บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2011

การวิเคราะห์จากงบกำไรขาดทุนของบริษัท :ความหมาย

งบกำไรขาดทุนเป็นอีกส่วนของงบการเงินโดยประกอบด้วยด้านรายได้ กับ รายจ่าย โดยงบกำไรขาดทุนเป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งเป้นผลมาจากกิจกรรมดำเนินงาน เช่น ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการขาย ค่าบริหารงานต่างๆ กับ พวกรายได้จากการขาย และ รายได้อื่น ซึ่งเมื่อนำรายได้ กับ รายจ่ายมา หักลบกัน ก็จะได้ผลของกำไร หรือ ขาดทุนนั้นเอง โดยส่วนใหญ่ทั่วไป กำไรนั้นย่อมดีกว่าขาดทุน คำว่ากำไรตัวนี้ ส่งผลต่อการลงทุนมาก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวววววววว และที่สำคัญ เงินปันผลก็มาจากกำไรส่วนนี้ (โดยส่วนใหญ่นะครับ ไม่นับพวกกู้มาจ่ายปันผล กับ ปันผลเกินกว่ากำไรที่ได้) ระยะสั้น เมื่อได้ข่าวว่ากำไรเมื่อไร ไม่ว่า แมงเม่า นักลงทุน นักเก็งกำไร จะมาสนใจหุ้นทันที รวมทั้งราคาจะทำการสะท้อนทันที แต่สิ่งที่อยากให้สนใจมากกว่านั้นคือ คุณภาพของกำไร นั้นดีไหม ซึ่งพวกนี้ต้องเจาะรายละเอียดลึกๆ ของงบจะทำให้เห็นได้ว่า กำไรนั้น มาอย่างไร ส่วนในระยะยาวที่สำคัญสุดของคุณภาพของกำไร จะเป็นตัวบอก ศักยภาพของบริษัทนั้นๆ ว่ามีแนวโน้มโตต่อไปได้มากแค่ไหน แต่อย่างไร กำไร ก็ดีกว่า ขาดทุนแน่นอนครับ

วิกฤตเศรษฐกิจในระดับมหภาค

ช่วงนี้ผมโดนถามเกี่ยวกับเรื่องปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเยอะมาก เนื่องจากน้องๆ ได้ไปเล่นทอง กันไว้เยอะ เลยชอบถามคำถามในเศรษฐกิจมหภาคมากขึั้น ช่วงนี้วิกฤตของ กรีซ กำลังเป็นประเด็นสำคัญ แม้จะเกิดมาเกือบ 2 ปีแล้วก็ตาม เนื่องจากความรุนแรงของระดับหนี้ และ ความซับซ้อนของค่าเงินยูโร รวมถึงภาวะวิกฤตของ อเมริกา ด้วย ซึ่่งก็เกิดจากภาวะฟองสบู่อสังหาแตก ทำให้เกิดวิกฤตทางการเงินเกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นคล้ายๆ กับไทยเมื่อปี 2540 ประมาณเมื่อ 10ปีที่แล้ว โดยสิ่งที่เกิด เกิดจากบางภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ เช่นภาคอสังหาที่มีการเก็งกำไรกันสูงเกินไป ภาครัฐที่ก่อหนี้เกินความสามารถที่จะชำระได้ ภาคการเงินที่ปล่อยกู้เกินความสามารถที่จะใช้คือได้ หรือ หลักทรัพย์ไม่ได้คุณภาพพอให้กู้เงิน ทำให้เกิดปัญหาเป็นทอดๆ กันไป ส่วนใหญ่ที่ผมเคยเห็นและพอสรุปได้ก็มีประมาณนี้ละครับ ภาครัฐ ภาคการเงิน ภาคอสังหา ที่จะโดนกันเต็มๆ เกินวิกฤตที เหมือนทุกอย่างโดนล้างหมด บริษัทก็ล้มเนื่องจากภาคการเงินไม่ปล่อยกู้ ภาคอสังหาก็ราคาตกอย่างหนัก ภาครัฐก็ไม่สามารถลงทุนได้เนือ่งจากหนี้เยอะ ( ไม่สามารถสร้างหนี้เพิ่มได้ จึงไม่มีเงินมาลงทุน ) จากนั้น ทุกภาคส่วนก็จ...

การวิเคราะห์จากงบการเงินของบริษัท :ส่วนของผู้ถือหุุ้น

ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสินออกแล้ว ซึ่งเขียนสมการออกมาได้ในรูปนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้น = สินทรัพย์ – หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้นที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง ทุนจดทะเบียน กำไร (ขาดทุน) สะสม โดยความสำคัญในการวิเคราะห์บริษัทเพื่อลงทุนของส่วนผู้ถือหุ้น ในการที่บริษัทหนึ่งจะเริ่มทำธุรกิจ ต้องมีผู้ลงทุนซึ่งส่วนนั้นก็จะกลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นไป คิดง่ายๆ ครับ ทำอะไรไม่มีทุน ออกแรงเป็นทุน ออกเงินเป็นทุน ถึงเวลาแบ่งกันก็ลำบาก ทุนทางบัญชีจะตีเป็นมูลค่าเงินเท่านั้น เวลาได้กำไร ขาดทุน ทำแล้วขาดทุน ก็เข้าเนื้อ เสียตังกันไป ซึ่งถือเป็นความเสียงในการลงทุนครับ เมื่อตีเป็นทุนออกมาได้ ก็แบ่งหุ้นรับความเสี่ยงในการกำไร หรือ ขาดทุนกันไป ในปีบัญชีแต่ละรอบ เมื่อขึ้นรอบถัดไปจะนำส่วนกำไรหรือขาดทุนนั้น มาไว้ในนี้ ส่วนใหญ่กำไรหรือขาดทุนก็จะนำมาใส่ไว้ที่ ส่วนของผู้ถือหุ้น หลังจากหักปันผลไปแล้ว โดยส่วนใหญ่เวลาจะดูว่าบริษัทมีการโตในช่วงก่อนหน้าเพียงใด ก็มาดูที่ส่วนของผู้ถือหุ้นเนียละครับ และดูย้อนหลังไปหลายๆปี ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าบริษัทใดดูส่วนข...

การสร้างนิสัยการลงทุน

ตั้งแต่เปิด Blog นี้มา ผมมักจะพูดการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือ หุ้นมาตลอด ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะบอกแต่เรื่องพื้นฐาน แต่ก็ไม่ค่อยได้บอกว่าปกติ เลือกหุ้นกันอย่างไร โดยหลักๆ การลงทุนจะมี 2 แบบ ที่คุ้นหู มูลค่า กับ เก็งกำไร สำหรับผมมันเป็น วิธีคิดมากกว่าข้อบังคับ ซึ่งใครถนัดแบบไหน หรือ เห็นดี เห็นชอบด้านไหน ก็จะทำตัวตามความเชื่อแบบนั้น แม้แต่ตัวผมเอง บางครั้งก็ไม่กล้าบอกว่าเป็น นักลงทุนมูลค่า เพราะบางเวลาก็กลายเป็นนักเก็งกำไร เหมือนกัน ที่สำคัญกว่าคือ เมื่อเราลงทุนไปสักพัก เราจะเริ่มมีรูปแบบการลงทุนไปอย่างไม่รู้ตัว เราจะมีสาเหตุที่เลือกหุ้น เลือกลงทุนเอง หรือ ซื้อ ขาย ตามเงื่อนไขอะไรบางอย่าง แม้บางครั้งจะลงทุนแบบไม่มีเหตุผล แต่นั้นก็ถือเป็นเหตุผลที่เราลงทุน ซึ่งบางคนเรียกว่า พฤติกรรมการลงทุนบ้าง ระบบเทรดบ้าง ปรัชญาการลงทุนบ้าง ทัศนคติ ส่วนผมว่าคงเหมือนกับวิชาจิตวิทยาเรื่องพฤติกรรม การทำซ้ำๆ จนเป็นนิสัยการลงทุน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ ถ้าถูกออกแบบมาดีตั้งแต่แรก เราจะไม่มีปัญหาในการลงทุน เช่น การตัดขาดทุน (เป็นอย่างแรกที่ได้เรียนรู้) การคัดเลือกหุ้นที่ดี การสะสมเงิน หรือ การออม ซึ่งส่วนใหญ่ ถ้าออกมาดีตั้...