กาลครั้งหนึ่งที่ผมเคยลอกข้อสอบ และวิธีการลงทุนแบบลอกการบ้าน

ครัั้งหนึ่งในชีวิตผม ปี 2542 ณ สอบปลายภาคเทอมสองตอน ม.6 ผมเคยลอกข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ เพราะไม่อยากสอบซ่อม

สำหรับคนที่เรียนหนังสือไม่เก่งอย่างผม การสอบซ่อมเป็นเรื่องปกติ ผมเรียนสายคณิต อังกฤษ วิชาที่ผมซ่อมตลอด 5 เทอม ตอนม.ปลายคือ คณิต อังกฤษ นอกนั้น ผมจำไมไ่ด้ว่าซ่อมไหม

ผมยังจำบรรยากาศวันสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี เป็นช่วงที่โรงเรียนผมเริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้ห้องเรียนไม่มี เลยทำให้มาสอบรวมกัน 2 ห้อง สายคณิต อังกฤษ ห้องเรียนดี กับ ห้องเรียนไม่ดี แต่สองห้องสนิทกันมาก ม.4ม.5 ส่วนใหญ่ แยกห้อง มี ม.6 แบ่งห้อง เรียนดี กับ เรียนแย่ ผมเลยได้ลงมาอยู่ห้องเรียนแย่ และแน่นอนครับ พวกที่สนิทๆ ก็ขึ้นไปห้องเรียนดีก็มี ส่วนพวกเรียนแย่ๆ ก็รวมๆกัน สนิทกันไว เลยสรุปเหมือนรู้จักกันหมดอยู่แล้ว

และวันนั้น ผมนั่งติดกับ ผู้หญิงเรียนดีคนหนึ่งแต่ผมไม่รู้จักเป็นการส่วนตัวดีเท่าไร แต่ตอนลอกข้อสอบเค้าก็ตกลงให้ผมลอกได้อย่างสะดวก และผมก็จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น รู้สึกหลอกกันเต็มที่เลย ทั้งห้องผม

แม้ผมจะเป็นเด็กเรียนไม่เก่ง แต่ผมไม่เคยลอกข้อสอบเลย ผมเป็นพวกของต้องด้วยตัวเองดีกว่าผ่านเพราะฝืมือคนอื่น

แต่สำหรับผมการสอบเทอมสุดท้ายของม.ปลาย ค่อนข้างแตกต่างด้วยชีวิตที่ทำแต่ กิจกรรม ผมเลยไม่ต้องเรียนเทอมสุดท้าย ร่วมๆ 3 เดือน ซึ่งผมก็ไม่เคยเสียใจ ที่ทำกิจกรรมหนัก แต่เสียใจที่ตอนเรียนไม่มีความรู้ติดหัวมากกว่า  สิ่งที่ทำให้ผมต้องการลอกข้อสอบมีอย่างเดียวครับ ไม่อยากมาสอบซ่อมตอนปิดเทอม ที่เรียนจบแล้ว รู้สึกอยากเรียนจบ จริงๆ

สุดท้ายก็ผ่านด้วยเกรด 1-2 จำไม่ได้ แต่ผมกลับจำว่ามันไม่ดีจนถึงวันนี้ หลังจากนั้น ผมก็ไม่เคยลอกข้อสอบอีกเลยจนจบ ป.โท แต่มีให้คนอื่นลอกข้อสอบ (ตอนปี1)

แต่สรุปกว่าผมจะใส่เรื่องการเรีย ก็คือ ปี1 และเข้าใจหลักการเรียนก็ ปี2 หลังปี3 ปี4 เป็นช่วงทดสอบวิธีการเรียนรู้ ซึ่งเห็นชัดเจนรุนแรงมาก คือ การทบทวน ทำให้คะแนนดี เกรดพุ่ง ส่วนปีไหนไม่ทำ (เพราะติดหญิง) เกรดก็ตก แต่ข้อพลาดก็คือ ปี1-2 ดันทำเกรดไม่ดี บางเทอมทำคะแนนดีมาก ก็ไม่ดึงเท่าไรละ

การเรียนผมมาดีจริงๆ ก็ตอน ป.โท เพราะเข้าใจวิธีการเรียนให้ได้คะแนนดี และ การเข้าถึงความรู้ได้วิธี อ่าน ทำ แต่ก็ยังติด เอาแต่ใจ คือ วิชาให้คะแนแง่ายๆ ผมไม่ทำ เลยอดได้เกรียตินิยมไป 0.01 เอง

สรุปพอมาทำงาน วิธีการโกยความรู้ ก็เป็นอีกแบบ คือ On the job training และ Knowledge transfer จากพี่ๆ ร่วมงาน พวกนี้ ตำรามีน้อย หรือ ไม่มีเลย บางอย่างมีในตำรา อ่านไปก็ไม่เข้าใจเพราะไม่มีใครบอกว่า ตรงนี้ออกสอบนะ เน้นนะ ต้องไปเจอปัญหาแล้วกลับมาอ่านถึงเข้าใจ่ว่ามันสำคัญ

แม้ผมจะเป็นเด็กเรียนไม่เก่ง แต่มาทำงานตอนนี้ต้องถือว่าประสบความสำเร็จเมื่อเทียบด้วยอัตราเกรดเฉลี่ยกับเงินเดือน หน้าที่การงาน บางครั้งหลายคน เลยมองว่า การเรียน ปริญญา อาจไม่สำคัญ แต่สำหรับอาจมองได้ว่า เค้าใช้ความรู้ที่ได้มาไม่เป็นมากกว่า แต่ตัวผมก็มี ปริญญาเป็นใบผ่านจริงๆ ตอน ป.ตรี ใช้เข้ากระทรวงการคลัง ตอน ป.โท ใช้สมัครอาชีพ  Consultant แต่ช่วงที่ได้รับรู้ความอ่อนแอของตัวเอง ก็มีเรื่องการเรียนแฝงอยู่ด้วย จุดโหดร้ายนั้นก็ถือเป็น Turning point ของชีวิตผมเลยก็ว่าได้

เลยเรื่องเกี่ยวกับลงทุนไปเยอะนะครับ ประเด็นของชีวิตผมคือ หลายๆครั้ง ผมโดนของลอกหุ้นในพอร์ต หรือ มีคนบอกหุ้นผม และหลายๆ ครั้งผม ปฎิเสธ แม้บางครั้งจะมีหุ้นที่ราคาวิ่งจริงๆก็ตาม แต่มันไม่เข้าใจเกณฑ์ที่ผมใช้คัดเลือกหุ้นไว้ ซึ่งบางทีก็น่าเขกกระโหลกผมเอง แต่สุดท้ายผมก็บอกได้ว่า ผมทำตามวินัยผม ซึ่งผมยึดถือมาตั้งแต่ตอนเรียน ตอนสอบ คือ ยอมขาดทุนด้วยตัวเองดีกว่ากำไรด้วยคนอื่น

แต่สรุป ผมคิดว่า การลอกพอร์ต ไม่มีความผิดทั้งทาง กฎหมาย หรือ ศีลธรรม ใครอยากทำก็ทำนะครับ บทลงโทษคือความเสี่ยงที่เรารู้จักหุ้นนั้นดีแค่ไหน ซึ่งทางตรงข้าม มันก็อาจเป็นรางวัลให้เรา ถ้าเรากำไร

แต่บทลงโทษที่ผมว่าได้แน่นอนคือ ถ้าคุณซื้อตามด้วยเหตุผลเพราะ คนอื่นบอก คุณก็ไม่พัฒนาขึ้น คุณไม่เก่งขึ้น ถึงจะถูกครั้งแรกๆ และต่อๆ ไป แต่สักวันที่มันเกิดผิดพลาดแล้ว เราจะรู้ไหม ว่าพลาด ที่สำคัญเวลาผ่านไปแต่เราไม่ได้เก่งขึ้น นี้ ผมว่า น่ากลัวที่สุด

สำหรับผม ถ้าคนเรา ทำถูกแต่ผลออกมาไม่ดี นั้นไม่ใช่ผิดที่เรา ผิดที่โชคชะตา แต่ถ้าเราทำถูก และผลออกมาดี นั้นคือเราทำได้ดี

ในทางตรงข้าม ถ้า เราทำผิด แต่ผลออกมาดี คือโชคชะตาที่ช่วย แต่ เราไม่ได้พัฒนา กลับคิดว่าที่เราทำผิดนั้นถูก นั้น คือ สิ่งที่น่ากลัว คือ เราเรียนรู้สิ่งที่ผิดและยอมรับมันมาในใจ

 ถึงเป็นจุดสำคัญทีว่า ทำไมเวลาตลาดดี มีเซียนเกิดขึ้นเต็มไปหมด แต่พอขาลงเซียนหาย ส่วนพวกตามเซียนเป็นไงบ้าง ผมไม่รู้

สุดท้ายผมก็ขอให้ เราโชคดีในการลงทุนนะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย NP ของตลาดหลักทรัพย์

StarfishX: สำหรับการดึง SET data

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin