ต้นทุนตัวเงินที่แท้จริงของมนุษย์เงินเดือน ตอนที่ 1 :ต้นทุนของมนุษย์เงินเดือน


ครั้งหนึ่งเมื่อมีคนถามองค์ดาไลลามะว่า อะไรเป็นเรื่องที่ท่านรู้สึกแปลกใจมากที่สุด เกี่ยวกับมนุษยชาติ ท่านตอบว่า

“มนุษย์เรานึ้ ยอมสูญเสียสุขภาพเพื่อทำให้ได้เงินมา แล้วต้องยอมสูญเสียเงินตรา เพื่อฟื้นฟูรักษาสุขภาพ แล้วก็เฝ้าเป็นกังวลกับอนาคต จนไม่มีความรื่นรมย์กับปัจจุบัน ผลที่เกิดขึ้นจริงๆ ก็คือ เขาไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งอยู่กับอนาคต เขาดำเนินชีวิตเสมือนหนึ่งว่าเขาจะไม่มีวันตาย และแล้วเขาก็ตายอย่างไม่เคยมีชีวิตอยู่จริง“

จาก: http://www.thaiquip.com/806#ixzz30Vi2zIgG

บทความนี้ผมเปิดด้วยคำพูดของท่าน ดาไลลามะ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการทำงาน ช่วงนี้ตัวผมเองทำงานหนักเสาร์ อาทิตย์ก็ต้องทำ ทำงานกลับบ้าน ออกจากบ้าน 7 โมง ถึงบ้าน 3ทุ่มครึ่ง เกือบทุกวันติดๆ มาสักพักใหญ่ๆ ตัวงานก็เครียด กดดัน คำพูดของท่านถือเป็น ต้นทุนชีวิตที่ชัดเจน

มันเลยทำให้ผมคิดถึงประโยคนี้ ว่าเรายอมเสียสุขภาพ เวลา เพื่อแลกมากับค่าจ้าง แล้วทำไมเราถึงต้องทำงานเพื่อแลกกับเงิน

เงิน ค่าจ้าง เงินเดือน ยุคสมัยนี้ เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่ง่ายที่สุด มีมูลค่าชัดเจน ไม่มีใครแลกวัวเป็นตัว กับ ข้าวสารแน่นอน Barter Trade ใช้เงินง่ายกว่า ยิ่งสมัยนี้ เงินแทบจะเป็นบริการ ไม่ว่าจะบัตรเครดิต  e-banking ด้วย ยิ่งทำให้การใช้เงินง่ายเข้าไปใหญ่แล้วใยเจ้าจะมีมานั่ง เลี้ยงวัว ปลูกข้าว กินเองเหล่า ก็เอาเงินไปซื้อของเหล่านี้จากผู้มีความสามารถทางการเกษตรง่ายกว่า

เงินเลยเป็นสิ่งที่ทุกคนโดนปลูกฝังมาแต่เด็กว่า ต้องมี ต้องหา เพื่อใช้ชีวิตให้ได้ เพื่อกิน เพื่ออยู่ เพื่อรักษาตัว เพื่อสังคมยอมรับ เพื่อเหนือกว่าผู้อื่น นี้คือความเป็นจริง ที่เราเผชิญอยู่ ถ้าไม่มีงานทำ แม้เราจะไม่เครียด แต่ผมรับรอง พ่อแม่พี่น้องภรรยาลูกคุณ ปวดหัว แอบกังวลแน่นอนถ้าคุณไม่มีเงิน

นั้นทำให้ผมต้องมีคิดว่า ต้นทุนที่แท้จริงคืออะไร แต่ผมใช้ความคิดค่าเสียโอกาสเชิงเศรษฐศาสตร์มาคิด ก็ได้แค่ว่า

-ค่าใช้จ่ายที่ต้องมีอยู่ในชีวิตประจำวัน

-เวลา 10 ชั่วโมงต่อวัน เราเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

-เวลา 7-8 ชั่วโมงช่วงที่ทำงาน เราเอาไปพัฒนาความสามารถอะไรได้บ้าง ความสามารถนั้น เอาไปสร้างประโยชน์อะไรได้บ้าง

-สุขภาพที่นั่งหน้าคอม ความเครียดต้องเผชิญ ค่ารักษาพยาบาลช่วงบั้นปลายก็ถือเป็นต้นทุนที่เป็นเงินนะครับ

ด้านบนเป็น ต้นทุนเชิงเศรษฐศาสตร์ ที่เรียกว่าเป็นรายจ่ายต้นทุนชีวิตละกันนะครับ ลอยๆ โอกาสเกิดขึ้นได้ก็มี ไม่เกิดได้ก็มี

แต่คราวนี้ต้นทุนที่เราสนใจมากสุดคือ ด้านรายได้ อันนี้ชัดเจนว่า ถ้าเงินเดือนไม่มีใครจะเป็นมนุษย์เงินเดือน เพราะฉนั้น ค่าเสียโอกาส คือ เงินเดือนปัจจุบัน กับทางเลือกเงินเดือนที่อาจะได้หรือไม่มีเงินเดือน

เอาง่ายๆ อาจเขียนสมการตัดสินใจออกงานปัจจุบัน ออกได้ดังนี้

(รายได้ที่น่าจะเป็น) > (ค่าใช้จ่ายที่เกิดหลังรายได้ที่น่าจะเป็น)

ถ้าทำได้คงไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยงที่จะออกจากงานนะครับ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย NP ของตลาดหลักทรัพย์

StarfishX: สำหรับการดึง SET data

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin