การบันทึกรายจ่ายแนวทางเพิ่มเงินออม
ผมเป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง ที่หารายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องแต่ใฝ่ฝันถึงอิสรภาพทางการเงิน เพื่อให้ได้กลับไปทำงานที่ตัวเรารัก โดยไม่ต้องใส่ใจเรื่องรายได้
เพราะฉนั้น เงินเดือนเป็นแหล่งที่มาของเงินลงทุน ซึ่งเงินลงทุนของผม ใช้จาก เงินออม
นี้คือประโยชน์ของเงินออมข้อหนึ่ง ที่ผมเห็นคือ นำเงินออม ไปใช้ในสิ่งที่เราต้องการ เช่นซื้อของที่เราอยากได้ โดยไม่ต้องมีภาระใดๆ
แต่สำหรับผม เงินออม ที่ผมนำไปใช้ คือ เงินลงทุน ซื้อสินทรัพย์ที่เพิ่มมูลค่าเร็วกว่า เอาเงินไปฝากในธนาคารอย่างเดียว
ในตอนนี้การลงทุนผม ได้ประมาณ ปีละ 10%-20% รวมปันผลประมาณ 7 % รวมๆ เฉลี่ยประมาณปีละ 25 %
แต่เงินออมผม ทำให้พอร์ตของผม โตได้ประมาณ 30% ต่อปี แต่ต่อไป คงต้องลดลง ด้วยพอร์ตการลงทุนที่โตขึ้น
สิ่งที่ผมพบในวงจรของมนุษย์เงินเดือนคือ
1 เดือนมีประมาณ 30 วัน
ใน 30 วัน คุณมีรายรับวันเดียว
แต่ใน 30 วัน มีรายจ่ายทุกวัน
ใครรู้ทั้งหมดบางว่า 30 วันที่เราจ่าย จ่ายไปกับอะไร และเท่าไร
ตามหลัก เงินออม หรือ หนี้สิน = รายได้ - รายจ่าย
ในวิธีการออมคนส่วนใหญ่ เหลือเท่าไรค่อยออม แต่สำหรับผมสมการ การออมคือ
0 = รายได้ - รายจ่าย - เงินออม
ทางสมการ ไม่ว่าจะบน หรือ ล่าง มีค่าเท่ากัน แต่ผมมองการออมเป็นรายจ่าย คือ ออมตั้งแต่วันแรกที่ได้รับเงินมา ซึ่งมาก หรือ น้อย ขึ้นกับ ***รายจ่าย
ดังนั้น วางแผน คาดการณ์รายจ่าย สำคัญมาก และ ถ้าสามารถควบคุมได้ ลดทอนได้ จะทำให้เงินออมมากขึ้น
ในการที่เราต้องการวัดค่า ได้ต้องมี ข้อมูลดิบ (Data) ที่นำมากลั่นกรองออกเป็น ข้อมูลที่ใช้งานได้ (Infomation)
http://gkengitm.blogspot.com/2009/05/data-vs-information-vs-knowledge.html อ่านเพิ่มเติมจากที่นี้นะครับ
เมื่อเรามีรายจ่ายเป็นข้อมูลแล้ว เราจะสามารถนำมาพิจารณาว่า อะไรที่เราควร ลดทอนได้ อันนี้ก็ขึ้นกับแต่ละบุคคลนะครับ บางคน รายจ่ายมากจริงๆ ด้วยสถานการณ์ทางครอบครัว ก็ต้องพยายามออมให้ได้มากที่สุดแค่นั้นละครับ
ส่วนตัวผม ปกติ สัดส่วนค่าใช้จ่ายหลักประมาณ ดังนี้ครับ
ค่ากิน 38%
ค่าเดินทาง 20%
ค่าน้ำ ค่าไฟ 17%
ค่าหนังสือ 10%
นอกนั้นรายจ่ายอื่นๆ หลายหมวดมารวมกัน
ซึ่่งดูแล้ว ผมสามารถลดการใช้ไฟในบ้านให้ได้ เดินทางด้วยรถเมล์ให้มากขึ้น กินให้ถูกลง ก็พอลดรายจ่ายเพื่อเป็นเงินออมได้ระดับหนึ่ง ส่วนรายละเอียดผมต้องไปหาวิธีอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้ทุกท่านที่บอกว่า ไม่สามารถออมได้ อย่างน้อย ก็เริ่มต้นด้วยการทราบการจ่ายเงินของเราก่อน เพื่อปรับลดส่วนใด แล้วนำมันมาเป็น เงินออม ที่สามารถทำงานให้เราได้ครับ
นี้ก็เป็น เทคนิคการออม ง่ายๆ แต่ต้องทำจริง อีกแบบหนึ่งครับ
สุดท้าย ความเป็นจริงง่ายๆ รายได้คงที่ รายจ่ายลด เงินออมเพิ่ม
โชคดีในการบริหารจัดการเงินออมและรายจ่ายนะครับ
เพราะฉนั้น เงินเดือนเป็นแหล่งที่มาของเงินลงทุน ซึ่งเงินลงทุนของผม ใช้จาก เงินออม
นี้คือประโยชน์ของเงินออมข้อหนึ่ง ที่ผมเห็นคือ นำเงินออม ไปใช้ในสิ่งที่เราต้องการ เช่นซื้อของที่เราอยากได้ โดยไม่ต้องมีภาระใดๆ
แต่สำหรับผม เงินออม ที่ผมนำไปใช้ คือ เงินลงทุน ซื้อสินทรัพย์ที่เพิ่มมูลค่าเร็วกว่า เอาเงินไปฝากในธนาคารอย่างเดียว
ในตอนนี้การลงทุนผม ได้ประมาณ ปีละ 10%-20% รวมปันผลประมาณ 7 % รวมๆ เฉลี่ยประมาณปีละ 25 %
แต่เงินออมผม ทำให้พอร์ตของผม โตได้ประมาณ 30% ต่อปี แต่ต่อไป คงต้องลดลง ด้วยพอร์ตการลงทุนที่โตขึ้น
สิ่งที่ผมพบในวงจรของมนุษย์เงินเดือนคือ
1 เดือนมีประมาณ 30 วัน
ใน 30 วัน คุณมีรายรับวันเดียว
แต่ใน 30 วัน มีรายจ่ายทุกวัน
ใครรู้ทั้งหมดบางว่า 30 วันที่เราจ่าย จ่ายไปกับอะไร และเท่าไร
ตามหลัก เงินออม หรือ หนี้สิน = รายได้ - รายจ่าย
ในวิธีการออมคนส่วนใหญ่ เหลือเท่าไรค่อยออม แต่สำหรับผมสมการ การออมคือ
0 = รายได้ - รายจ่าย - เงินออม
ทางสมการ ไม่ว่าจะบน หรือ ล่าง มีค่าเท่ากัน แต่ผมมองการออมเป็นรายจ่าย คือ ออมตั้งแต่วันแรกที่ได้รับเงินมา ซึ่งมาก หรือ น้อย ขึ้นกับ ***รายจ่าย
ดังนั้น วางแผน คาดการณ์รายจ่าย สำคัญมาก และ ถ้าสามารถควบคุมได้ ลดทอนได้ จะทำให้เงินออมมากขึ้น
ในการที่เราต้องการวัดค่า ได้ต้องมี ข้อมูลดิบ (Data) ที่นำมากลั่นกรองออกเป็น ข้อมูลที่ใช้งานได้ (Infomation)
http://gkengitm.blogspot.com/2009/05/data-vs-information-vs-knowledge.html อ่านเพิ่มเติมจากที่นี้นะครับ
เมื่อเรามีรายจ่ายเป็นข้อมูลแล้ว เราจะสามารถนำมาพิจารณาว่า อะไรที่เราควร ลดทอนได้ อันนี้ก็ขึ้นกับแต่ละบุคคลนะครับ บางคน รายจ่ายมากจริงๆ ด้วยสถานการณ์ทางครอบครัว ก็ต้องพยายามออมให้ได้มากที่สุดแค่นั้นละครับ
ส่วนตัวผม ปกติ สัดส่วนค่าใช้จ่ายหลักประมาณ ดังนี้ครับ
ค่ากิน 38%
ค่าเดินทาง 20%
ค่าน้ำ ค่าไฟ 17%
ค่าหนังสือ 10%
นอกนั้นรายจ่ายอื่นๆ หลายหมวดมารวมกัน
ซึ่่งดูแล้ว ผมสามารถลดการใช้ไฟในบ้านให้ได้ เดินทางด้วยรถเมล์ให้มากขึ้น กินให้ถูกลง ก็พอลดรายจ่ายเพื่อเป็นเงินออมได้ระดับหนึ่ง ส่วนรายละเอียดผมต้องไปหาวิธีอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้ทุกท่านที่บอกว่า ไม่สามารถออมได้ อย่างน้อย ก็เริ่มต้นด้วยการทราบการจ่ายเงินของเราก่อน เพื่อปรับลดส่วนใด แล้วนำมันมาเป็น เงินออม ที่สามารถทำงานให้เราได้ครับ
นี้ก็เป็น เทคนิคการออม ง่ายๆ แต่ต้องทำจริง อีกแบบหนึ่งครับ
สุดท้าย ความเป็นจริงง่ายๆ รายได้คงที่ รายจ่ายลด เงินออมเพิ่ม
โชคดีในการบริหารจัดการเงินออมและรายจ่ายนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น