สูตรดอกเบี้ยทบต้น Compound Interest formula และ ค่าเสียโอกาส opportunity cost

ผมเคยเขียนเรื่องดอกเบี้ยทบต้นไปแล้วครั้งนึ่ง ที่http://gkenginvest.blogspot.com/2012/09/blog-post.html ซึ่งตอนนั้นผมไม่ได้วิธีคิดว่ามันมาอย่างไร

ซึ่งดอกเบี้ยทบต้น เป็นการคิดเรื่องผลตอบแทนแบบง่าย ซึ่งสูตรก็ดังนี้นะครับ

เงินต้น * (1*อัตราดอกเบี้ย%)^จำนวนปี

สมมุตินะครับ ว่าผมอยากรู้ว่าผมฝากดอกเบี้ย 5% ในเงินต้น 10,000บาท ใน 4 ปี จะได้เท่าไร

ก็นำมาเข้าสูตรเลยครับ

10,000*(1.05)^4

ก้ได้ 12,155.06 บาท ครับ

พวกนี้ผมใช้เรื่องต้นทุนค่าเสียโอกาสตามวิชาเศรษฐศาสตร์นะครับ สมมุติถ้าเราเอาเงินก้อนนึงไปทำอะไร ไม่ว่าจะมีสาระ หรือ ไม่มีสาระก็ตาม

เราลองเอา อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก หรือ ฝากประจำ มาคำนวณดูเล่นๆ ก็ได้ครับ ว่าเราเอาเงินไปทิ้ง วา่ผ่านไปกี่ปี ได้เงินเท่าไร และลองเปรียบเทียบกับสิ่งท่เราจะใช้ดู

สมมุติ ตัวอย่าง

ท่านพ่อ ท่านแม่ ส่งเราไปเรียน มหาลัย เดือนละ 8000บาท + ค่าเทอม ปีละ 40000 บาท เป็นจำนวน 4 ปี

ค่าเทอม 4 ปี 40000 * 4 = 160000

เงินเดือน 8000*12*4 = 384000 

รวมแล้วได้ เท่ากับ 384000+160000 = 544000

ต้นทุนส่งเราจบ ปริญญาตรี ครับ

ในกรณีที่พ่อแม่เอาเงินก้อนนี้ไปฝากดอกเบี้ย 3%  สูตรดังนี้ครับ 544000 * (1.03)^4..

ท่านจะได้ 612276.79264 นี้ไปซึ่งดอกเบี้ยคือ 68276.79 บาท

อันนี้คือค่าเสียโอกาสแบบง่ายๆ ที่พ่อแม่ท่านสละให้เรา ในกรณีที่พ่อแม่ไม่รู้ว่าจะหาการลงทุนที่ดีกว่าฝากประจำได้ไงนะครับ

ยกตัวอย่างนี้มาผมแค่อยากให้น้องๆ ที่ผ่านมาอ่านได้ตั้งใจเรียน ไม่แรงพ่อแม่ส่งมาเรียนครับ ถ้าอยากรู้ลองเปลี่ยน ผลตอบแทนเป็นอัตราอื่นที่สูงกว่าดอกเบี้ยฝากประจำดูนะครับ เช่น 12% ในกรณีที่ลงทุนหลักทรัพย์ได้แบบเฉลี่ยจำนวนคือ 311994 เกือบเท่ากับ เงินเดือนที่ท่านจ่ายให้เราเลยนะครับ


สุดท้ายก็ของให้บทความนี้ให้ประโยชน์กับทุกท่านนะครับ

อ่านรายละเอียด เพืิ่มเติมของการคำนวณ ได้ที่นี้นะครับ http://gkengmath.blogspot.com/2013/04/how-to-calculate-compound-interest.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย NP ของตลาดหลักทรัพย์

StarfishX: สำหรับการดึง SET data

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin