สินทรัพย์หรือเงินสด กับดักทางความคิด Weath Trap of Cash & Asset

หลายๆ ท่าน ที่ใช้ชีวิตในช่วงต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง ไม่ว่า จะต้องหาเงินเดือนเอง ทำธุรกิจ ทำการค้าขายหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องด้วยตัวเอง แต่ละท่านมักตั้งเป้าหมายเอง เช่น

  • มีครอบครัว
  • มีบ้าน
  • มีรถ
  • มีกิจการ
  • มีเงินเก็บในชีวิต
  • มีตำแหน่ง หน้าที่การงานที่ดี
  • มีเงินใช้หลังเกษียณ
  • ไปเที่ยวรอบโลก
  • มีของเล่นๆ ดี กล้อง สินค้าไอที
  • มีความสามารถในการทำบุญ
  • มีอิสระภาพทางการเงิน
  • อื่นๆ
ซึ่งเป้าหมายต่างๆ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของคนที่ออกมาลงทุนในหุ้นด้วย

แต่อีกอีกหลายๆ อย่าง ที่แต่ละท่านตั้งเป้าหมายในชีวิตไว้ให้กัน แต่ละท่านนั้น ส่วนใหญ่ต้องใช้เงิน ไม่ว่าจากหาเงินแบบไหน ซึ่งเป็นเป้าหมายต้นๆ ของการลงทุน ว่าอยากมีความมั่นคั่ง แต่ความมั่นคั่งหลายๆ ครั้ง คนเราก็สงสัย ว่า ควรต้องมีเงินเยอะๆ หรือ มีสินทรัพย์เยอะๆ ดี

ในนักลงทุนหลายๆ ครั้ง บางครั้งติดกับเงินมากเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่จะสนใจแต่ส่วนต่างราคามากเกินไป จนลืมว่าผลตอบแทนนั้น มีได้จากเงินปันผลด้วย ซึ่งต้องนี้เป็น Cash flow ซึ่งมีโอกาสเติบโตในอนาคตด้วย

แต่นักเก็งกำไร บางครั้งสนใจแค่การได้กำไร ที่เปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสดและใช้มันเลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง และซื้อของอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวันไป

บางคนหาเงินได้มา ก็นำไปเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์หมด ไม่ว่าลงทุนสินทรัพย์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในที่ดิน หรืองานศิลปะ หรือ ทอง รถยนต์ อื่นๆ ก็ตาม ที่มนุษย์นิยมกัน แต่ถ้าสินทรัพย์ที่มีนั้น มีมูลค่าลดลง ก็ถือว่าการถือสินทรัพย์ชิ้นนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดความมั่นคั่งขึ้น ยิ่งสินทรัพย์บางอย่างมีรายจ่ายเพื่อบำรุงรักษาแล้ว ยิ่งเลวร้ายใหญ่

เงินสดนั้น ถ้ามองกันตามหลักเศรษฐศาสตร์จริงๆ แล้ว ก็ถือว่า โดนลดค่าตลอดทุกปี ด้วยเงินเฟ้อ นั้นเอง เมื่อก่อน คุณกินข้าวหรือ ก๋วยเตี๋ยวจาน 25 บาท เดี่ยวนี้ ต้องกลายเป็น 35-40 บาท นั้นหมายความว่า

อาหารนั้นแพงขึ้น หรือ เงินนั้นลดค่าลง ก็ได้

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว การที่เอาเงินฝั่งตุ่มไว้ อาจเป็นการรักษามูลค่าที่ไม่ดี อาจทำให้เงินเสื่อมค่าลงไป

ซึ่งเห็นได้ว่า การมีเงินสดเยอะ ก็ไม่ใช่เรื่องดี ขณะเดียวกัน การมีทรัพย์สินที่ไม่ดี เยอะเกินความจำเป็น ก็ไม่ใช่เรื่องดี ต่อความมั่นคั่่ง เหมือนกัน

ดังนั้น การบริหาร สินทรัพย์ กับ เงินสดให้พอดีกัน เป็นความจำเป้นของค

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin

บันทึกการลงทุน 06/11/2023

บันทึกการลงทุน 05/10/2557 ว่าด้วยหนังสือการลงทุน