วิธีกาวิเคราะห์บริษัทมหาชนของผม Ver 2558 ตอนที่ 1 จุดอ่อนในอดีตช่วงปี 2009 ถึง 2015
ยุคที่ Facebook ครองโลก Internet เป็นส่วนหนึ่งทำให้ผม update บทความ หรือ บ่นความลดลง แต่ผสมด้วยกับที่ปีนี่ผมลงเรียนกับ อาจารย์สรรพงษ์แทบเดือนละ 2 ครั้ง ทำให้ผมรู้สึกว่ายังไม่ค่อยพร้อมจะเคยเขียนบทความ เพราะอาจจะยังอยู่ในช่วงผสม ย่อย ความรู้ที่ได้รับมาใหม่ๆ ก่อน
ซึ่งผมผ่านมา 10 เดือน ผมก็เริ่มจะทำพอเข้าใจสิ่งที่เป็นความรู้ต่อยอดมาแล้ว และผมก็เริ่มทำการเตรียมวิเคราะห์ข้อมูลใหม่นอกจากการแกะงบอย่างเดียว
เมื่อก่อน แหล่งข้อมูลและเครื่องมือ
ซึ่งตอนต่อไป ผมจะพูดถึงเครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในปัจจุบันนะครบั
ซึ่งผมผ่านมา 10 เดือน ผมก็เริ่มจะทำพอเข้าใจสิ่งที่เป็นความรู้ต่อยอดมาแล้ว และผมก็เริ่มทำการเตรียมวิเคราะห์ข้อมูลใหม่นอกจากการแกะงบอย่างเดียว
เมื่อก่อน แหล่งข้อมูลและเครื่องมือ
- 56-1 เพื่อเข้าใจบริษัทกว้างๆ วิธีใช้อ่านให้หมด (เครื่องมือเชิงคุณภาพ)
- งบการเงิน โดยทำการวิเคราะห์ถอยหลังไปหลายปี เพื่อให้เห็น Trend และเลือกใช้เฉพาะตัวบัญชีที่แน่นอน (เครื่องมือเชิงปริมาณ)
ซึ่งข้อเสียสมัยก่อนปี 2558 หรือก่อนเรียนกับอาจารย์สรรพงษ์ หลักๆ
- ไม่ยืดหยุ่น ผมค่อนข้างยึดติดฟอร์มบัญชีของผมเองมากเกินไป จนไม่ได้มองภาพใหญ่ เช่น บางครั้ง บัญชีตัวใหญ่ๆ ที่สำคัญ นอกเหนือจาก เงินสด ทุนหมุนเวียน บางบริษัทมี บัญชีบางอย่างที่สำคัญกับทางบริษัท ผมจะไม่ได้วิเคราะห์ เรียกว่าไม่แตกฉ่าน ไม่ชำนาญ ด้านบัญชี อาจารย์สรรพงษ์ เคยบอกว่า "เวลาเราอ่านงบ ต้องแน่นนิยามและเนื้อหา" เมื่อก่อนผมแน่นแค่ภาพกว้าง เลยมีปัญหาต่อบัญชีที่บันทึกแปลกๆ ซึ่งธุรกิจบางอย่าง ไม่ได้มีแค่ เงินสด ทุนหมุนเวียน เท่านั้น อาจมีอะไรแปลกๆ ซ่อนอยู่อีก
- Valuationไม่เป็น เมื่อก่อนรู้ว่า บริษัทมี การเติบโตเร็ว หรือ มีความเสถียร แต่ไม่รู้ว่า ราคา หรือ Value เหมาะสมรึไหม ก่อนหน้าทำ Valuation ไม่แตกฉ่าน หรือ ไม่เหมาะสม เลยทำให้ไม่เชื่อการ Valuation เท่าไร แต่พอเรียนแล้ว ก็เชื่อว่า มันมีหลักการคำนวน ซึ่งมาคำนวนได้ และไว้อ้างอิงได้ ซึ่งตรงกับคำของ วอเรนต์ บัตเฟต ที่กล่าวไว้ว่า "จงซื้อบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม"
- ตัวเปรียบเทียบFinancial ratioไม่เหมาะสม พวกนี้คือการใช้ Financial ratio เมื่อก่อนผมรู้ว่ารู้หุ้นนี้ดี ไม่ดี ด้วยตัววัดไม่กี่ตัวและบางครั้ง ผมเลือกใช้ Financial ratio บางตัวผิดกับประเภทธุรกิจ และบางทีผมพยายามหาหุ้นที่สมบูรณ์แบบมากเกินไป เหมือนมนุษย์ปกติละครับ ต้องมีข้อเสียบ้าง บางครั้งข้อเสียนั้น มาจากธรรมชาติของธุรกิจเอง แต่ผมก็เหมารวมว่าหุ้นนั้นไม่ดี ซึ่งเป็นคำที่ว่า "รู้ว่าเราซื้อเพราะอะไร และขายเพราะอะไร"
- ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน งบบอกได้เยอะกว่าที่ผมเคยคิด แต่เราต้องหาสัญญาณให้เจอ ความเสี่ยงด้านดี และ ไม่ดี อาจมองหาได้เยอะในงบ ถ้าเราเข้าใจมัน ไม่ว่า ความเสี่ยงด้าน ต่นทุนที่จะเพิ่ม การลงทุนที่จะทำให้รายได้ที่จะเพิ่ม ตามที่ผู้บริหาร ให้ข่าวรึไม่ บางครั้ง เราอาจต้องรอพิสูจน์คำพูดหรือข่าว ด้วย งบการเงินไตรมาสถัดมา
- บ้าปันผลมากเกินไป ดูอย่างแรกคือ Div yield กี่% และย้อนหลังไปหลายๆ ปี บางครั้งจนลืมไปว่า มันไม่ได้โต การดำเนินงานมีปัญหา เหมือนจ่ายปันผล รอวันขาดทุน พวกเดินเรือ อาหารทะเล สารเคมี คล้ายๆ ข้อ 4
- มองในมิติงบการเงินอย่างเดียวหรือวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นหลักละเลยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ข้อนี้ถือว่า ตบหน้าเด็กเศรษฐศาสตร์อย่างผมเต็มที่ เพราะผมเป็นคนที่ทิ้งความรู้สายเศรษฐศาสตร์เพราะไม่เข้าใจถ่องแท้ในการแยกประเภทใช้งาน มุ่งหน้าเชื่อถือบัญชีเกินไป ทำให้พลาดข้อมูลเชิงคุณภาพไป หลายๆครั้งอย่างน่าเสียดาย ขนาด balanced scorecards ยังมีหลายมิติ ดังนั้นเราคงให้ความสำคัญที่งบ 100% คงไม่ได้เช่นกันครับ เพราะงบการเงินไม่ได้บอก สภาพตลาด อำนาจต่อรอง โดยตรง ทำให้เราลืมไปว่า สภาพที่เราเห็นอยู่มันจะถาวรรึไม่
นี้ก็คือการสรุปจุดอ่อนที่ผมมีในช่วงการวิเคราะห์งบก่อนหน้า ถึงปัจจุบัน จะปิดจุดอ่อนไปได้เยอะ แต่ก็ยังไม่ใช่เทพขนาดซื้อหุ้นไร้พ่ายนะครับ ตรงข้าม คือ ซื้อเมื่อไร ร่วงเมื่อนั้นมากกว่านะครับ ซึ่งก็ไปเป็นปัญหาว่า ก่อนหน้า ความรู้เท่าหางอึ่ง ดันกำไรเป็น 4-5 เด้ง ความรู้เต็มหัวเป้น ขาดทุนเละเทะ แต่ผมมก็ยังเชื่อสิ่งที่ผมทำคือ "ซื้อหุ้นที่ดี ไม่ล้ม แข็งแกร่ง น่าจะโตมากกว่า GDP และจ่ายปันผล"
ซึ่งตอนต่อไป ผมจะพูดถึงเครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในปัจจุบันนะครบั
ขอให้โขคดีในการลงทุนนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น