การวิเคราะห์จากงบการเงินของบริษัท :ส่วนของผู้ถือหุุ้น

ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสินออกแล้ว
ซึ่งเขียนสมการออกมาได้ในรูปนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้น = สินทรัพย์ – หนี้สิน
ส่วนของผู้ถือหุ้นที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง
  1. ทุนจดทะเบียน
  2. กำไร (ขาดทุน) สะสม
โดยความสำคัญในการวิเคราะห์บริษัทเพื่อลงทุนของส่วนผู้ถือหุ้น ในการที่บริษัทหนึ่งจะเริ่มทำธุรกิจ ต้องมีผู้ลงทุนซึ่งส่วนนั้นก็จะกลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นไป คิดง่ายๆ ครับ ทำอะไรไม่มีทุน ออกแรงเป็นทุน ออกเงินเป็นทุน ถึงเวลาแบ่งกันก็ลำบาก ทุนทางบัญชีจะตีเป็นมูลค่าเงินเท่านั้น เวลาได้กำไร ขาดทุน ทำแล้วขาดทุน ก็เข้าเนื้อ เสียตังกันไป ซึ่งถือเป็นความเสียงในการลงทุนครับ
เมื่อตีเป็นทุนออกมาได้ ก็แบ่งหุ้นรับความเสี่ยงในการกำไร หรือ ขาดทุนกันไป ในปีบัญชีแต่ละรอบ เมื่อขึ้นรอบถัดไปจะนำส่วนกำไรหรือขาดทุนนั้น มาไว้ในนี้
ส่วนใหญ่กำไรหรือขาดทุนก็จะนำมาใส่ไว้ที่ ส่วนของผู้ถือหุ้น หลังจากหักปันผลไปแล้ว โดยส่วนใหญ่เวลาจะดูว่าบริษัทมีการโตในช่วงก่อนหน้าเพียงใด ก็มาดูที่ส่วนของผู้ถือหุ้นเนียละครับ และดูย้อนหลังไปหลายๆปี ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ถ้าบริษัทใดดูส่วนของผู้ถือหุ้นแล้ว โตเรื่อยๆ นั้นให้ตั้งข้อสังเกตุว่ามีกำไรเรื่อยๆมา มีบ้าง บางทีอาจมีการแปลงหนี้เป็นทุน หรือการให้สิทธิเจ้าหนี้เป็นผู้ถือหุ้น ทำให้ทุนเติบโตขึ้น
ซึ่งถ้าอยากดูกันจริงๆ ให้ไปดูที่รายการ กำไรสะสม หรือ ขาดทุนสะสม บางบริษัทมีกำไรสะสม ติดลบ นั้นคือขาดทุน แต่ดำเนินการอยู่ได้ด้วยหนี้สิน อันนี้อันตรายครับ
แต่บริษัทที่สามารถโละขาดทุนสะสมได้หมด ส่วนใหญ่ในธรรมชาติจะกลายเป็นหุ้น Turn Around ราคาจะดีดไปอย่างสูงครับ ยิ่งทำกำไรได้ในช่วงต่อๆ ไปด้วย ยิ่งกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าครับ
ซึ่งกำไรที่ได้ ส่วนใหญ่จะมี 2อย่างที่จะมาใช้คือ
1 จ่ายปันผล
2.เก็บไว้ลงทุนต่อ ซึ่งในกรณีนี้ จะมาโผล่ในหมวดกำไรสะสมครับ
ส่วนเงินปันผล บางครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นคือในกรณีที่จ่ายเงินปันผลมากกว่ากำไรที่หาได้ นั้นหมายถึงการนำส่วนของผู้ถือหุ้นมาจ่ายปันผลครับ สิ่งที่เกิดตามมาคือทำให้บริษัทมีความอ่อนแอทางการเงินแทน อันนี้ต้องระวังนะครับ ถือมีกลุ่มผู้ถือหุ้นบังคับให้จ่ายปันผลแบบนี้ต้องระวังด้วย เป็นผลเสียให้ระยะยาวมากกว่าครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin

บันทึกการลงทุน 06/11/2023

บันทึกการลงทุน 05/10/2557 ว่าด้วยหนังสือการลงทุน