เรื่องเล่าผ่านงบการเงิน: ขาดทุนที่รัก (Unprofitable lover)

เรื่องเล่าผ่านงบการเงินน่าจะเป้น ซีรีย์ใหม่ของบทความผมนะครับ ต่อจาก บันทึกการลงทุน และแผนปลดหนี้แม่ พออ่านงบมาหลายปีๆ และปีหลังๆ ที่เริ่มเรียนกับอาจารย์สรรพงษ์ ผมเริ่มอ่านได้คล้ายๆ อ่านหนังสือ ทำให้เจออะไรบางอย่างทีเก็บมาเล่าสู่กันฟังได้บ้าง

บทความนี้ชื่อ ขาดทุนที่รัก (Unprofitable lover) จะพูดถึงบริษัทบางประเภทที่อ่านงบแล้วจะเจอ หน่วยธุรกิจ Business unit หรือ บริษัทลูกที่เป้นงบรวมแล้ว กำไรลดลง ซึ่งมาจากมีบางหน่วยงานที่ทำรายได้และต้นทุนขายหรือบริการสูงกว่า รายได้ที่ทำ

กำไรที่ผมพูดถึงในบทความนี้คือ Gross profit นะครับ คือ แค่ทำธุรกิจ เอ็งก็ขาดทุนแล้ว

ผมเห็นจาก บริษัท IT ขนาดกลาง และ บริษัทค่ายมีอถือค่ายหนึ่ง ในตลาดมีลักษณะคล้ายแบบนี้ คือ เมื่อก่อนบริษัทลูกขาดทุนต่อเนื่องทุกๆปี กับ ธุรกิจหนึ่งของบริษัททำรายได้ได้ประมาณ 15-20% แรกๆ ก็ กำไรขั้นต้น Gross profit มันก้ยังมีกำไร ทำไปมา เริ่มเท่าทุน และสุดท้ายขาดทุน แต่ภาพรวมกำไรสุทธิยังได้กำไรอยู่ แต่เฉพาะหน่วยธุรกิจนี้ดันขาดทุน

โดยทั่วไป ตั้งแต่ VI, Trader, ผู้บริหาร พ่อค้าแม้ขาย ยัน บุคคลธรรมดา ไม่มีใครชอบคำว่าขาดทุนหรอกครับ ขนาดกฎของวอร์เรน บัฟเฟต ยังบอกว่า
"กฎข้อที่1 : ห้าม_ขาดทุน กฎข้อที่2 : ย้อนไปดู… กฎข้อที่1"

ยิ่งคนเล่นหุ้น หรือ ลงทุน เวลาเห็นตัวแดงๆ ก็ยังรู้สึกแย่เลย แล้วคนระดับผู้บริหารบริษัทระดับ Market Cap เกิน 5000 ล้าน ถึงหมื่นล้าน ความรู้ก็จบจากสถาบันดีๆ มีคณะกรรมการระดับหัวกะทิ จะไม่รู้สึกแย่ๆ รึ ถ้าเค้าเห็นว่าธุรกิจตัวเองดูแลอยู่ขาดทุน

สภาพที่เห็นส่วนใหญ่คือ บริษัทที่มีการขาดทุนแบบนี้อยู่ บรรทัดสุดท้ายยังไม่ถึงกับขาดทุนหรอกครับ แต่จะทำให้กำไรดูไม่งาม

ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ เป็น 
  • ธุรกิจเก่าทำมาก่อนหน้า จนขาดทุน และก็ทำธุรกิจใหม่ได้กำไร แต่ยังหาทางกำจัดออกไมไ่ด้ทีเดียว
  • ความตั้งใจของผู้บริหาร หรือ ผู้มีอำนาจของบริษัท
  • เอาไว้เป็นเหมือน แหล่งเรียกลูกค้า หรือ ไว้เสริมให้ธุรกิจหลักสามารถดำเนินงานได้ ความจริงพวกนี้ การขาดทุนเหมือนเป็นค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของธุรกิจหลัก แทนจะดีกว่า แต่ด้วยการลงบัญชีคงต้องเป็นแบบนี้ไป
เดี๋ยวแยกสาเหตุที่ผมเจอว่า จะมีผลอะไรกับหุ้นบ้าง

ข้อแรกนิ ถ้าหาเจอตั้งแต่ขาดทุน จนเป็นกำไร ผมว่าท่านน่าจะได้หุ้นหลายเด้งทีเดียว เพราะหมายถึง ธุรกิจ ภาพนี้คือ บริษัทขาดทุนและทำการย้ายธุรกิจจนกำไรและเยอะกว่า ธุรกิจเดิม บริษัทที่พลิกขาดทุนเป็นกำไรนี้ สภาพคือ เด้งแน่นอน 

ข้อสองนิ หนีให้ไกลอย่าไปยุ่ง เค้าตั้งใจจะโกงคุณ เราจะรอให้ กลต หรือ บาปกรรมลงทัณฑ์ผลที่เค้าทำไว้ก่อนได้นะ แต่กว่า ที่จะได้รับคงนานไป คุณมีโอกาสขาดทุนก่อน หรือ ไม่ก็โดนกลโกงทางการเงินที่เราตามไม่ทัน ถ้ารับได้ ก็เอาครับ แต่มาเจ็บใจทีหลัง ก็ทำใจนะครับ

ข้อสาม ความจริงผมมองสภาพนี้ เหมือน ต้นทุนธุรกิจรูปแบบหนึ่ง เราอาจต้องตั้งคำถามว่า ถ้าไม่มีไอ้ขาดทุนก้อนนี้ บริษัทจะดำเนินการดีขึ้นไหม ถ้าคำตอบคือ รายได้ลด Channel การเข้าถึงลูกค้าหายไป ก็ให้มันอยู่ไปเถอะครับ 

แต่ระวัง ขาดทุนพวกนี้เหมือน ต้นทุนคงที่อย่างหนึ่ง ถ้าธุรกิจหลัก มีรายได้หรือกำไรหด ตัวนี้จะเป็น ขาดทุนที่นักลงทุน สงสัยทันที ว่าจะมีทำไม

วิธีกำจัด ส่วนใหญ่ก็ให้ตัดขายธุรกิจนี้ทิ้ง หรือ ยุบไป บางบริษัทที่มีบริษัทลูกแนวนี้อยู่ ก็ขายทิ้งด้วยมูลค่า 0 บาท ก็เคยเห็นอยู่

แต่ถ้ายังรักบริษัทลูกแนวขาดทุนนี้อยู่ ก็ขอให้ดูว่ามี ค่านิยมอยู่ในงบแสดงฐานะทางการเงินรึไม่ เพราะ วันดีคืนดี ถ้าผู้ตรวจบัญชี ให้ปรับลดมูลค่า หรือ ตัดค่านิยมทิ้ง พวกนี้จะมีค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่มาทันที จะเกิดการลดมูลค่าด้วย  สินทรัพย์ลดจากค่านิยม  และ ค่าใช้จ่ายเพิ่ม ส่งผลให้เงินกำไรปีนั้นลดลง และ ควรจะทำให้กำไร และ เงินปันผล ปีนั้นน้อยลงด้วย

ซึ่งระยะยาว สินทรัพย์จะหาย ถ้าถึงขาดทุน ก็กระทบกับ กำไรสะสม ความแข็งแกร่งของบริษัทหายไป เยอะเหมือนกัน กับ เคสนะครับ

สุดท้าย ผมอย่างให้มองว่า มันมีได้มีเสีย ให้ตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบว่า "ทำไมถึงยอมขาดทุนเพื่ออะไรก่อน" และเราจะแนวทางการตัดสินใจว่า จะทำไงกับ บริษัท หรือ หุ้นตัวนี้ได้

ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย NP ของตลาดหลักทรัพย์

StarfishX: สำหรับการดึง SET data

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin