การเอาตัวรอดในวัฎจักรธุรกิจ อดีตทียากจะเหมือนเดิม


ผมได้มีโอกาสอ่านบทความเกี่ยวกับอุตสหกรรมสิ่งทอ โดยเฉพาะแบบสมัยดังเดิมในยุคขายผ้า ขายเสื้อยืดจากโรงงานราคาถูก ซึ่งหลายๆปี นี้โดนเสื้อผ้าจากกัมพูชา ตีตลาดไปหมดแล้ว

เมื่อหลาย 10 ปี ยุคสมัยที่ผมยังเรียนปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นยุคที่เรายังอยู่ในวังวนของวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งเราโดนขมขู่ว่า งานนั้นหายาก บัณฑิตใหม่จบมาตกงานกันเป็นแถวๆ ในช่วงต้นปียุค 2540 ในยุคนั้น สิ่งที่ผมจำได้คือ บริษัทการเงินล้มอย่างไม่เป็นท่า ตลาดหุ้นร่วงจนติดดิน มีคนซื้อกองทุนแล้วไม่มีเงินเหลือต้องไปประท้วงด้วยการราดอุจจระ เป็นที่โด่งดังมาก ส่วนค่าเงินบาทก็ลดลงเป็ฯ 50บาทต่อตอลล่าสหรัฐ คนส่งลูกเรียนนอกต้องเรียกกลับประเทศหมด รถที่ติด ก็กลายเป็นรถโล่ง

นั้นคือภาพเมื่อยุคตำยำกุ้งที่ผมพอจำได้ครับ

แต่สิ่งตรงกันข้ามที่เห็ฯได้ชัดเจน คือการส่งออก นั้นกลายเป็นธุรกิจดาวรุ่ง หรือเรียกวว่า อุตสหกรรมกู้ชาติได้เลยที่เดียว เช่น พวกอาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิก เสื้อผ้า หรืออะไร ที่ทำส่งออกก็ตาม รวมถึงการท่องเที่ยว ที่กลายเป็นรายได้หลักของประเทศเลย เพราะด้วยค่าเงินที่ถูกแสนถูก ใครๆ ก็อยากมาเที่ยวเมืองไทย ยิ่งทำให้รู้จักอาหารเช่น ต้มยำกุ้ง ผัดไท ทั้งหลาย

ผ่านมายุคนี้ ค่าเงินของเรา เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 50 40 เป็น 30 ส่งผลให้ต้นทุนการส่งออกเราสูงขึ้นมาก จะพัฒนาเทคโนโลยี องค์ความรู้อะไรก็ตาม ผมว่าไม่สามารถเอาชนะค่าเงินได้แน่นอน ยิ่งยุคที่เปลี่ยนไป จาก เศรษฐกิจยุคที่ยุโรป อเมริกา ทำตัวเป็นเศรษฐิ ตอนนี้กลายเป็น คนเดือดร้อนไปแล้วจาก วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ และส่งผลกระทบต่อยุโรปรุนแรงถึงขนาดแทบแตก EU มาแล้ว

แน่นอนครับ อุตสหกรรมที่เหนือย คือ การส่งออกของบ้านเรา โดยเฉพาะที่ผมอ่านจากบทความ คือ สิ่งทอแบบต้นน้ำเช่นโรงงานทอผ้า เพราะเป็นสิ่งของที่มีการกีดกันท่างด้าน ทุน เทคโนโลยี และ ความรู้ ได้ยาก แถมเป็นอุตสาหกรรม Labor incentives ที่เน้นแรงงาน ยิ่งแรงงานราคาถูก ยิ่งได้เปรียบความได้เปรียบส่วนนี้ ซี่งก็โดนทำให้หายไปอย่างง่ายๆ ด้วยกฎหมายแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทนั้นเอง

แม้จะมีการส่งเสริมหนีโดยการยกระดับไปเน้น สินค้ามีเกรด มีตราสินค้ามาช่วย แต่สิ่งเหล่านี้ เป็นนั้น ช่วยผู้ประกอบการ และแรงงานมีฝืมือ มีทักษะ เช่น ดีไซเนอร์ หรือผู้ออกแบบ ชำนาญงานเฉพาะทาง แต่แรงงานที่ต้องเสียอุตสาหกรรมไปกับประเทศอื่นๆ ที่ได้เปรียบกว่า ก็คงต้องย้ายอุตสาหกรรมไปอย่างอื่นที่ยังต้องการแรงงานอยู่ แม้จะเป็นเรื่องปกติของเชิงเศรษฐศาสตร์ แต่อย่าลืมว่า เชิงพฤติกรรมหรือความเป็นมนุษย์ เค้าจะต้องเสียความสามารถให้กับความโหดร้ายที่แสนงดงามของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

ผมคิดถึง นักลงทุนระดับปรมาจารย์สาย VI คือ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ( Warren Buffett) ที่คิดถึงหลังจากมองภาพสิ่งทอแล้ว ทำให้คิดได้ว่า เบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ ที่เป็นบริษัทหลักที่วอร์เรนทำการบริหารมาตั้งแต่เริ่มแรกจนกลายเป็นตำนานวงการลงทุนไปแล้ว ก่อนที่จะเป็น Holding company นั้น ก็เป็นบริษัทสิ่งทอมาก่อน ในตอนนั้น สิ่งทอก็อาจเป็นอุตสาหกรรมที่ สหรัฐไม่มีอำนาจในการแข่งขันแล้ว แต่ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ก็ตัดสินใจซื้อเพราะด้วย มูลค่าทางบัญชีถูก และก็เป็นบทเรียนสำคัญอย่างหนึ่งในการลงทุน ว่าไม่คุ้มกับการลงทุน ถึงขนาดต้องเลิกกิจการสิ่งทอไป และผันตัวเองมาเป็นบริษัท Holding ที่น่าจะยิ่งใหญ่ในโลกนี้

แม้จะป็นเปลี่ยนอย่างไม่เหลือรูปเดิม ก็น่าจะเรียกว่า บริษัทสิ่งทอ ที่กลายเป็นบริษัทระดับโลกได้ แต่ผมก็ไม่รู้ว่า บริษัทสิ่งทออื่นๆ ใน สหรัฐ จะกลายเป็นอย่างไรบ้าง และพวกแรงงานทำสิ่งทอใน เบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ จะไปทำงานอะไร แต่อย่างน้อย เรื่องนี้ก็ให้เห็นว่า มันไม่ได้เพิ่งเกิดในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในโลก

สิ่งสุดท้ายการทำธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้สามารถอยู่รอด และ ทำกำไรหรือให้คุ้มทุนที่สุด ในช่วงของวัฎจักรธุรกิจ ไม่ว่า เฟื่องฟู หรือ ถดถอย ต้อง อยู่รอดได้ในระบบเศรษฐกิจ เพราะ ปัจจัยการผลิตที่เราลงไป ในการทำธุรกิจ แรงงานต้องากร ค่าจ้าง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของ การบริหารงาน โดย ผู้ประกอบการ และ ทุน ที่ต้องการผลตอบแทนเป็น ดอกเบี้ย หรือ กำไร ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นั้นละครับ ของเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ต้องบริหารให้สมดุลกันทุกๆฝ่ายนะครับ

ขอให้ทุกท่านอยู่รอดปลอดภัยมีรายได้เหลือใช้ และค่าใช้จ่ายอย่างพอเพียงในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่โหดร้ายแต่งดงามนี้ด้วยนะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย NP ของตลาดหลักทรัพย์

StarfishX: สำหรับการดึง SET data

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin