ว่ากันด้วยเศรษฐศาสตร์กับการซื้อขายหุ้น: กลไกตลาด

กลไกตลาดเป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์ในบทแรกๆ ที่เราต้องรู้จักเลย ซึ่งตลาดที่เราใช้อธิบายทฤษฎีพฤติกรรมวิชาเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะใช้ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งเป็นอุดมคติของมนุษย์ โดยความเป็นจริงเรียกว่าแทบไม่มีถ้าเกิดขึ้นได้บนโลกแห่งความจริง แต่สำหรับผมมันเป็นวิธีใช้อธิบายพฤติกรรมมนุษย์ได้ชัดเจน


โดยหลังรู้จักว่า Demand Supply หรืออุปสงค์แบะอุปทาน ก็จะมาเกิดตลาดได้ โดยตัวแปรที่เกิดและใช้อธิบายคือ ราคา และ ปริมาณ


ตามโมเดลของตลาดจะบอกเราว่า ราคาเท่านี้ จะมีปริมาณการซื้อขายเท่าไร


Demand หรือ อุปสงค์ใช้อธิบายความต้องการซื้อ โดยอธิบายว่า

กรณีที่ราคาสูงขึ้น ปริมาณจะลดลง
ส่วนกรณีตรงข้ามราคาต่ำลง ปริมาณจะเพิ่มขึ้น


Supply หรือ อุปทานใช้อธิบายความต้องการขาย โดยอธิบายว่า
กรณีที่ราคาสูงขึ้น ปริมาณจะสูงขึ้น
ส่วนกรณีตรงข้ามราคาต่ำลง ปริมาณจะลงลด


ก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ปกติอยู่แล้วนะครับ ถ้าเราอยากซื้ออะไร มันแพงเราก็ซื้อมันได้ปริมาณน้อย แต่ถ้ามันราคาถูก ก็ได้ปริมาณมาก ซึ่งใน ณ เดียวกัน ถ้าเราขายของก็ถ้าราคาแพง ก็อยากขายเยอะๆ


แต่กลไกตลาดจะเป็นตัวจัดสมดุล โดยสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าเหมาะสมที่สุด คือ จุดดุลยภาพ คือจุดที่ ราคาและปริมาณ เป็นจุดที่พอดีกับ Demand และ Supply พอดี โดยกลไกขับเคลื่อน เรียกว่ามือที่มองไม่เห็น


โดยความเป็นจริง ไม่ว่า Demand หรือ Supply ที่ใช้อธิบายตลาด จะมีมิติของเวลามาเกี่ยวข้องด้วย ถึงเวลาจริง กลไกตลาดมันจะทำงานไม่หยุด และจะวิ่งเข้าจุดดุลยภาพตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้ วิ่งเกินจากจุดดุลยภาพ หรือ ขาดไป ทำให้ตลาดมีการเคลือนไหวตลาดเวลา


ซึ่งในตลาดมีแค่ผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งเดี่ยวมาดูกันครับ ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย NP ของตลาดหลักทรัพย์

StarfishX: สำหรับการดึง SET data

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin