การศึกษาการวิเคราะห์หลักทรัพย์ของผม ปิติ ชิตตระการ

ส่วนตัวผมเองได้สนใจหุ้นมาตั้งแต่ เด็กๆ เรียกว่า สมัยก่อนตอนเรียนมัธยมเลยก็ว่าได้ ตอนยุคก่อน 2538 ช่วงยุคบูมเศรษฐกิจไทยยุคเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย ผมได้ยินคุณอาเล่าถึงหุ้น กำไร การขาดทุนจากเล่นหุ้นก็สนใจ

สมัยเรียน ม.ปลาย ก่อนเพื่อนมีเพจ กลางวัน เพจส่งข่าวมา ก็พูดกันเล่นๆ สนุกๆ จนถึงยุคต้มยำกุ้ง ภาพข่าวคนเจ๊งหุ้น เงินหายไปกับกองทุน ออกมาเยอะมาก จนทำให้ภาพความน่าสนใจของหุ้นเลือนหายไปกับยุคสมัย

ตัวผมสนใจเรื่องอิสระภาพทางการเงินก่อนที่จะยุคหนังสือ Rich dad Poor dad ออก ตอนนั้นยังไม่มีคำนี้ ก็ทำให้ผมมองการฝากเงินกินดอก เป็นทางออกของความร่ำรวย แบบหนึ่ง จะวันที่หุ้นราชบุรีออกมา แม่ก็ให้ผมไปซื้อ โดยให้เงือนไขว่า ขาดทุนจะออกให้ ผมก็เลยไปซื้อ (ถ้าตอนนั้นไม่แม่ไม่บอกคงไม่สนใจ) สิ่งที่ได้คือ ปันผล ที่เยอะกว่า เงินฝากแน่นอน

ซึ่งตอนมีหุ้นในติดตัวก็ดูเท่ละ สำหรับเด็กเศรษฐศาสคร์ในยุคนั้น ไม่มี Set steaming นะครับ ส่วนผม ก็มีแต่ใบหุ้นไม่มีพอร์ตนะครับ

จนได้มาเรียนเกี่ยวกับหลักทรัพย์เต็มตอนปี 4 ที่สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย โครงการส่งเสริมนักลงทุนรุ่นใหม่รุ่นที่2 ได้มีโอกาสฟังตัว Top ของวงการยุคนั้น เช่น ดร.นิเวศ, เอกพิทยา เป็นต้น ได้รู้จัก การลงทุนหุ้นแบบจริงจัง ไม่ใช่ ตามข่าว รู้จักทั้ง เทคนิค และ VI

ก็ที่นี้ละครับ ผมรู้จักวอเรน บัตเฟต จากดร.นิเวศ เนี่ยละครับ ต่อฟังแกพูดเเรื่อง VI ครั้งแรก มันเหมือนมีคนมาเปิดตาให้สว่าง ทันที จากนั้นอีก เป็ฯ 10 กว่าปี ผมใช้เวลากับมันมาเรื่อยๆ นะครับ

จุดเปลี่ยนคืออย่างคือ ตอนแรกผมอยากเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ แต่แม่นั้นไม่ยอมให้ทำงานด้านหลักทรัพย์ ก็เรียกว่าเป็นจุดเปลี่ยนจุดหนึ่งของอายุช่วง 20 เลย แต่ก้ได้เข้ากระทรวงการคลัง ตอนนั้นก็เริ่มมีโอกาสได้ศึกษางาน IT แต่งานอดิเรก คือ ศึกษาบัญชี กับ เทคนิค เอาจริงๆ บัญขีพกว่าจะเข้าใจคือ ตอนมาทำงาน IT แล้ว ซึ่งเป็นอีก 7 ปีทีเดียว

ทำให้เลือกอาชีพมั่วไปมา รวมถึงการเงินมีปัญหาทำให้ต้องออกจากตลาดหลักทรัพย์ไป ช่วง 2006 ทำให้ผมไม่ได้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หลักทรัพย์ต่อ

ซึ่งในอีก 2 ปีต่อมา หลังจากทิ้งเรื่องวิเคราะห์หลักทรัพย์ไปแล้ว ตอนนั้นไม่มีหนังสือวิเคราะห์หุ้นเท่าไร ผมเลยกะมาทิ้งความรู้ไว้ที่นี้ แต่ที่ไหนได้ความจริงควรเป็นจุดเริ่มต้นการกลับสู่วงการอีกรอบจะดีกว่า

ได้สนใจหลักทรัพย์ช่วงปี 2009 ผมเข้าใจมาเข้าใจบัญชีเบื้องต้นตอนทำงาน IT เนี่ยละครับ ตลก แต่ก็คือ ความจริง และเข้าใจงบกระแสเงินสดใน อีก ปีต่อมา

จากนั้น คงไม่ต้องบรรยาย เรื่องตลาดหุ้นในยุคปี 2009-2012 การวิเคราะห์ให้มันดูดี ไม่แย่ และ พื้นฐานจากบัญชีก็โตขึ้นจริง ด้วยทำให้การวิเคราะห์ดูดีจน มันดีเกินไป ไม่เคยมองว่ามันจะแย่ จนกระทั่งปี 2014 พื้นฐานก็แสดงความแข็งแกร่ง หุ้นกำไรดีๆ ก็ยอดขายลง ยอดขายไม่ลง อัตรากำไรก็ร่วง เรียกว่า พอร์ตผมก็มาขาดทุนอีกจนได้

จนปลายปี 2014 ผมเหมือนแอบกลับเหมือนปี 2006 คือจิตตกกว่าเดิม เพราะคิดว่าเก่งกว่ายุคนั้นแล้ว วิเคราะห์งบทุกตัวก่อนลงทุน ก็ยังแพ้ตลาด ยังขาดทุนอีก จนผมได้เจอกับ หนังสือแกะงบการเงินสไตล์ VI ของอาจารย์สรรพงษ์ ซึ่งผมไม่คิดจะซื้อ เพราะ หนังสือหุ้นยุคหลังมีแต่ซ้ำๆ เนื้อหาเดิมๆ แต่พอได้เปิดอ่าน ความซ้ำที่เหนือกว่า ทุกเล่มที่ผมเจอ อ่านจบทั้งเล่ม อยุ่ 2-3 รอบ ที่ร้าน หลายๆครั้ง ก็เลยยอมเสียตังซื้อมาจนได้
แกะงบการเงินสไตล์ VI
ภาพจาก se-ed
ความซ้ำที่เหนือกว่า ไม่ว่า จะเป็น งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และ อัตราส่วนทางการเงิน ผ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผมลองตามหาแกดู ก็ได้พบกับ Facebook แกได้เห็นว่ามีคอร์สสอนอยู่ ราคาไม่แพงถูกว่าคนปกติจัดไปด้วยแถมมี บุตเฟ่ โรงแรมอีก 2 มื้อ ผมก็เลยลองสมัครเรียนดู ตอนนั้น เงินเหลือ ต้นปี 2015

สุดท้ายก็เรียกว่าต้องไปปรับทัศนะคติการเงินใหม่หมดกับแกใหม่ตั้งแต่ต้น ด้วยพื้นฐานที่มีอยุ่แล้ว แต่ไปต่อยอดกับแก ทำให้นิยามคำว่า สืบการงบการเงิน งบการเงินบอกกิจกรรมได้ทุกอย่างและพอคาดการณ์ได้ว่า อนาคต จะเกิดไรขึ้น แม้จะไม่ทุกอย่าง แต่ก็เห็นภาพชัดเจนขึ้น

อาจารย์แกมีบทความดีๆ เยอะครับ อ่านได้จาก Facebook แก  https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul?fref=ts

ผมยอมรับว่า หุ้นที่เลือกนั้นก็ยังขาดทุนอยู่ แต่รู้สึกทำใจได้ว่า เกิดปัญหาอะไรกับหุ้นของเรา ซึ่งผมยังต้องพัฒนาต่อ

ซึ่งเกือบครบ 1 ปี ที่ผมเรียนมา ต่อไปใน Blog นี้ของผมคงจะทำเรื่องการวิเคราะห์อีกครั้ง ที่มาจากการย่อยความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาที่ได้รับมา

ขอให้โชคดีในการลงทุนนะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย NP ของตลาดหลักทรัพย์

StarfishX: สำหรับการดึง SET data

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin