บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2012

บันทึกการลงทุน 1/8/2555 อีกวันที่โลกการลงทุนรอข่าวมหภาค และ 1200 ของ SET

ช่วงนี้การลงทุนสำหรับผม ก็อยู่จุดที่สูงสุดในชีวิต แต่ความจริงก็เป็นแบบนี้เรื่อยๆ มาสักพักแล้ว แต่สิ่งที่ผมเริ่มรู้สึกเบื่อคือ หุ้นในตลาดนั้น เริ่มแพงหนีไปหมดแล้ว ไม่ค่อยมีราคาต่ำ คุณภาพสูงเลย พอร์ตของผม เมื่อก่อนหุ้น P/E จะไม่เกิน 8-9 เท่า แต่ตอนนี้เกินไปหมดแล้ว บางก็มี P/E 30 กว่าเท่า โผล่มาใน พอร์ตด้วยซ้ำ ดังนั้นการเลือกหุ้นใหม่ช่วงนี้ ต้องพยายามหาหุ้นเติบโต Growth Stock ให้พอได้ การเติบโตให้ได้ และค่อยเข้าไปซื้อเก็บ ลุ้นกำไรจากผลประกอบการที่มีปริมาณ สูง ซึ่งความจริงผมชอบหุ้นที่โตประมาณ 2-3 % ต่อไตรมาส หรือ เทียบกับไตรมาสเดียวกันเมือ่ปี่ที่แล้ว ถ้าได้หุ้นแบบนี้ ถือสัก 2-3ปี รับรองครับ ไม่มีขาดทุน และกำไรแน่นอน ส่วนตลาดบ้านเรา ก็ วิ่งๆ วนๆ แถว 1200 มาหลายเดือนแล้ว คือ มี 1200 เป็นทางผ่าน แตะจุด 1200 เมื่อไร ไม่ทะลุ ก็ หลุด ทันที ความจริงก็เป็นโอกาสเล่น สั้นได้เหมือนกัน ส่วนคืนนี้ เป็นคืนที่คนรอ คอย Fed หรือ ธนาคารกลางสหรัฐ จะออกมากล่าวอะไร บ้างก็ลุ้น QE3 อยู่ แต่ผมคิดว่า น่าจะเป็นไปได้ยาก ส่วนทางยุโรป หลังจากผ่านข่าวกรีซเลือกตั้งและคงไม่ออกจาก Euro zone กลายเป็น เริ่มมีกระแ

ระยะเวลา 1 ปีกับตัววัดพอร์ตการลงทุนแบบพื้นฐาน

คนที่เริ่มแสวงหาความมั่งคั่งให้กับชีวิต หรือ อิสระทางการเงิน ทุกคนต้องมีพอร์ตการลงทุนเป็นส่วนใหญ่ ไม่นับพวกสร้างธุรกิจนะครับ ในการลงทุน เราต้องหาสินทรัพย์ที่มีค่าและน่าจะเติบโตได้มาไว้เป็นการครอบครองของเรา ส่วนใหญ่การสร้างพอร์ตนั้น จะดูสินทรัพย์ที่อยู่ในการดูแลว่ามีการเดิบโตมากแค่ไหน ซึ่งระยะเวลาที่ใช้วัดกัน ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 1 ปี 1ปี เป็นเวลาที่ไม่สั้นไม่ยาวมาก และมีตัวเป้าวัดได้อย่างดี คือ อัตราดอกเบี้ยจากเงินออม ซึ่งใช้เป็นหลักในการวัดการเติบโตได้อย่างดี ทำไมถึงเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก? ดอกเบี้ยเงินฝากนั้น ใช้เป็นพื้นฐานในการเป็นเป้าวัดในการลงทุนทุกประเภท เพราะดูเหมือนไม่มีความเสี่ยงเลย แค่เอาเงินไปนอนเล่นในสถาบันการเงิน จะถอนเมื่อไรก็ได้ อยู่ครึ่งปี ก็ได้ดอกทีหนึ่งเป็นอย่างน้อย ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งปี เราจะได้ดอกเบี้ยตามที่ธนาคารประกาศไว้แน่นอน ดังนั้น ถ้าเราจะทำอะไรเสี่ยง กับเงินของเรา เค้าจะให้คิดว่าทำแบบนี้เสี่ยงเจ๊ง เสี่ยงขาดทุน ให้เอาเงินไปฝากธนาคารดีกว่า ต้นไม่หาย และ ได้ดอกด้วย ถึงจะน้อยก็ตาม ดอกเบี้ยตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว ควรต้องเท่ากับเงินเฟ้อ แต่ความจริงดอกเบี้ยนั

สร้างแผนการเงินส่วนตัวกำหนดทิศทางชีวิต

จากบทความ  รายได้ประจำกับชีวิตมนุษย์เงินเดือน ไม่มีความสุขจริงหรือ  เรื่่องหนึ่งที่ผมได้บอกเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนรายจ่าย เรามักจะขาดการวางแผนเรื่องรายจ่ายครับ ลองคิดดู คนส่วนใหญ่จะมีรายจ่ายเกือบทุกวัน แต่การได้มาของรายได้นั้นไม่ได้ทุกวัน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เราหมุนเงินไม่ทันเสมอ ผมเลยเสนอวิธีการวางแผน ลองวางแผนดูครับ ว่า เราจากนี้จนตาย ต้องใช้เงินเท่าไร เป็นแผนระยะยาว เอาแบบง่ายๆนะครับ วางรายจ่ายจากปัจจุบันนี้ละครับ เพราะอย่างไร แผนที่ดีต้องโดนปรับปรุงอยู่เสมอ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ให้ลองดูครับ -รายจ่ายประจำต่อเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น -รายจ่ายประจำวัน ค่ากิน ค่าดื่ม ค่ารถ -รายจ่ายที่ต้องเกินขึ้นแน่นอนในอนาคต ค่าเรียนลูก -ต้องงบของรายจ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เจ็บป่วย รักษา  ผมเคยเจอเพื่อนคนนึง จบคอมพิวเตอร์ พูดเรื่องวางแผน มันดันเอาเรื่องเงินเฟ้อมาอ้าง ว่าต่อไปเงินเฟ้อจะถึง ขนาด ข้าวแกง จานละ 100 นั้นจะแพง โน่นจะแพง จนสุดท้าย มันก็วางแผนไม่ได้ ผมคิดในใจ กูจบเศรษฐศาสตร์ ยังไม่คิดมากเท่ามึง พอได้แผนแล้ว เราจะพอคาดการณ์ได้ว่า เงินขั้นต่ำที่ชีวิตควรต้องมีคือเ

รายได้ประจำกับชีวิตมนุษย์เงินเดือน ไม่มีความสุขจริงหรือ

หลายๆ ครั้งผมได้เห็นนักลงทุนส่วนใหญ่หรือพวกทำขายตรงค่อนข้างไม่ชอบหรือดูถูกชีวิตแบบมนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้ประจำ สำหรับผมการที่เราสามารถมีงานอย่างอื่นที่จ่ายเงิน เพื่อมาหล่อเลี้ยงชีพ หรือให้คนอื่นทำงานแทน หรือ ใช้เงินทำงาน นี้กว่าจะถึงจุดนั้นได้อาจจะลำบากไม่น้อย แต่เป็นไปได้ ซึ่งพวกนี้ ขายตรง MLM ใช้เป็นข้อดึดดูดชวนคนไปทำ ส่วนพวกชวนไปลงทุนจะใช้คำว่า ให้เงินทำงาน สำหรับผม คนปกติเรียนมาในโรงเรียนก็จะเริ่มปลูกฝังความคิดว่า เรียนให้เก่ง จบไปได้เข้ามหาวิทยาลัยดีๆ เสร็จแล้วได้ออกมามีงานดีๆทำ ถ้าผมเคยได้ยินอยู่คนเดียว ก็คิดว่าความคิดผมผิดละกัน ผมเป็นคนที่เรียนไม่เก่งเลย ตั้งแต่ประถมยันมัธยมปลาย โดยช่วงมัธยมปลาย เรียน 6 เทอม ต้องซ่อมไป 4 เทอม เรียนสายศิลป์คำนวณ หรือ คณิต-อังกฤษ ก็ซ่อมมัน 2 วิชานี้ละครับ จบมาเข้ามหาวิทยาลัย ก็เรียนคณะเศรษฐศาสตร์โชคดีที่เรียนแล้ว ชอบมาก เลยเรี่ยนจบไม่ลำบากนัก แม้จบมาจะหางานที่เป็น นักเศรษฐศาสตร์จริงๆไม่ได้ก็ตาม แต่ก็ได้ใช้วิชาในการลงทุนเยอะเหมือนกัน สิ่งที่เกิดขึ้นจริง คือเพื่อนผมจำนวนเยอะมาก จบมาแล้วก็โทษว่า ไม่มีงานที่เรียนมาให้ทำ แต่ความจริงห

การใช้จ่ายเพื่อสินทรัพย์

การลงทุนให้ได้ผลตอบแทนนั้น ไม่ใช่เรื่องของการใช้ทุนเพียงอย่างเดียว การใช้เวลาก็เป็นสิ่งที่ตามมาด้วย หลายครั้งการลงทุน จะนำเอาเรื่องเงินเฟ้อมาเป็นเป้า เพราะเงินนั้นตามหลักเศรษฐศาสตร์จะโดนลดค่าจะเงินเฟ้อ เพราะฉะนั้น เงินเฟ้อจึงเป็นเรื่องที่ใช้กำหนดการลงทุนหลายๆครั้ง ซึ่งตามวิชาเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นในอุดมคติไว้ เงินเฟ้งควรเท่ากับดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งความเป็นจริงไม่เคยเป็นไหได้เลย เงินก็ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุดในวิชาบัญชี แต่คนเราทำงานได้เงินเดือนแต่อาจไม่ชอบเงินเท่าไร เพราะปรกติจะใช้เงินเต็มท่ี ไม่ค่อยมีใครรักเงินแบบไม่ยอมใช่เลย เพราะฉะนั้นเราหาเงินมีเพื่อใช้ ซื้อ หรือ ให้ได้มาในสินทรัพย์หรือบริการที่มีมูลค่าเป็ฯเงิน ตัวสินทรัพย์นั้น ผมมองเรือ่งสินค้าที่คงทน มีตัวตน ซื้อเก็บได้ อาจแปรสภาพกลับเป็นเงินได้ด้วย เมือ่ขายทิ้งไป หลายๆครั้ง เรามักสับสนกับ สินทรัพย์ที่มีคุณค่าในอนาคต กับ สินทรัพย์ที่ด้อยค่าในอนาคต สินทรัพย์ที่มีรายจ่าย กับ สินทรัพย์ที่มีรายได้ ซึ่งส่วนใหญ่ รอตัดสินง่าย นะครับ ถ้าคุณซื้อของไว้สักชิ้น แล้ว อนาคตเมื่อขาย ราคาต้องสูงขึ้น ส่วนใหญ่ที่ชัดเ