ปรับโครงสร้างรายจ่ายส่วนตัว

รายจ่ายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีการใช้จ่ายยิ่งชีวิตในเมืองด้วยแล้ว เรียกว่าแทบจะมีรายจ่ายทุกวันไม่มีวันไหนที่เงินไม่ออกจากกระเป๋าเรา ถึงไม่เสียค่าใช้จ่ายทางตรงก็ต้องมีจ่ายทางอ้อม บางครั้งคนเราสนใจแต่การหารายได้ แต่ด้วยชีวิตคนทำงานรับเงินเดือนนั้น การจะเสริมรายได้เป็นข้อจำกัดระดับนึง เลยต้องมาสนใจการควบคุมรายจ่ายแทน โดยผมจะทำการแยกประเภทค่าใช้จ่ายที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน


และช่วงปัจจุบันนี้ คุณพ่อผมต้องเข้ารักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง แต่ละครั้งก็เกิน 30000 ขึ้นไป แต่ยังดีที่ ญาติช่วย แม่ยังมีกำลังรักษาอยู่ แต่ก็ส่งผลต่อชีวิตผมเยอะเหมือนกัน เพราะต้องจ่ายเงินช่วยคุณแม่อีกคนตามหน้าที่ของลูกที่ควรต้องทำ ดังนั้นผมจึงต้องมาทบทวนแผนรายจ่ายแต่เดือนผมใหม่อีกครั้ง เลยบันทึกเก็บไว้อ่านเพื่อทราบแนวความคิดในปัจจุบัน เพื่อได้เปรียบเทียบและปรับปรุงในอนาคตด้วย

พื้นฐานชีวิตส่วนตัว
ไม่มีรถ
ยังไม่มีแฟน ภรรยา หรือ บุตร
มีเงินเดือนประจำ มีค่าเวร ค่ารถบ้าง
ไม่รวมรายได้จากการลงทุน ไม่ว่าส่วนต่างราคา และ เงินปันผล

การแบ่งประเภทค่าใช้จ่ายของผม
ค่าใช้จ่ายทางตรงในชีวิตประจำวัน สำหรับตัวผมเองเป็นสิ่งที่เราออกเงินซื้อมาทันที เช่น ค่าใช้จ่ายทางตรง เช่น ค่าอาหาร ค่ารถ ค่าหนังสือ
ค่าใช้จ่ายทางอ้อมในชิวิตประจำวัน สำหรับตัวผมเองเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องจ่ายเงินซื้อมาทันที เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอาหารแห้งที่ซื้อเก็บไว้
ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ไม่ค่อยเกิดในชีวิตประจำวันเท่าไร แต่ถ้าเกิดต้องจ่าย ก็หนักหนาเหมือนกัน เข่น ค่าหมอ ค่ายา ค่าพยาบาล เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายระยะยาว ไม่ค่อยเกิดในชีวิตประจำวันเท่าไรและควรเกิดน้อยที่สุด เช่น การผ่อนจ่ายเพื่อซื้อสินค้า ดอกเบี้ยจ่าย จ่ายเงินกู้
ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย ไม่ค่อยเกิดในชีวิตประจำวันเท่าไรและควรเกิดน้อยที่สุดแต่ผกผันกับความเครียด เช่น สินค้าเกม การ์ตูน ของเล่น สินค้า IT เครื่องสำอาง เสื้อผ้า เครื่องประดับ
ค่าใช้จ่ายเพื่อลงทุน ไม่ค่อยเกิดในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อสินทรัพย์ที่คาดว่าจะมีส่วนต่างราคาที่ดีขึ้นในอนาคต

สรุปอัตราส่วนรายจ่ายหลังจากอายุ 27 นะครับ แบ่งช่วงหลักๆ ได้ดังนี้ครับ

ช่วงไร้รายได้
เมื่อสมัยผมเคย Blog นี้ยุคแรกๆ เป็นยุคที่ผมไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง (เกาะแม่กินครับ) รายได้ได้รับมาจากคุณแม่ รายจ่ายเลยมีแต่ ค่าใช้จ่ายทางตรงในชีวิตประจำวัน เท่านั้น และพอเหลือเงิน (สำหรับผมคือกันไว้ก่อน) ก็เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลงทุนครับ ส่วนใหญ่จะเป็น ส่วนค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ผมก็ให้แม่ช่วยออกให้ครับ
ช่วงมีรายได้1
ช่วงต่อมา ผมได้งานทำ แต่การทำงานยุคแรกของผมนั้น รายได้ถือว่าน้อยยิ่งเทียบกับคนจบปริญญาตรี (แม้ไร้ประสบการณ์ก็ตาม) และก็ตัดรายได้จากคุณแม่ทิ้ง แต่ผมก็ต้องรับค่าไฟ ค่าน้ำในบ้านด้วย อัตรารายจ่ายเลยต้องมีร่ายจ่ายทางอ้อมขึ้นมาด้วย

ช่วงมีรายได้2
ช่วงถัดมา ผมได้รับการปรับเงินเดือนอย่างรุนแรงจากหัวหน้าผม เลยสามารถใช้จ่ายได้เต็มที่ แต่ช่วงนี้ผมยังไม่สนใจรายจ่ายฟุ่มเฟือยมาก เลยรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายทางตรงเลย นอกนั้น ด้วยที่ตัวเองโดนบังคับให้ประหยัด และการปลูกฝัง ฝึกฝนและผ่านวิกฤตชีวิต ทำให้วินัยการเงินผมแข็งแกร่งอย่างดี ผลก็คือ รายจ่ายเพื่อลงทุนจึงอยู่ในระดับสูง และช่วยให้ตัวพอร์ตมันเลี้ยงดูแลตัวเองได้ระดับนึงครับ

ช่วงแม่เกษียณ พ่อป่วย
ช่วงนี้ คือ เวลาปัจจุบัน หลังจาก ตุลาคม 2555 แล้ว คุณแม่ผมก็ได้อายุครบ 60 ปี ก็ได้เวลาเริ่มพักผ่อนของคุณแม่แล้ว พอผ่านมาได้สัก 3 เดือน คุณพ่อที่ป่วยอยู่ปกติแล้ว ก็มีอาการทรุดลง ด้วยแผลกดทับ ปอดติดเชื้อ ทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลและมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
ผมเนื่องจากปกติแล้ว ไม่ได้ให้เงินคุณแม่เลยเนื่องจากแม่มีรายได้ระดับนึง เลยต้องกลับมาช่วยคุณแม่ด้วยรายจ่ายฉุกเฉิน ให้เงินเพื่อลดรายจ่ายคุณแม่เช่น ค่านม ค่ายา ค่าหมอ

โดยส่วนตัวผม ก็ต้องยอมรับว่าเครียดมากขึ้น เลยต้องแบ่งเงินเพื่อค่าใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยออกมาเฉพาะ เพื่อซื้อของเล่น ฟิกเกอร์ หนังสือศิลปะโดยเฉพาะ จากเมื่อก่อนที่แบ่งมาจากในค่าใช้จ่ายทางตรงและลงทุน ได้เห็นเงินที่สามารถใช้ได้ออกมาเลย
ส่วนที่จะกระทบหนักสุดคือ ค่าใช้จ่ายเพื่อลงทุนที่ต้องลดมา แต่พอดีกับ พอร์ตตอนนี้เริ่มเลี้ยงตัวมันเองได้พอดี เลยไม่ต้องเร่งให้มันโตมากเท่าไร รวมทั้งไม่มีไอเดียในการลงทุนด้วย ณ ตลาด P/e19 กว่า เลยอาจจะเรียกว่า โชคดีไป

นี้คือภาพคร่าว ในแต่ละช่วงของผมนะครับ โดยปรกติ แผนรายจ่ายนั้น สำหรับผมความที่เรียกว่ามีวินัยการเงินสูง ส่วนของค่าใช้จ่ายทางตรง ทางอ้อม นั้นจะไม่เกินหรอกครับ ส่วนใหญ่จะซ้ำเป็นรูปแบบที่คาดการณ์ด้วยซ้ำ ส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อลงทุนและฟุ่มเฟือย นั้นส่วนใหญ่จะส่วนทางกัน คือตัวหนึ่งเพิ่ม อีกตัวต้องลด ถ้าให้ดีต้องดูแลอย่าให้ไปเบียดเบียบค่าใช้จ่ายประจำวัน

และสุดท้ายค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเป็นเรื่องคาดการณ์ลำบาก เพราะอยู่นอกเหนือคาดการณ์ ต่อไปผมอาจต้องจ่ายลงไปในค่าประกันชีวิต ประกันภัยด้วยซ้ำ แต่บางทีผมก็เจอบางกรณีประกันไม่ครอบคลุม เช่น ฟันแตก ก็ต้องจ่ายเงินด้วยอยู่ครับ ถ้ามีตัวอย่างก็เช่น น้ำท่วมปี 2554 เงินฉุกเฉินต้องนำไปใช้หมดในการทำบ้านครับ

นอกนั้นถึงเวลาจริงๆ ก็อาจมีการโยกงบบ้าง อะไรบ้าง ก็ถือเป็นเรื่องวินัยการเงินของแต่ละท่านแล้ว แต่ให้ดี อย่าไปโยกย้ายเลย ให้เงินมันอยู่ของมันใช้จ่ายไปตามเรื่องของมัน

หลังจากนี้ ถ้าผมใช้ชีวิตปกติ คือ มีแฟน แต่งงาน มีลูก เกษียณ อัตรารายจ่ายแต่ละช่วงก็คงไม่เท่ากัน และจำนวนรายได้ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละช่วงด้วย

แผนรายจ่ายของผมเรียกว่าเป็นแผนระยะสั้น เดือนต่อเตือน เปลี่ยนแปลงเมื่อมีปัจจัยในชีวิตเปลี่ยนแปลงครับ ลองเอาไปปรับใช้ในชิวิตแต่ละท่านได้ น่าจะได้ประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ
สุดท้ายผมขอให้ผู้อ่านของผม มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยและรายจ่ายฉุกเฉินครับ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin

บันทึกการลงทุน 06/11/2023

บันทึกการลงทุน 05/10/2557 ว่าด้วยหนังสือการลงทุน