บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2010

การออมกับการลงทุน : ผลตอบแทนของทุน

การลงทุนในทางเศรษฐศาสตร์ได้อธิบายว่า ทุน เป็นปัจจัยการผลิต 1 ใน 4 ในทางเศรษฐศาสตร์ได้กล่าวไว้ ซึ่งทุนในเศรษฐศาสตร์นั้นกว้างกว่าคำว่าเงินอย่างเดียว และกว้างกว่าทุนของบัญชี ซึ่งหมายรวมถึง เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต และอื่นอีกสารพัดด้วย แต่เวลาทั้งทุนที่ไม่สามรถจับต้องได้ เช่น เวลา ทุนมนุษย์ ค่าเสียเวลา ต้นทุนอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทุนนั้นในวิชาเศรษฐศาสตร์ให้ผลผลตอบแทนเป็น ดอกเบี้ย (interest) ส่วนผมถ้ามองคำว่าทุนกว้างนั้น ผลตอบแทนจะเป็นอื่นๆ มากกว่าดอกเบี้ยนะครับ เช่น ทุนมนุษย์ เครื่องจักรการผลิต ดังนั้น ผมอาจใช้ผลตอบแทนที่เป็น เงินกำไร ดอกเบี้ย หรือ อรรถประโยชน์ควบคู่กับการอธิบายไปด้วย ในวิชาเศรษฐศาสตร์สอนไว้อย่างอีกการเปรียบเทียบเพื่อเลือก ถ้าคุณนำเงินลงทุนไปทำไรอย่าง อาจได้ผลตอบแทนแบบไหนมากสุด เช่น นำเงินไปเรียนปริญญโท กับ เอาเงินไปฝากธนาคาร แน่นอนผลระยะสั้นอาจชัดเจน ว่าเงินฝากธนาคารต้องให้ผลตอบแทนดีกว่า แต่เรายังมีเรื่อง อรรถประโยชน์มาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น การนำเงินทุนไปใช้ไร้สาระอาจให้ผลอรรถประโยชน์สูดสูงมากกว่าการนำเงินไปลงทุนก็ได้ ซึ่งเป็นทฤษฎีการอธิบายความใช้เงินเพื่อความพึงพอใจอย่า

P/E ratio

อัตราส่วนทางการเงิน ตัวแรกๆ ที่ผมรู้จัก คือ ตัว PE ratio เนี่ยละครับ ซึ่งใช้ง่ายประกอบกับราคาหุ้น และสามารถอธิบายความถูกแพงของหุ้นได้ดีระดับหนึ่ง แถมเป็นอัตราส่วนทางการเงิน ที่นิยมไม่ว่าจะ หนังสือพิมพ์ หรือ เว็บตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ต้องมีครับ ซึ่งความแพร่หลายผมจึงค้นคว้า นำมาเขียนให้อ่านกันดูครับ Price to Earnings Ratio เป็นชื่อเต็มของ P/E Ratio หรือ P E Ratio ประกอบด้วย ตัวเลข 2 ตัว คือ P กับ E Price คือราคาของหลักทรัพย์ Earnings กำไรต่อหุ้น P/E ratio เกิดจากการนำ ราคา/กำไรต่อหุ้น ทำให้เราเห็นถึงราคาเมื่อเทียบกับกำไรว่าเป็นอย่างไร ซึ่งสะท้อนศักยภาพหุ้นได้ดีระดับนึงครับ ซึ่งผมไปเจอกระทู้นึงใน ThaiVi เขียนเกี่ยวกับ P/E ratio ไว้น่าสนใจมา เลย ขอคัดลอกมาให้อ่านครับ --------------------------------------------------- http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=3797 จาก Analyzing Companies and Valuing Shares PE เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและมีประโยชน์ในการคิดหามูลค่าหุ้น ( valuation ) วิธีคำนวณ ก็ เอาราคาหุ้น (price) หารด้วย กำไรต่อหุ้น(earning per share) ค่าที่ได้ก็จ

เงินเย็น เงินที่เหมาะสมกับการลงทุน

มีคนหลายคนชอบถามผมว่า "กูมีเงินอยู่ XXXXX บาท จะมาลงทุนเลยดีไหม" หรือ ลงทุนเท่าไรดี คำตอบของผมจะเป็นคำถามกลับไปว่า "ต้องใช้เงินก้อนนี้เมื่อไร" หรือ "พรุ่งนี้เงินก้อนนี้หายไปเลยจะทำใจได้มากแค่ไหน" อย่างที่เคยกล่าวว่า "ความเสี่ยงจะเคียงข้างคุณตลอดการลงทุน" ถ้าเอาเงินจากไหนมาลงทุนในหลักทรัพย์ เงินก้อนนั้น ควรเป็นเงินเย็นครับ ความจริงเป็นคำแรกๆ ตั้งแต่หัดศึกษาการลงทุนครับ เงินเย็น คือ อะไร สำหรับผมเงินเย็นคือเงินที่ไม่มีต้นทุนและภาระแล้ว ซึ่งต้นทุนคือ ดอกเบี้ยจากการกู้ ส่วนภาระคือ ไม่ต้องใช้ก็ได้ เงินพวกนี้ถือเป็นสุดยอดแหล่งทรัพยากรที่นำมาแปลงสภาพเป็นการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเงินเหลือ หรือ เงินออมนั้นเองครับ แม้บางคนอาจนำเงินที่ไม่ใช้เงินเย็น เช่น เงินกู้ เงินที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน มาลงทุน ซึ่งก็ทำได้ในทางปฎิบัติ แต่ในระยะยาว เงินพวกนี้จะมีข้อจำกัดบางอย่าง โดยเฉพาะเมื่อเราขาดทุนครับ สำหรับผมจึงเป็นแหล่งเงินที่ลำบากในการบริหาร ทำให้มีภาระการบริหารและทางจิตใจมากขึ้น เงินเย็นมาจากไหน ส่วนใหญ่ ก็เป็นเงินออมละครับ หรือเงินที่ได้มาฟรีๆ และไม่มีความจำเ

การออมกับการลงทุน : เงินทุนเกิดมาจากไหน ภาคประชาชนสามัญ

ก่อนหน้าเราพูดถึงแหล่งที่มาของเงินทุนขององค์กร บริษัทต่างๆ ไปแล้ว บทความนี้ผมจะมาลองพูดเรื่องแหล่งเงินทุนแบบบุคคลทั่วไปบ้าง เหมือนเดิมครับมาจาการสังเกตุของผมเอง อาจถูกบ้างผิดบ้าง ผมก็น้อมรับความคิดเห็นที่แตกต่างครับ มาแบบแรกก่อน แหล่งที่มาของเงินทุนคือ พ่อแม่ให้ครับ พวกมีมรดกอยู่แล้ว ต้นทุนไม่มีเลย ขึ้นอยู่กับตัวท่านแล้วครับ ว่ามีความสามารถใช้ทุนนั้น ด้านการลงทุนให้งอกเงย หรือ ด้านการถลุงให้ชิบหายหมดไป พวกนี้เกิดมาน่าอิจฉามากครับ แต่ถ้าเลี้ยงกันไม่ดี สอนกันไม่ดี ก็คงเป็นภาระของพ่อแม่ครับ ต่อมาคือเหมือนกันทางบริษัทหรือองกรค์ คือกู้ครับ แต่ส่วนใหญ่จะต่างกับทางองค์กรครับ ในปัจจุบันมีธุรกิจมากมายเกี่ยวกับการกู้ส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด กู้แบบใช้รถ สารพัดครับ การกู้แบบบุคคล ถ้าพวกมีเงินเดือน หลักทรัพย์ ก็อาจไปกู้ง่าย แต่อาจเสียดอกเบี้ยแพงกว่ากู้แบบธุรกิจครับ ตามแต่ละเงื่อนไขของธนาคาร ส่วนกู้แบบแนวพื้นบ้านหน่อย ก็ อาจไปกู้นอกระบบ ดอกสูงลิ่ว แต่ก็จำเป็นต้องใช้ก็ต้องกู้ เสี่ยงกับการโดนทวงหนี้แบบนอกกฎหมาย ซึ่งเราก็เห็นตามข่าวบ่อยๆ ไปครับ วิธีหาทุนในการกู้อีกแบบคือ ยืมพ่อแม่

การออมกับการลงทุน : เงินทุนเกิดมาจากไหน ภาคองค์กร

เงินทุนเกิดมาจากไหน คำถามนี้ผมเองก็ไม่ค่อยแน่ใจเหมือนว่าจะตอบถูกไหม เพราะมันมาจากหลายแหล่ง และหลายผู้ใช้ แต่บทความนี้ผมจะลองมุ่งไปที่ทุนของทางองค์กร หรือ บริษัท ก่อนนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนส่วนตัว ส่วนบุคคล เงินกู้ กำไรของบริษัท ของประเทศ แต่จากที่ผมสังเกตุธรรมชาติของเงินทุน และจากปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ด้วยเกรดอันน้อยนิดของผม จากที่เคยสังเกตุคือ เงินทุนนำคือเงินที่นำไปใช้ไปลงทุนเพื่อให้ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมา ดังนั้น เงินทุน คือ เงินที่นำไปลงทุน ต้องได้ผลตอบแทน ไม่ว่ารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ดอกเบี้ย กำไร ความพึงพอใจ และ อรรถประโยชน์ เมื่อเราจะลงทุนอะไรส่วนใหญ่จะคิดเรื่องแรกคือ มี (เงิน)ทุนเท่าไร โดยส่วนใหญ่เงินจะบรรดาล อะไรมาได้ง่ายกว่าถ้าไม่มีเงินครับ ดังนั้นเราต้องการเงินมาทำทุนครับ ข้อสรุปง่ายๆ ที่ได้จากการสังเกตุและผสมๆกับวิชาความรู้เศรษฐศาสตร์ที่ผมเรียน ดังนั้นถ้าเป็นบริษัท เมื่อได้กำไร จะทำการปันผล กี่ % จากกำไรก็ว่ากันไปตามนโยบายของแต่ละบริษัท แต่ผมเองก็ไม่เคยเจอบริษัทไหนปันผล 100 % จากกำไร และอย่างวอร์เรน บัตเฟต ก็จะชอบมากสำหรับบริษัทที่ได้กำไรแต่ไม่ปันผลเลย ซึ่งจากข้อสัง

การออมกับการลงทุน : ภาพรวมที่เห็นชัดของเงินทุน

จากบทความก่อนหน้า ผมได้พูดภาพรวมกว้างของ การออม กับ ทุน ไปคร่าวๆนะครับ ในบทความนี้ผมจะพูดภาพกว้างของทุนกับเศรษฐกิจดูนะครับ บทความนี้ผมจึงนำเรื่องการลงทุนกับการออม มาแสดงความสัมพันธ์กัน ในภาคมหภาค ( Marco Economic ) ประเทศไทยเคยมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนทุน จึงจำเป็นที่ต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศเสมอ ซึ่งทุนในที่นี้หมายถึง เงินทุน นะครับ แต่อาจเป็นเรื่องปกติของโลกทุนนิยม ที่ประเทศไหนมี ทุน หรือ เงินทุนมากกว่าย่อมได้เปรียบ ประเทศไทยเลยต่อง้อคนต่างชาติเสมอ โดยเราสามารถเห็นได้จากทุกภาคส่วนของประเทศ ผมลองยกตัวอย่าง การเข้ามาของเงิน หรือ เงินทุน ที่ทำให้ประเทศเราเติบโตได้นะครับ ไม่ว่าภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการมาหาแรงงานมีทักษะ มีความรับผิดชอบ (ผมมองว่าเป็นจุดเด่นของแรงไทยในปัจจุบันนี้) ไม่ว่าจะเป็น วิศวะ IT บัญชี การเงิน ยัน แรงงานหัตถกรรม โดยต้องใช่ทุนจากต่างประเทศเพื่อมาจากแรงงาน พวกบริษัทต่างชาติก็จะนำเงินทุนเข้ามาในประเทศเราเพื่อใช้จ้างแรงงานเหล่านี้ (รวมทั้งผมเป็นหนึ่งในนี้ด้วย) ภาคต่อมาเห็นได้ชัดเจน ภาคตลาดเงิน เห็นได้ชัดจากตลาดหุ้นครับ ผมเคยกล่าวถึงนักลงทุนประเภท นักลงทุนต่างประเทศไปก่อ

การออมกับการลงทุน : Introduction Saving & Investment

ตอนนี้ blog การลงทุนของผม ก็เกือบจะครบปีแล้วนะครับ จากที่ตั้งใจว่าจะเขียนเป็นการเป็นงาน ลงแต่สิ่งที่ได้ค้นคว้า และ ศึกษามา แต่ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่หวังเท่าไร หลังๆ กลายเป็นแนวบ่นๆ ของการลงทุนผมซะมากกว่า ซึ่งเหมือนดูจากความตั้งใจตอนแรกแล้วก็ถือว่าออกมาไกลไปหน่อย แต่หลังๆ ผมกับชอบบทความนี้มากเกือบที่สุดของจำนวน blog ที่มี มาเข้าเรื่องในสิ่งที่ผมอยากบอกเล่าเกี่ยวกับ การออมกับการลงทุน เนื่องคำค้นหา ที่ Blog ผมจับไว้ได้จาก Google คือ คำว่า "การออม" ซึ่งผมเขียนไว้ 5 บทความเกี่ยวกับการออมใน Blog นี้ แต่กลับเป็นคำค้นหาสูงสุด นำกว่าเรื่องการลงทุนหรืออื่นๆ ที่ผมเขียนเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องดี อย่างน้อยแสดงว่าคนเริ่มให้ความสนใจกับการออมบ้างแล้ว เมื่อสมัยตอนผมเรียน มักจะเห็นอัตราการออมที่ต่ำต้อยติดดินมากของประชากรบ้านเรา แม้ผ่านมา 10 ปี ก็ยังน้อยอยู่แถมบางช่วงเวลาคนไทยมีหนี้สินมากเกินศักยภาพในการหาเงินมาชำระอีก เป็นสาเหตุให้ภาคเศรษฐศาสตร์มหาภาคแต่ความลำบากในการหาแหล่งเงินกู้ในประเทศ ส่วนเศรษฐศาสตร์จุลภาค รวมถึงการเงินส่วนบุคคลมีปัญหามารุมมากมาย ปัญหาการขาดเงินทุนนั้น ผมมอง

หุ้นปันผลสูงสุด 2553

วันนี้เป็นอีกวันที่ผมลองนั่งค้นหาหุ้นดีๆ ที่ว่าจะมาเก็บไว้ในพอร์ต ก็ไปเจอเว็บหนึ่งเก็บ สถิตไว้น่าสนใจ เลยลองเอามาฝากกัน โดยเป็นข้อมูลของเงินปันผล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2553 ซึ่งเป็นช่วงผ่านการปันผลรอบใหญ่มาแล้ว โดยเก็บข้อมูลอัตราปันผลสูง 100 ตัว ของปี2553 หรือ 2010 ครับ http://www.toro.in.th/721/%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%b8%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%94-2553.html เรื่องน่ายินดีคือ มีหุ้นผลติดอันดับต้นอยู่ 2-3 ตัว ถ้าเป็นตัววัดผล ก็ถือการคัดเลือกหุ้นของผลนั้นประสบผลสำเร็จระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ผมยังมองว่า แม้จะบอกอัตราปันผลที่ดี แต่การปันผลแต่ละปีนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ปัจจัยหลักคือ ผลประกอบการแต่ละปี ครับ ประสบการณ์การลงทุนของผม เคยเจอหุ้นที่ปันผลดีมาก เมื่อเทียบกับเงินต้น เกือบ 30 % แต่อีก 2 ปีต่อ ไม่เคยออกปันผลอีกเลย ซึ่งผลก็แนะนำว่าถ้าเลือกหุ้น ได้แล้ว ให้ไปอ่านปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ด้วยครับ

เครื่องหมาย NP ของตลาดหลักทรัพย์

วันนี้ผมเจอหุ้นผมตัวหนึ่งอยู่ๆ ก็ขึ้นเครื่องหมาย NP มาเฉยๆ ผมเลยต้องไปหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับหุ้นผม ซึ่งพอเค้าไปดูก็พบว่าจะมีการซื้อหุ้นเพื่อเทคโอเวอร์บริษัทที่ผมถือหุ้นไว้ ซึ่งคาดว่าเป็นสาเหตุทำให้ หุ้นผมต้องมีเครื่องหมาย NP เตือนนั้น ซึ่งในความหมายของ NP คือ Notice Pending บริษัทจดทะเบียน มีข้อมูลที่ต้องรายงานและตลาดหลักทรัพย์ อยู่ระหว่างรอข้อมูลจากบริษัท ซึ่งดูแล้วก็ไม่น่ามีปํญหาอะไรมาก โดยราคาก็วิ่งไปยาวๆระดับนึง ซึ่งต้องเรียกว่าเป้นผลดีกับผม เว้นแต่ผู้ถือหุ้นใหม่อยากเอาหุ้นออกจากตลาดนั้นละครับ ผมอาจต้องคิดกังวล ช่วงนี้เจอการซื้อหุ้นคืน เปลี่ยนเจ้าของบ่อยเหมือนกันครับ แต่ราคาก็ยังวิ่งดีอยู่ครับ โชคดีในการลงทุนครับ

การเล่นหุ้นในช่วงวิกฤต

ผมไม่เคยลงทุนในหลักทรัพย์ช่วงวิกฤตทางการเมือง โดยวิกฤตการเมืองรอบนี้ถึงขั้นการจราจลการเมือง ปิดราขประสงค์ ปิด BTS ไล่เผาเซ็นทรัลเวิลด์ตึกราม ห้องสมุดมารวย บ้านช่อง ปาระเบิดธนาคารกรุงเทพกี่สาขาแล้วก็ไม่รู้ ปล้น 7-11 และอื่นๆ อีกมากมาย ให้เก็บเรื่องพวกนี้ไว้ในเว็บการเมืองหรือเว็บบอร์ดที่ให้โอกาสพูดคุยถกเถียง หรือ Social network โดยอะไร แต่วิกฤตขั้นหนักๆ ได้แก่ช่วงพฤษาทมิฬ ในยุคนั้น ผมเคยอ่านหนังสือของ ดร.นิเวศ ดร.วิกรม แต่เนื่องจากมันแล้วผมจำไมได้ แต่ที่ผมรู้แน่นอน คือ หุ้นตกถล่มทลาย ในเหตุการณ์ปี 2535 แต่อย่าลืมว่า 2538 เป็นปีที่ตลาดหลักทรัพย์ไทยไปถึงจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ แม้ครั้งนี้ผมว่ามันเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่าครั้งไหน แต่ผมก็ยังเชือว่า แสงสว่างยังอยู่ที่ปลายทางครับ คราวนี้ที่สำคัญคือผมผิดพลาด ไปซื้อหุ้นเต็มพอร์ตวันที่แกนนำมอบตัว (ซื้อก่อนแกนนำมอบตัวด้วยครับ) แล้วเกิดการจราจลขึ้นมาในกรุงเทพ ตอนมอบตัวหุ้นก็วิ่งดีนะครับ แต่หลังจากนั้น ตลาดหุ้นปิดครึ่งเช้า (สัปดาห์นี้ ตลาดปิดบ่าย3ครึ่งตลอด) พร่งนี้คงปิดจนถึงวันจันทร์หน้า แล้วเหตุการณ์ต่างๆ ก็เกิดขึ้น รวมถึงตล

คำถามในกาซื้อกิจการของ Warren Buffett

วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน(Fundamental Analysis) ของ Warren Buffett ที่ผมเคยค้นพบในหนังสือ โดย Warren Buffett นั้น ให้ความสนใจตัวเลขในกิจการอยู่ไม่มากนัก นั้นคือ ยอดขายเท่าไร ยอดขายนั้นเป้นสิ่งที่ทำให้บริษัทมีเงินเข้ามา ถือเป็นรายได้ที่ควรเป็นรายได้หลัก และเป็นสิ่งพื้นฐานของบริษัทเลย ถ้ากิจการนั้นขายดีอย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่ากิจการนั้นยังอยู่ได้ ค่าใช้จ่ายเป็นเท่าไร ค่าใช้จ่ายนั้นถือเป็นต้นทุนทำธุรกิจ มีทั้งต้นทุนการผลิต และ ต้นทุนการขาย ซึ่งถ้าค่าใช้จ่ายนั้นสูง แน่นอนมันทำให้กำไรของบริษัทเรานั้นหดหายไปด้วย กำไรเบื้องต้นเท่าไร กำไรเบื้องต้นนั้น คือกำไรจากการกิจกรรมของบริษัทนั้นจริงๆ ทำให้เราทราบถึงประสิทธิภาพการบริหารงานจริงๆ ของบริษัทนั้นๆสามารถบริหารงานได้ดีแค่ไหน ถ้ากำไรเป็น การขาย - ต้นทุน ก็จะทำให้ทราบได้ว่าเราควร เพิ่มการขายให้สูง และ ลดต้นทุนให้ต่ำ เป็นสิ่งที่บอกคุณภาพของบริษัทได้อย่างดี สินค้าคงคลังเป็นไงบ้าง สินค้าคงคลังนั้น เป็นตัวบอกความสามารถในการขายได้อย่างดี และสามารถบอกได้ถึงการวางแผนการผลิตของบริษัทนั้นๆ ว่าดีแค่ไหน ถ้าสินค้าคงคลังมีเยอะเกินไป ทำให้ต้นทุนขอ

การประชุมผู้ถือหุ้น

เมื่อเราได้ถือหุ้นหรือได้ลงทุนซื้อหุ้นบริษัทไหนมา นั้นเท่ากับเรามีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของบริษัทนั้นได้( แม้ว่าเราไม่เคยสามารถเอาไปเบ่งกับอะไรได้ก็ตาม ) ดังนั้นในรอบปีจะมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นอย่างน้อยปีละครั้ง ซึ่งเว้นแต่ว่าจะมีเหตุการณ์ไรสำคัญจริงๆ ถึงจะเรียกประชุมขอมติผู้ถือหุ้นครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก่อนจะเรียกผู้ถือหุ้นมาประชุม หลักทรัพย์นั้นๆ จะขึ้นเครื่องหมาย XM ซึ่งถ้าเราถือหุ้นอยู่ถึงช่วงนั้น เราก็ได้สิทธ์ในการเข้าประชุมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีวาระการประชุมต่างๆ เกิด เช่นรับรองการจ่ายปันผล ขอเพิ่มทุน ตั้งแต่งคณะกรรมการใหม่ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่พวกกองทุนจะให้ความสำคัญต่อการประชุมมากเพราะเป็นโอกาสที่ได้ซักถาม แนวทางการบริหารต่างๆ หรือได้ถามข้อสงสัยในแต่ละเรื่องของบริษัทมหาชนนั้นๆ ส่วนความสำคัญที่ดี แม้ว่าเราจะถือหุ้นแค่เพียง 1 หุ้น เราก็ได้รับสิทธิ์ที่ได้เข้าร่วมประชุม รวมถึงได้รับรายงานประจำปีด้วย แม้เสียงเราจะน้อยแต่เราอาจทำเสียงดังในที่ประชุมได้ นั้นละครับ ที่บอกในบทความนี้คืออยากให้เราทราบและได้ใช้สิทธิ์ที่เรามีอย่างเต็มที่ เงินของเรา การลงทุนเรา อย่างได้มีโอกาสได้ตรวจสอบบ้างครับ ล

ข้อเสียของการอ่านงบการเงิน

บทนี้เป็นเรือ่งเจ็บซ้ำน้ำใจนิดหน่อยในการวางแผนลงทุนผม มาเขียนไว้ให้อ่านเพื่อได้เป็นประสบการณ์ที่มีประโยชน์กับเพื่อนฝูง ผมเป็นคนที่ไม่สนใจข่าวลือเกี่ยวกับหุ้นเลย (ความจริงคือไม่มีแหล่งข่าวเป่าหูอะครับ) เป็นคนเชื่อเรื่อง เศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์เทคนิค และ งบการเงินมากกว่า โดยศาสตร์สุดท้าย งบการเงินนี้ผมให้ความสำคัญมากที่สุด แต่ข้อเสียของการอ่านงบการเงินนั้นมีอยู่นิดนึง คือ “งบการเงินเป็นเรื่องของอดีต ไม่ใช่เรื่องอนาคต” บางครั้ง ผลการดำเนินที่ดีในอดีต ไม่ได้บอกว่าปีนี้ มันจะดีไหม ที่ต้องมาเขียนบทความนี้มันเนื่องมาจาก หุ้นสุดรักผมตัวหนึ่งในพอร์ตการลงทุนของผม อยู่ดีๆ มันตกรุนแรง จากปกติเป็นแม่ทัพวิ่งนำพอร์ต จากกำไรกลายเป็นขาดทุน จากเขียวกลายเป็นแดง ตอนแรกผมก็กะว่าจะเก็บไว้ แต่สักพักแดงมา 5% ผมยังอยากเก็บไว้อยู่ แล้ววันดีมันก็ตกลงมา 10 % ผมเลยต้องรีบไปอ่านข่าวใน www.set.or.th แล้วได้เห็นงบการเงินไตรมาสล่าสุด เค้าเล่นขาดทุนแบบหลัก ร้อยล้าน เหลือ หลัก สิบล้าน แบบเห็นแล้วแทบเป็นลม ผมเลยต้องตัดใจขายทิ้งไปก่อน นั้นละครับ แม้งบการเงินมันจะไม่ได้บอกว่า พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร ฉันควรต้องทำใจรึปล่าว เ

การวางแผนซื้อขายหลักทรัพย์ของมนุษย์เงินเดือน

ช่วงนี้ผมได้ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนนั่งในออฟฟิตอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว การลงทุนในหุ้นเลยเริ่มถอยออกมาอย่างห่างๆ กิจวัตรระหว่างวันก็เหลือแค่ ตรวจสอบหลักทรัพย์หุ้นผ่าน www.set.or.th หรือเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้นเอง ไม่ได้ใช้บริการบริษัทหลักทรัพย์เท่าไร เพราะกลัวเรื่องนโยบายบริษัทและความปลอดภัยในการ Logon ผ่านที่ทำงาน และที่สำคัญสุดคือการไม่อยากเสพติดหุ้นด้วย ถึงแม้เมื่อก่อนผมไม่ได้บ้าซื้อขายก็จริง แต่ก็นั่งดูเกือบทั้งวัน จนหลังๆ ต้องหนีออกจากบ้านไปช่วงเวลาบ่าย 2 ถึง 4โมงเย็น ไปเดินดูงานศิลปะที่มหาวิทยาศิลปกร ก็ทำให้ใจสบาย ไม่รู้สึกว้าวุ่นดี อันนี้เป็นการลดคลายความเสพติดหุ้นในชีวิตผมอย่างหนึ่งครับ และอาจเป็นข้อดีของการชมงานศิลปะด้วย กิจวัตรการซื้อขายที่ทำงานเลยไม่ได้นั่งเฝ้ามาก( แต่เมื่อก่อนก็ไมได้ใส่ใจมากเท่าไร)เหมือนแต่ก่อนแล้ว การซื้อขายก็จะเป็น แบบ ทิ้งคำสั่งซื้อไว้ตอนเช้าแล้วกด Auto แล้วก็ไปลุ้นเอาว่าได้ราคาเท่าไร ซึ่งวิธีแบบนี้อาจต้องทำการบ้านเยอะกว่าปรกติครับ ในการเฟ้นหาหุ้นสักตัว เช่นว่า หุ้นตัวนั้นพื้นฐานการเงินเป็นอย่างไร ปันผลเท่าไร แนวโน้มจะเป็นอย่างไร นั้นละคร