บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2015

บันทึกการลงทุน 09/10/2558 1400อีกครั้ง

รูปภาพ
กลับมาอีกครั้งนะครับ 1400 โดยรวมคือ ราคาน้ำมัน กับ ดอกเบี้ยของ Fed รอบนี้ขึ้น จริงจังเหมือนกัน เพราะนำด้วยหุ้น Set50 หลายตัวมาก ก่อรขัยนหน้าผมยังคิดว่า มันต้องลง ต่อ แต่คงคิดผิดละครับ  เอาเป็น ลุ้นงบไตรมาสสามกันอย่างเด็มทีดีกว่า ด้วย P/E 18.66 เท่าผมว่า มันโครตสูงเลยครับ ถ้ากำไรไม่ขยับตาม คงยืนไม่นาน แต่ถ้า P/E เหลือ สัก 16 เท่าก็น่าสนใจอีกครั้งนะครับ ขอให้ กำไรขยับ โขคดีในการลงทุนครับ

เรื่องเล่าผ่านงบการเงิน: ขาดทุนที่รัก (Unprofitable lover)

เรื่องเล่าผ่านงบการเงินน่าจะเป้น ซีรีย์ใหม่ของบทความผมนะครับ ต่อจาก บันทึกการลงทุน และแผนปลดหนี้แม่ พออ่านงบมาหลายปีๆ และปีหลังๆ ที่เริ่มเรียนกับอาจารย์สรรพงษ์ ผมเริ่มอ่านได้คล้ายๆ อ่านหนังสือ ทำให้เจออะไรบางอย่างทีเก็บมาเล่าสู่กันฟังได้บ้าง บทความนี้ชื่อ ขาดทุนที่รัก (Unprofitable lover) จะพูดถึงบริษัทบางประเภทที่อ่านงบแล้วจะเจอ หน่วยธุรกิจ Business unit หรือ บริษัทลูกที่เป้นงบรวมแล้ว กำไรลดลง ซึ่งมาจากมีบางหน่วยงานที่ทำรายได้และต้นทุนขายหรือบริการสูงกว่า รายได้ที่ทำ กำไรที่ผมพูดถึงในบทความนี้คือ Gross profit นะครับ คือ แค่ทำธุรกิจ เอ็งก็ขาดทุนแล้ว ผมเห็นจาก บริษัท IT ขนาดกลาง และ บริษัทค่ายมีอถือค่ายหนึ่ง ในตลาดมีลักษณะคล้ายแบบนี้ คือ เมื่อก่อนบริษัทลูกขาดทุนต่อเนื่องทุกๆปี กับ ธุรกิจหนึ่งของบริษัททำรายได้ได้ประมาณ 15-20% แรกๆ ก็ กำไรขั้นต้น Gross profit มันก้ยังมีกำไร ทำไปมา เริ่มเท่าทุน และสุดท้ายขาดทุน แต่ภาพรวมกำไรสุทธิยังได้กำไรอยู่ แต่เฉพาะหน่วยธุรกิจนี้ดันขาดทุน โดยทั่วไป ตั้งแต่ VI, Trader, ผู้บริหาร พ่อค้าแม้ขาย ยัน บุคคลธรรมดา ไม่มีใครชอบคำว่าขาดทุนหรอกครั...

วิธีกาวิเคราะห์บริษัทมหาชนของผม Ver 2558 ตอนที่ 1 จุดอ่อนในอดีตช่วงปี 2009 ถึง 2015

ยุคที่ Facebook ครองโลก Internet เป็นส่วนหนึ่งทำให้ผม update บทความ หรือ บ่นความลดลง แต่ผสมด้วยกับที่ปีนี่ผมลงเรียนกับ อาจารย์สรรพงษ์แทบเดือนละ 2 ครั้ง ทำให้ผมรู้สึกว่ายังไม่ค่อยพร้อมจะเคยเขียนบทความ เพราะอาจจะยังอยู่ในช่วงผสม ย่อย ความรู้ที่ได้รับมาใหม่ๆ ก่อน ซึ่งผมผ่านมา 10 เดือน ผมก็เริ่มจะทำพอเข้าใจสิ่งที่เป็นความรู้ต่อยอดมาแล้ว และผมก็เริ่มทำการเตรียมวิเคราะห์ข้อมูลใหม่นอกจากการแกะงบอย่างเดียว เมื่อก่อน แหล่งข้อมูลและเครื่องมือ 56-1 เพื่อเข้าใจบริษัทกว้างๆ วิธีใช้อ่านให้หมด (เครื่องมือเชิงคุณภาพ)  งบการเงิน โดยทำการวิเคราะห์ถอยหลังไปหลายปี เพื่อให้เห็น Trend และเลือกใช้เฉพาะตัวบัญชีที่แน่นอน (เครื่องมือเชิงปริมาณ) ซึ่งข้อเสียสมัยก่อนปี 2558 หรือก่อนเรียนกับอาจารย์สรรพงษ์ หลักๆ   ไม่ยืดหยุ่น ผมค่อนข้างยึดติดฟอร์มบัญชีของผมเองมากเกินไป จนไม่ได้มองภาพใหญ่ เช่น บางครั้ง บัญชีตัวใหญ่ๆ ที่สำคัญ นอกเหนือจาก เงินสด ทุนหมุนเวียน บางบริษัทมี บัญชีบางอย่างที่สำคัญกับทางบริษัท ผมจะไม่ได้วิเคราะห์ เรียกว่าไม่แตกฉ่าน ไม่ชำนาญ ด้านบัญชี อาจารย์สรรพงษ์ เคยบอกว่า "เวล...

การศึกษาการวิเคราะห์หลักทรัพย์ของผม ปิติ ชิตตระการ

รูปภาพ
ส่วนตัวผมเองได้สนใจหุ้นมาตั้งแต่ เด็กๆ เรียกว่า สมัยก่อนตอนเรียนมัธยมเลยก็ว่าได้ ตอนยุคก่อน 2538 ช่วงยุคบูมเศรษฐกิจไทยยุคเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย ผมได้ยินคุณอาเล่าถึงหุ้น กำไร การขาดทุนจากเล่นหุ้นก็สนใจ สมัยเรียน ม.ปลาย ก่อนเพื่อนมีเพจ กลางวัน เพจส่งข่าวมา ก็พูดกันเล่นๆ สนุกๆ จนถึงยุคต้มยำกุ้ง ภาพข่าวคนเจ๊งหุ้น เงินหายไปกับกองทุน ออกมาเยอะมาก จนทำให้ภาพความน่าสนใจของหุ้นเลือนหายไปกับยุคสมัย ตัวผมสนใจเรื่องอิสระภาพทางการเงินก่อนที่จะยุคหนังสือ Rich dad Poor dad ออก ตอนนั้นยังไม่มีคำนี้ ก็ทำให้ผมมองการฝากเงินกินดอก เป็นทางออกของความร่ำรวย แบบหนึ่ง จะวันที่หุ้นราชบุรีออกมา แม่ก็ให้ผมไปซื้อ โดยให้เงือนไขว่า ขาดทุนจะออกให้ ผมก็เลยไปซื้อ (ถ้าตอนนั้นไม่แม่ไม่บอกคงไม่สนใจ) สิ่งที่ได้คือ ปันผล ที่เยอะกว่า เงินฝากแน่นอน ซึ่งตอนมีหุ้นในติดตัวก็ดูเท่ละ สำหรับเด็กเศรษฐศาสคร์ในยุคนั้น ไม่มี Set steaming นะครับ ส่วนผม ก็มีแต่ใบหุ้นไม่มีพอร์ตนะครับ จนได้มาเรียนเกี่ยวกับหลักทรัพย์เต็มตอนปี 4 ที่สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย โครงการส่งเสริมนักลงทุนรุ่นใหม่รุ่นที่2 ได้มีโอกาสฟังตัว Top ของวงการยุคนั้น ...