ความรู้สึกของนักลงทุนกับการลงทุนในตลาดหุ้น 1
บทความนี้ผมจะพูดถึง
ความโลภ ความกลัว และสภาพตลาดของสินค้าทั่วไปและเปรียบเทียบกับตลาดหุ้น
ในการลงทุนนั้นเราจะมีอารมณ์สองอย่างในการขับดันตลาดหุ้นคือ
อารมณ์โลภ อารมณ์กลัว เป็นพื้นฐานที่นักลงทุนทุกคนเข้าใจ ว่าในช่วงที่นักลงทุนโลภตลาดจะวิ่งขึ้น
แต่ช่วงที่นักลงทุนกลัวตลาดจะวิ่งลง เป็นธรรมชาติของตลาดหุ้นหรือการเก็งกำไร
ปัญหาสำหรับผม
การเกิดความกลัว หรือ ความโลภนั้น มาจากไหน ถ้าที่ผมสังเกตุคือ
เมื่อคนเราคาดว่าอนาคตสินทรัพย์นั้นๆ จะมีราคาสูงขึ้น คนส่วนใหญ่จะโลภ และเมื่ออนาคตสินทรัพย์นั้นๆ
จะมีราคาต่ำลง คนส่วนใหญ่จะกลัว
ทำให้เกิดการคาดการณ์และส่งผลต่อคนทำให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดนั้นเองครับ
ซึ่งถ้าตัวอย่างง่ายๆ
ที่ไม่ใช่ตลาดหุ้น ลองนึกถึงปี 2554 ช่วงที่อาหารแห้ง น้ำดื่ม ขาดตลาด
เนื่องจากความต้องการบริโภคสูงด้วยที่ต้องการนำไปกักตุนเป็นเสบียงด้วย
ทำให้ของหลายชนิดขาดตลาดไปทันที
(แต่กรณีนี้น่าจะเป็นอารมณ์กลัวทำให้คนซื้อสินค้ามากักกุนกันมากกว่านะครับ)
ซึ่งในปกติคนเราต้องมีการบริโภค
อาหารแห้ง น้ำดื่มกันอยู่แล้ว แต่ในบางกรณี เช่น น้ำท่วม มันส่งผลด้าน อุปทาน (Supply) ไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ และมี อุปสงค์ (Demand) พุ่งขึ้นด้วยความกลัว
ทำให้เกิดสินค้าขาดตลาดทำให้ราคาสูงขึ้น ไม่ว่าด้วยต้นทุนการขนส่งที่ยาก
รวมถึงความสามารถในการขึ้นราคาของผู้ค้าหรือตัวพ่อค้าอืก ตอนนั้น โค้กขวดละ 30 ผมก็ซื้อ
พอซื้อเสร็จน้ำเข้าบ้าน ไม่ได้กินกว่าจะได้กิน คือ น้ำลดแล้วอีก 1 เดือนให้หลัง
ซึ่งราคาน้ำอัดลมก็กลับมาปกติ
ซึ่งหลายครั้งเราจะเห็นเหตุการณ์ความโลภที่ขับเคลื่อนมีอยู่บ่อยๆ
เช่น
- คนต่อคิวซื้อทองจนการซื้อทองเปลี่ยนพฤติกรรมไป
จากเมื่อก่อนซื้อแล้วได้ของเลยต้องการเป็นใบจอง
- ตุ๊กตามีขนที่พูดได้ ราคาก่อนจะฮิตก็ประมาณ 2-3พันบาท
พอมีข่าว ของหายาก ก็พุ่งเป็น 5000 บาท
- จุตครามรามเทพ ที่ช่วงปี 2550
ได้รับความนิยมมาก จนใครต่อใครต้องหาเช่ากัน ลงข่าวหน้า 1
และออกโทรทัศน์แทบทุกวัน ปัจจุบันกว่าผมจะนึกชื่อออกต้องใช้ google ช่วยไปเรื่อยๆ
-ตอนคิวซื้อโดนัทคิวยาว
ปัญหาอย่างที่ผมบอกครับ
คนต้องการของปกตินั้นมีอยู่ ส่วนคนผลิตนั้นก็มีอยู่ ไม่ว่าทอง ไม่ว่าตุ๊กตา
ไม่ว่าพระเครื่อง หรืออื่นๆ เมื่อมีความต้องการมากและสินค้ามีไม่พอต่อความต้องการ
ส่งผลให้ตลาดต้องการสินค้าเพิ่ม ทำให้เป็นการเชิญชวนต่อผู้ผลิตที่สนใจเข้ามาในการชิงส่วนแบ่งการตลาดนี้
ถ้าสินค้านั้นง่ายต่อการผลิตหรือมีสินค้าอื่นๆทดแทนได้
จะทำให้ผู้ผลิตรายเก่านั้น ไม่สามารถป้องกันผูกขาดได้
และเมื่อสินค้านั้นมีปริมาณสูงขึ้นจนสามารถตอบสนองความต้องการซื้อจนหมดไป
และถ้าไม่มีความต้องการซื้อใหม่ๆ มาเพิ่มเติม
จะส่งผลต่อตลาดทำให้ปริมาณมากกว่าความต้องการซื้อ เพื่อทำให้ขายได้ง่ายที่สุด
คือการราคา ทำให้ผู้ที่มีต้นทุนสูงไม่สามารถแข่งขันต่อได้และต้องออกจากตลาดไป
จนเหลือคนที่สามารถรับต้นทุนนั้นได้และสามารถตอบสนองความต้องการซื้อได้
ก็จะคุมตลาดนั้นได้ไปเรื่อยๆ เป็นหลักของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ของทางหลักเศรษฐศาสตร์
คราวนี้กลับมาที่ตลาดหุ้น
สินค้าที่มีหลักอยู่ 2 อย่าง เงิน กับ หุ้น
เมื่อตลาดโลภช่วงในที่คนต้องการหุ้นมากกว่าเงิน
เงินจะไหลเข้าตลาดแล้วเงินจะเปลี่ยนเป็นหุ้น
และจะทำให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นไปตามความต้องการถือหุ้นของนักลงทุน
เมื่อตลาดกลัวช่วงในที่คนต้องการเงิน
มากกว่าหุ้น เงินจะไหลออกตลาดแล้วหุ้นจะเปลี่ยนเป็นเงิน และจะทำให้ราคาหุ้นร่วงขึ้นไปตามความต้องการถือเงินของนักลงทุน
ช่วงนี้เงินล้นโลก
ด้วยการพิมพ์เงินออกมาเพิ่มของธนาคารกลางหลายประเทศยักษ์ใหญ่ของโลก ดังนั้น เมื่อเงินมากขึ้น
เงินจะลดค่าลง ดังนั้นต้องเปลี่ยนเงินเป็นสินทรัพย์เพื่อรักษามูลค่าไว้
ที่หนึ่งที่เงินไหลมาเพื่อรักษามูลค่าก็คือตลาดหลักทรัพย์นั้นเอง
แต่อารมณ์นั้น
เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เมื่อความต้องการซื้ออย่างหายไป เมื่อนั้นหุ้นก็จะเหมือน
น้ำอัดลมที่ผมซื้อช่วงน้ำท่วมละครับ เว้นน้ำอัดลมของเรามีมูลค่าเพิ่มตามกาลเวลา
ผมก็คิดว่า
ถ้าเราไม่สามารถแยก Demand เทียม กับ Demand แท้ ไม่ออก
เราก็ควรแยกว่าสินค้าที่เราได้มานั้นมันคุ้มค่ากับการลงทุนไหม และ ณ ปัจจุบันนี้
ที่เรากำลังลงทุนกันอยู่นั้น เป็นความต้องการจริงหรือไม่ น่าจะมีคำตอบที่ต่างกันในใจนะครับ
สุดท้าย ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น