คณิตศาตร์ กับ การลงทุน
จากที่ผมเคยบอกเรื่องการลงทุนที่ใช้เหตุผลตัดสินใจไปแล้ว เครื่องมือการนำมาตัิดสินใจที่ดีตัวหนึ่งก็คือ ตัวเลขต่างๆ ซึ่งต่อไปผมคงได้เขียนพวกตัวเลขที่ใช้ตัดสินใจในการลงทุน
แต่วันนี้เรามาดูความสำคัญของตัวเลขกับการลงทุนก่อน
ความจริงตัวเลขในการลงทุนนั้น อาจเป็นของคู่กันเลย เพราะเวลาเราทำอะไรเกี่ยวข้องกับเงิน ก็จะมีตัวเลขด้วย เพราะ ตัวเงินเป็นอะไรที่สามารถนับได้ ไม่ใช่สิ่งที่นับไม่ได้
เวลาใครทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆ ต้องมีตัวเลขมาเกี่ยวข้องด้วยอยู่แล้ว
และตัวเลขนั้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะ สารารถบ่งบอกให้เราทราบได้ว่า เรามีการเปลียนแปลงแค่ไหน แล้วเปลี่ยนแปลงอย่างดีหรือไม่ดี เพิ่มขึ้น ลดลงอย่างไร
เช่น ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 500 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลง 1% SET Index ปรับตัวขึ้น 10 จุดเป็นต้น
ส่วนนี้เป็น การ + - * / ง่ายๆ แต่ก็ทำให้เราทราบสถานะภาพการลงทุนมากขึ้น ซึ่งตัวเลขนั้นบอกเราได้เป็นอย่างดี
แม้คณิตศาสตร์ในระดับสูงนั้น สามารถใช้พยากรณ์แนวโน้มต่างๆได้ ก็จริง แต่นั้นหมายถึง ความยากขึ้นของหลักคณิตศาสตร์ สมการที่วุ่นวาน สถิติจำนวนมากที่ชวนงง และ อื่นๆ ที่ยากเหลือเกิน แต่สุดท้ายต้องกลับมาคิดว่า เราจะใช้คณิตศาสตร์เพื่อการลงทุนในลักษณะไหน
ถ้าอยากรู้ มูลค่าเงินในอนาคต ก็ ใช้สูตร FV เพื่อสามารถค่าเงิน หรืออยากรู้ว่าอัตราตอบแทนใดใช้วัดจุดคุ้มทุน ก็ใช้ IRR เพื่อรู้ว่าเงินลงทุนเราจะคุ้มทุนเมื่อใด
แต่สำหรับผม ก็ แค่รู้ว่า การหา % ออกมาเท่าไร แค่นี้ ผมก็พอบอกได้ตัวเองได้แล้วว่า เราควรลงทุนอย่างไร
ซึ่งการเรียน คณิตศาสตร์แบบล้วนๆ ก็มี ทฤษฎีมากมายละ และการเรียนคณิตศาสตร์เพื่อทางธุรกิจเช่น บริหาร การเงิน การลงทุน และเศรษฐศาตร์นั้น ก็มีแค่ หยิบยืม ทฤษฎีส่วนเล็กๆ มาใช้อธิบายเรื่องเหล่านี้ แต่แค่นิดเดียว ก็ เรียนกันมากมายเหลือเกิน
เคยมีคนบอกว่า ถ้าอะไรที่พิสูจน์ด้วยคณิตศาตร์ได้ ก็เป็นความจริง
ซึ่งอะไรที่เราสามารถวัดได้ หรือทำให้เป้นตัวเลขได้ เราก็จัดการได้ง่ายขึ้น
สิ่งที่ต้องการบอก คือ เราควรจัดการการเงินของเราด้วยแนวคิดแบบคณิตศาสตร์มาช่วยเพราะมันสามารถช่วยจัดการ เพราะมีแนวคิดหลายอย่างที่แสดงเป็นคณิตศาตร์ หรือ นำตัวเลขต่างๆ มาช่วยในการตัดสินใจได้
สุดท้าย ก็อยากบอกว่ามนุษย์เรามักตัดสินใจอะไรด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล ตัวเลขเป็นเหตุผล แม้คณิตศาสตร์เป็นตัวบอกอะไรได้มากและเป็นสิ่งที่สมเหตุผลมากทีสุดในโลก แต่สุดท้าย ตัวเลขนั้น เป็นความจริงมากเกินไปจน มันอาจไม่สามารถตอบทุกอย่างในโลกความจริง แต่มันน่าเชื่อถือสูงขอให้ใช้วิจารณาณในการตัดสินใจ ผมอยากให้ตัวเลขเป็นแค่ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ดีเท่านั้น เพราะสุดท้ายคนที่ต้องตัดสินใจก็คือ คุณนะเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น