งราคาการ เสนอซื้อ เสนอขาย ปริมาณ หรือ Bid Offer Volum นั้นเป็นข้อมูลสำคัญมากที่บอกให้ทราบถึงDemand Supply ของตลาด
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เมื่อก่อนเราซื้อ ได้เป็นบางสถานที่ เช่น ห้องค้า หรือ ผ่านโทรศัพท์เท่านั้น การทราบข่าวสาร ถ้าไม่ถามมาร์ ก็ต้องนั่งดูจากทีวีช่อง 9 ที่มีตัววิ่ง วิ่งมาข้างใต้ โดยสมัยก่อนที่ผมยังไม่ลงทุน ตอนปิดเทอมจะรำคาญไอ้ตัววิ่งนั้นมาก เพราะมันบังทีวีเรา ต่อมาเริ่มลงทุน ก็ทรมานมากกับการลุ้นว่าเมื่อไร มันจะแสดงหุ้นที่เราถืออยู่นะ รอบเมื่อกี้ไปห้องน้ำมา กลับมา มันจะเปลี่ยนสีไหม
ยิ่งยุคก่อนที่จะมีมือถือ การซื้อขายคือต้องไปที่โทรศัพท์ตั้งโต๊ะ หรือไม่ก่อนไปห้องค้าเพื่อเขียนคำสั่งซื้อขาย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ห้องค้าสมัยก่อน ใหญ่มาก หรูมาก และจะอยุ่ตามตึกสำนักงานใหญ่ๆ เมื่อก่อนผมชอบแอบไปนั่งในนั้น
ถ้าใครนึกออกที่ผมพูด ผมว่าคุณ ต้องอยู่ในตลาดมาไม่น้อยๆ กว่า 10 ปีขึ้นไปแน่นอน
ต่อมาเราซื้อขายผ่าน Internet (ผมเริ่มซื้อขายแรกๆ ก็อยู่ในยุคนั้น)
ยุคนั้นก็เหมือนมีการเปลี่ยนแปลงของการซื้อขาย คือเราเข้าผ่านเว็บไซค์ของบริษัทหลักทรัพย์เรา ซึ่งของผมก็คือ www.kks.co.th ใช้มาเกือบ 10ปี เพื่งเห็นเค้าเปลี่ยนหน้าเว็บไม่กี่ปีที่ผ่านมาเอง
ในยุคนั้นตลาดของเรา ก็ย้ายจาก โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ ห้องค้า มาลงใน คอมพิวเตอร์ส่วนตัวมากขึ้น แถวเราสามารถดูราคาหุ้นได้ Realtime ด้วย การซื้อขายก็ทำด้วยมือเราเอง (พลาดก็พลาดเอง ผมเคยจะขายแต่ดันซื้อ หรือ พิมพ์จำนวน แล้ว มี 0 เกินมาตัว) เห็นได้ว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นนั้น เริ่มเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าเป็น เทคโนโลยี หรือ กฎเกณฑ์ (ด้วยการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ เมื่อก่อนผมจะเปิดบัญชีต้องมีเงิน เกิน 50,000 ถึงจะเปิดบัญชีซื้อขายได้)
มาถึงในปัจจุบัน เทคโนโลยีก็มีราคาถูกลง การเข้าถึงระบบเครือข่ายก็ง่ายขึ้น มือถือ Smartphone มาอยู่ในมือเรา เราสามารถส่งคำสั่งซื้อขายที่ไหนก็ได้ ง่ายแค่ปลายนิ้ว เมื่อตลาดนั้น อยู่ในกำมือเราจริงๆ
แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ การประกอบกิจการของบริษัทมหาชน บัญชี การแลกเปลี่ยนซื้อขาย สิ่งที่เป็นพื้นฐานเหล่านี้ ยังคงเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการซื้อและขายอยู่ในกำมือเราแค่ปลายนิ้วสัมผัส แต่ราคานั้นอยู่ได้ด้วย กลไกตลาด หรือ อดัม สมิธ เรียกว่า มือที่มองไม่เห็น มีอยู่ทุกตลาดครับ และจะมีอยู่ตลาดไปไม่มีวันหาย ตราบเท่าที่มีตลาด ของเหล่านี้ก็ต้องอยู่คู่กันไป
สรุปบทความนี้ไม่ได้มีความเห็นอะไรเชิงวิชาการ หรือ ความรู้ด้านการลงทุน แค่อยากเสนอความคิดเห็นดูเฉยๆ และรำลึกถึงอดีตเพื่อเตือนปัจจุบัน และ บอกผ่านไปยังอนาคต นะครับ ว่ากลไกตลาดจะเป็นสิ่งที่อยู่กันไปไม่ว่า ตลาดจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
โชคดีในการลงทุนครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น