บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2011

ว่ากันด้วยเศรษฐศาสตร์กับการซื้อขายหุ้น: กลไกตลาด 2

คราวนี้ผมจะลองยกตัวอย่างจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดูเล่นๆ นะครับ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ ราคา กับ ปริมาณ เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้เพื่อหาแนวโน้ม ซึ่งใช้อธิบายช่วงพฤติกรรมเวลานั้น ว่ามีการซื้อขายมากไปหรือน้อยไปหรือไม่ ซึ่งบ่อยครั้งที่ตลาดที่มีการซื้อขายมากเกินไป จะส่งผลต่อราคา แต่ผมอยากให้มองนักลงทุนในตลาด สามารถเป็น Demand หรือ Supply อีกนัยหนึ่งคือ นักลงทุนสามารถเปลี่ยนสถานะตัวเอง เป็นผู้ซื้อ หรือ ผู้ขายก็ได้ Demand คือ นักลงทุนที่ต้องการซื้อหลักทรัพย์ Supply คือ นักลงทุนที่ต้องการขายหลักทรัพย์ ผมคิดว่าใครที่เคยเซื้อขายหลักทรัพย์คงเข้าใจว่า คุณ ก็เคยอยู่ทั้งฝั่ง Demand และ Supply คุณตกอยู่ในกำมือกลไกตลาด หรือ โดนมือที่มองไม่เห็นผลักดันโดยไม่รู้ตัว แต่สิ่งที่ผมคิดว่าถ้าตลาดหุ้น เป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะไม่มีใครขาดทุนแน่นอน เพราะถ้าหุ้นราคาลง เราจะมีความต้องการมากขึ้น และเมื่อราคามันสูงขึ้น เราจะต้องการขายมัน สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างกับทางทฤษฎีคือ หุ้นราคาลง เราขาย หุ้นราคาขึ้นเราซื้อ สิ่งที่เราเรียกว่าราคา มันอาจเป็นเป็นตัวเลขบนกระดาน หรือ หน้าจอเท่านั้น แต่จุดตัดสินใจคือ จิตใจ หรือ สภ...

ว่ากันด้วยเศรษฐศาสตร์กับการซื้อขายหุ้น: กลไกตลาด

กลไกตลาดเป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์ในบทแรกๆ ที่เราต้องรู้จักเลย ซึ่งตลาดที่เราใช้อธิบายทฤษฎีพฤติกรรมวิชาเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะใช้ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งเป็นอุดมคติของมนุษย์ โดยความเป็นจริงเรียกว่าแทบไม่มีถ้าเกิดขึ้นได้บนโลกแห่งความจริง แต่สำหรับผมมันเป็นวิธีใช้อธิบายพฤติกรรมมนุษย์ได้ชัดเจน โดยหลังรู้จักว่า Demand Supply หรืออุปสงค์แบะอุปทาน ก็จะมาเกิดตลาดได้ โดยตัวแปรที่เกิดและใช้อธิบายคือ ราคา และ ปริมาณ ตามโมเดลของตลาดจะบอกเราว่า ราคาเท่านี้ จะมีปริมาณการซื้อขายเท่าไร Demand หรือ อุปสงค์ใช้อธิบายความต้องการซื้อ โดยอธิบายว่า กรณีที่ราคาสูงขึ้น ปริมาณจะลดลง ส่วนกรณีตรงข้ามราคาต่ำลง ปริมาณจะเพิ่มขึ้น Supply หรือ อุปทานใช้อธิบายความต้องการขาย โดยอธิบายว่า กรณีที่ราคาสูงขึ้น ปริมาณจะสูงขึ้น ส่วนกรณีตรงข้ามราคาต่ำลง ปริมาณจะลงลด ก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ปกติอยู่แล้วนะครับ ถ้าเราอยากซื้ออะไร มันแพงเราก็ซื้อมันได้ปริมาณน้อย แต่ถ้ามันราคาถูก ก็ได้ปริมาณมาก ซึ่งใน ณ เดียวกัน ถ้าเราขายของก็ถ้าราคาแพง ก็อยากขายเยอะๆ แต่กลไกตลาดจะเป็นตัวจัดสมดุล โดยสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าเหมาะสมที่สุด คือ จุดดุลยภาพ...

ว่ากันด้วยเศรษฐศาสตร์กับการซื้อขายหุ้น: องค์ประกอบของตลาด และวันวานถึงวันนี้

บทความนี้ผมเขียนขึ้นจากความคิดเห็นของผมเอง ไม่ได้มีหลักการวิชาการอะไรมาอ้างอิงนอกจากความรู้ที่ได้มาจากคณะเศรษฐศาสตร์เมื่อ ช่วงปี 2542-2546 แรงบรรดาลใจมาจากช่วงนี้ได้อ่านหนังสือการลงทุนที่พูดเรือ่งเศรษฐศาสตร์แบบสวนกระแสกับที่เรียนมา กับ เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมเลยว่าลองมาเขียนเรียบเรียงความรู้ที่ได้มาจากปริญญาตรีใช้อธิบายสิ่งที่เห็นกับตลาดหลักทรัพย์ วันนี้ลองมาดูนิยามคำว่าตลาดก่อนแล้วกันครับ Q: ตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ไหน A: แถวสถานีศูนย์วัฒนธรรม แต่ถ้าตามนิยามตลาดของวิชาเศรษฐศาตร์จริงๆ เราน่าจะตีความว่า สถานที่ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน หรือ ใช้คำให้เหมาะสม กับวิชาเศรษฐศาตร์หน่อยคือ สถานที่อุปสงค์ (Demand) และอุปทาน( Supply ) มาเจอกัน Q: เราซื้อขายหุ้น ฟิวเจอร์ ที่ไหน A: iPhone,Moblie device,Notebook, PC, Website ของ Marketing เรา หรือรุ่นเก่ากว่านั้น คือ การเขียนลงกระดาษ ที่ห้องดูหุ้น โทรหามาร์ส่วนตัว ถ้าดูอย่างนี้ ตลาดหลักทรัพย์ที่ถนนสาธร น่าจะเป็นอาคารปฎิบัติการดำเนินงาน หรือ สำนักงาน มากกว่า ที่ใช้คำว่าตลาด เพราะ สถานที่ Demand กับ Supply มาเจอกัน ไม่น่าที่จะใช้แถวถนนสาธร (เว้น...

การวิเคราะห์จากงบกระแสเงินสดของบริษัท : บริษัทที่ดีควรมีงบกระแสเงินสดเป็นอย่างไร

งบกระแสเงินสด เป็นหลักการจำแนกกิจกรรมของเงินหลักๆ ที่ใช้ในบริษัท ซึ่งแบบเป็น 3 ประเภท กิจกรรมดำเนินการ,กิจกรรมลง ทุน,กิจกรรมจัดหาเงิน ซึ่งผมได้อธิบายคร่าวไว้ก่อนหน้าแล้ว กิจกรรมอะไรเป็นอะไร คราวนี้สิ่งที่นักลงทุนควรต้องพิจารณาดูว่า ที่บริษัทที่ดี ตามหลักของงบกระแสเงินสด นั้นควรต้องมีลักษณะแบบไหน กิจกรรมดำเนินการ ต้อง + ด้วยเหตุผล กำไรที่เป็นแหล่งเงินสดหลักอยู่ในกิจกรมนี้ ถ้าการขายค้า เราควรต้องได้กำไร ไม่ควรขาดทุน ถ้าบริษัทหมวดนี้เป็นลบ คงต้องมีการปรับปรุงประสิทธิผลการทำงานครั้งใหญ่แน่นอน หรือต้องดูฝ่ายผู้บริหาร ว่าทำต้นทุนส่วนไหนที่ไม่ สามารถควบคุมได้ กิจกรรมลงทุน ต้อง - ด้วยเหตุผลที่เราควรจ่ายเงินลงทุนให้กิจการมากกว่า ที่ได้เงินจากการขาย ที่ดิน ตึก อาคาร เครื่องจักร ซึ่งถ้าเป็น + และส่วนนี้เป็นเงินสด ที่มีอัตราส่วนมากในงบดุล ขอให้ระลึกไว้ด้วยว่า ปีต่อๆ ไป คงมีโอกาสยากที่บริษัทสามารถทำเงินได้อย่างปีนี้อีก สิ่งที่อยากให้พิจารณาไว้ คือ การลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวส่งผลให้คาดการณ์ได้ว่า รายได้ควรต้องเพิ่ม ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะต้องลงทุน หลายๆ ครั้...

คำถามในการเลือกหุ้น

คุณรู้จักหุ้นตัวนั้นดีแค่ไหน คำถามง่ายๆ ที่ส่วนใหญ่เวลาคนที่จะซื้อขาย หุ้น หรือ หลักทรัพย์นั้นๆ จะถามก่อน บางคนก็หลับหูหลับตาซื้อโดนไม่สนใจว่าหุ้นนั้น คือ อะไร บางคนก็ศึกษาเยอะขึ้นมาหน่อย อาจได้อ่านจากบทวิเคราะห์ เพื่อนฝูงแนะนำกันมา หรือบางคนลงทุนไปสำรวจบริษัทนั้น หรือ สินค้าตัวนั้นๆ เลย แต่จากพฤติกรรมข้างบน ก็คงบอกระดับนิสัยการลงทุนแต่ละคนได้ระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่ผมอยากให้คนที่คิดจะลงทุนนั้นถามตัวเองว่า รู้จักหุ้นตัวนั้นดีแค่ไหน ซึ่งคำถามนี้ เป็นคำถาม ”คุณรู้จักหุ้นตัวนั้นดีแค่ไหน” สำคัญที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์หุ้นตัวนั้นได้อย่างละเอียด คำถามนี้ผมใช้เมื่อจะเลือกหุ้น หุ้นตัวนี้ขายอะไร หุ้นตัวนี้นโยบายจ่ายปันผลเป็นอย่างไร หุ้นตัวนี้มีผลประกอบการเป็นอย่างไร หุ้นตัวนี้มีอัตราส่วนการเงินสำคัญดีหรือไม่ หุ้นตัวนี้แนวโน้มจะกำไรเพิ่มขึ้นหรือไม่ หุ้นตัวนี้มีคู่แข่งเป็นใคร หุ้นตัวนี้มีสถานะอย่างไรในตลาด หุ้นตัวนี้มีปัจจัยเสี่ยงอะไร ส่วนคำถามชุดนี้ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ถ้ารู้ก็ดี ไม่รู้ก็เสี่ยงเพิ่มอีกหน่อย หุ้นตัวนี้อยู่ในตลาดมากี่ปีแล้ว หุ้นตัวนี้ประกาศผลประกอบการเวลาไหน ...

การวิเคราะห์จากงบกระแสเงินสดของบริษัท : กิจกรรมต่างๆ

หลักการของงบกระแสเงินสดคือ การบอกให้ทราบว่า เงินสดเพิ่ม หรือ ลด จากการบันทึกบัญชีแบบไหนบ้าง ซึ่งการบันทึกบัญชีแต่ละอย่างนั้นก็โดนจัดเป็นหมวด กิจกรรม 3 อย่างคือ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมนี้ เป็นการได้หรือใช้เงินไปใน กิจกรรมการดำเนินงาน เช่น การขายสินค้า บริการ การจ่ายดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน การได้เงินหรือใช้เงินไป ในกิจกรรมการลงทุน ในระยะยาว เช่น การซื้อหรือขายสินทรัพย์พวก อาคาร ที่ดิน อุปกรณ์ หรือ จ่ายหรือรับเงินจากการลงทุนระยะยาวต่างๆ กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน การได้เงินหรือใช้เงินไป ในกิจกรรมการจัดหาเงิน หรือพูดง่ายๆ คือ การกู้หนี้ยืมสิน จะอยู่ใน กิจกรรมหมวดนี้ เช่น เงินที่ได้หรือจ่ายไปกับหุ้นกู้ เจ้าหนี้สถาบันต่างๆ เงินปันผลจ่ายด้วย โดยปกติ ผมจะดูงบกระแสเงินสดทั้งหมด ซึ่งผลรวมสุดท้ายของเงินสดนั้น จะเท่ากับ เงินสดที่อยู่ในหมวดสินทรัพย์ของงบดุล เมื่อเห็นเงินสดจากงบดุลแล้ว เกิดสงสัยว่าทำไมมันน้อย หรือ เยอะ ก็ให้มาดูที่งบกระแสเงินสดเนี่ยครับ อย่าลืมว่า บริษัทที่ไม่มีเงินสด ก่อให้เกิดปัญหาขั้นร้ายแรงได้ถึงล้มละลาย ซึ่งผมจะมาพูดในบทคว...

การวิเคราะห์จากงบกระแสเงินสด Cashflow :เบื้องต้น

งบตัวสุดท้ายที่สามารถหาดูได้ใน เว็บไซต์ของ ตลาดหลักทรัพย์คือ งบกระแสเงินสด Cashflow นั้นเอง งบกระแสเงินสด Cashflow นี้ ความสำคัญอยู่ที่บอกแหล่งที่มา ที่ไปของเงินสด ว่าได้มาจากกิจกรรมประเภทไหน และใช้ไปในกิจกรรมประเภทไหน อย่างที่ผมเคยพูดไว้ว่า ก่อนหน้าว่า บริษัทไม่มีวันละลาย ถ้ามีเงินสดมาจากหนี้ ปัญหาที่เลวร้ายที่สุดของการถือหุ้นคือ บริษัทเจ็ง ล้มละลาย ไม่มีความสามารถมาจ่ายหนี้ เป็นผลทำให้เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดได้ เพื่อให้ได้เงินสดมาชำระหนี้ เมื่อขายแล้ว นำเงินสดมาหักหนี้ เหลือเท่าไร ก็แบ่งให้ผู้ถือหุ้นที่เหลือไป ตามอัตราส่วนของหุ้น ซึ่งเราเคยได้ยินว่า บริษัทที่มีปัญหายื่นพิทักษ์ทรัพย์ ก็เพื่อกันใครมายึดทรัพย์ไปขายทอดตลาดเนี่ยละครับ คราวนี้กลับมาที่เงินสด บริษัทบางครั้ง ค้าขายไม่ต้องใช้เงินก็ได้ ทำให้บางครั้งได้มาเป็น ลูกหนี้การค้า หรือ เจ้าหนี้การค้า ซึ่งบันทึกในหมวดหนี้สิน และ ทรัพย์สิน ซึ่งสองรายการนี้ ยังไม่เป็นเงินสดนะครับ หลักการการค้าขายคือ ยืดหนี้ที่ต้องจ่ายให้นานที่สุด และ เก็บหนี้ให้เร็วที่สุด ทำไปเพื่อให้เงินสดอยู่กับเรานานที่สุดนั้นละครับ เมื่อเงินมีคว...

บันทีกการลงทุน 25/10/2554 ตอน น้ำท่วมบ้าน สินทรัพย์ และความสุข

ช่วงนี้ผมหนีน้ำท่วมมาพักตามโรงแรมต่างๆ หลายๆย่านละครับ เกิดมาก็ไม่ค่อยได้จากบ้านมานาน นอกจากตอนบวช พอน้ำเข้าบ้านมาประมาณหัวเข่า ก็จำใจออกจากบ้าน แต่คราวนี้ยังสบายกว่าเพราะที่ทำงานคุณแม่จัดที่พักให้อย่างดีเลย แต่ถึงได้นอนโรงแรมดีอย่างไร ก็อยากกลับไปนอนเบียดๆ ที่บ้านแคบๆ นอนกับพื้น อ่านหนังสือ วาดรูปให้เต็มที่มันดีกว่าครับ สิ่งที่ได้จากน้ำท่วมคราวนี้คือ อยากสร้างหนี้ ซื้อคอนโดเลย แต่ก็ทำใจเป็นหนี้หลักล้านบาทไม่ได้ ซึ่งอยากให้พอร์ตโตมากกว่านี้ก่อน ก็ถือว่าเป็นวินัยการลงทุนอีกครั้ง ที่ต้องโดนทดสอบกันไป อีกอย่างที่ได้ คือ ได้นั่งอ่านหนังสือ ถึงแม้ยังต้องทำงานอยู่แต่ก็มีเวลาว่างที่ไม่ได้ทำอะไรให้อ่านหนังสือเยอะเหมือนกัน ผมได้บุกน้ำท่วมเข้าบ้าน 2-3 อย่างที่ขนออกมา คือ 1 เสื้อผ้า 2 คอมพิวเตอร์ 3 หนังสือ แต่รอบหลังพลาดทำหนังสือเปียกน้ำ T_T เป็นความคิดว่า ของมันปลอดภัย เราดันมาทำให้เปียก หนังสือลงทุนด้วย เสียดายเหมือนกัน จากการที่ผมได้ลองบุกเข้าบ้าน ต้องบอกได้อย่างเดียวคือ ตอนนี้ก็ไม่กังวลอะไรมา ส่วนใหญ่ทรัพย์สินที่มีค่าคือ หนังสือ และข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ที่เสียใจคือหนังสือการ์ตูนที่จ...

บันทีกการลงทุน 25/10/2554 ตอน น้ำท่วมทะลัก ตลาดหุ้นก็ไม่สนใจ

สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในวันนี้ คือน้ำท่วม ไม่ว่าด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ก็คือน้ำท่วมจริงๆ ที่น่ารังเกรียจกว่าน้ำท่วมคือ คนใช้ความทุกข์คนอื่น มาเป็นการทำลายล้างกันเองในช่วงวิกฤต รวมถึงคนที่ใช้ความเดือนร้อนคนอื่นมาแสวงหาผลประโยชน์ตัวเอง ส่วนอีกเรื่องคือ ข่าวสาร ซึ่งมีมาสับสนหลายทางมาก จนบางครั้งผมต้องออกไปดูด้วยตาตัวเองจะง่ายกว่า ที่รอเปิดโทรทัศน์เอง ส่วนที่น่าตื่นเต้นกว่า คือ ตลาดหุ้น (แม้ตอนนี้อาจไม่มีใครสนใจ) ที่พุ่งมา 5-6% นิดๆ ทั่วโลก ยกเว้น บ้านเรา เพราะติดวันหยุด แต่ก็ยังส่งผลให้ ตลาดเราบวกได้อีก ซึ่งหุ้นหลายๆตัว ที่ไม่ค่อยมีคนสนใจกัน เริ่มสะท้อนผลประกอบการที่จะเกิดขึ้นบ้างแล้ว คือราคาหล่นไปมาก ส่วนใหญ่ที่บวก คือ หุ้นที่มีมูลค่าทางตลาดสูง รอบนี้ก็เป้นต่างชาติที่จัดให้เต็มมือ แต่สิ่งที่ผมต้องเตือนตัวเอง คือ น้ำท่วมรอบนี้ ส่งผลกว้างต่อ การผลิต การบริโภค ในอุตสหกรรมบางจำพวก บางบริษัทก็ต้องปิดกิจการชั่วคราว บางบริษัทต้องหยุดจ้างงาน ส่วนบริษัทก็ขาดแคลนสินค้าจากห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นแบบนี้ อย่างไร หลายบริษัทต้องเจอปัญหาการขายสินค้าไม่ได้ การผลิตสินค้าไม่ได้ น่าจะส่...

บันทีกการลงทุน 10/10/2554 ตอน การรับรู้ข่าวสารน้ำท่วมและการลงทุน

อีกเรื่องของเหตุการณ์น้ำท่วมรอบนี้ สิ่งที่เห็นและอยากบอกกับเพื่อนๆ นักลงทุน คือ การรับรู้ข่าวสารน้ำท่วม ผมมองว่าไม่ต่างกับข่าวสารในตลาดหุ้น ข่าวที่คนเห็น แล้วนำมาบอกต่อมันโดนเปลี่ยนแปลงไปตาม น้ำเสียง อารมณ์ของผู้เล่านั้นๆ ซึ่งสิ่งที่เชื่อได้คือแหล่งข่าวที่มีความน่าเชื่อถือ ( แม้บางครั้งแหล่งข่าวอาจพลาดเองก็ตาม ) รวมถึงการเห็นรับรู้ข้อมูล และการฟัง แล้วนำมาใส่ความน่าจะเป็นด้วยตัวเอง ทำให้การมองภาพบางอย่างผิดพลาดไป (แต่ถ้ามองได้ถูกต้อง ก็จะทำให้ได้เปรียบกว่าคนอื่น) ซึ่งน้ำท่วมรอบนี้ ทุกๆคนโดนภาพที่น่ากลัว ฝังหัว ไว้เยอะมาก ถ้าใช้ตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์ รวมกับข้อมูลที่ได้รับมาทั้งหมด กรอกออกว่า อะไรเป็นอารมณ์ อะไรเป็น Fact อะไรเป็นสิ่งคาดการณ์จากใคร ซึ่งได้มาเป็นข้อมูลของเรา ซึ่งข้อมูลของเราอาจไม่เหมือนกับคนอื่นก็ได้แม้จะรับข้อมูลมาเท่ากัน ข้อมูลทั้งหมดใช้พิจารณา เราจะได้ information ที่เป็นประโยชน์จริงๆ แล้วลองมาทำแบบจำลองตาม Information ที่มีอยู่ว่า โดยใส่ input เลวร้ายสุดคืออะไรลงไป เพื่อเลือกในการรับมือกับภัยพิบัติครั้งนี้ ซึ่งไม่ต่างจากตลาดหุ้น ที่คุณคิดจะลง...

บันทีกการลงทุน 10/10/2554 ตอน น้ำท่วมกับการลงทุน

น้ำมารอบนี้ เราได้เห็นภาพหลายๆภาพจากข่าวสาร ตามโทรทัศน์ ได้เห็นผู้บริหารบ้านเมืองหลายท่าน หรือ องค์กร บริษัท แก้ไขปัญหาแล้ว ถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้าง ก็ขอพิจารณาดูอย่างมีสตินะครับ แต่ที่ผมชอบมากที่สุดหรือจะเป็นปรากฏการณ์ใหม่คือ สังคมออนไลน์ บน Facebook ที่มีทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่ช่วยกันแชร์ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร ภาพอธิบายความรู้ด้วยการ์ตูน (Infographic) ภาพถ่ายที่เก็บๆมา คลิปข่าว หรือ ถ้อยคำการให้กำลังใจกัน ของแต่ละคน แม้อาจมีความเห็นเชิงแตกแยกบ้าง ด่ากันบ้าง เห็นแล้วไม่มีสาระ แต่ก็เป็นส่วนน้อย (ถ้าใครมีพวกนี้เป็นส่วนใหญ่ ผมแนะนำ ให้ไปหาเพื่อนกลุ่มใหม่ๆ ดีกว่าครับ) ไม่สามารถกลบสิ่งดีๆ จากสังคมของเราได้ กลับมาที่เรื่องตลาดหุ้นและบริษัทจดทะเบียนสักหน่อยครับ เมื่อก่อนผมเคยทราบว่ามีโรงงาน บริษัท ตั้งอยู่ในอยุธยา มากขนาดนี้ ซึ่งบริษัทบ้างบริษัทที่ผมซื้อก็ตั้งอยู่ในเขตอยุธยาด้วย ปัญหาก็คือ น้ำท่วมตอนนี้ ส่งผลให้หลายๆ บริษัทต้องหยุดงาน หรือขั้นหนักสุดคือ น้ำท่วมบริษัท เครื่องจักรที่ใช้ผลิตสินค้ามีอันต้องเสียหาย ซึ่งอาจใช้เวลาอีกพักใหญ่ ที่ต้องซ่อมแซม สรุปผลที่ได้คือ ต้องเสี...

บันทีกการลงทุน 24/09/2554 ตอน ตลาดถล่ม

ปกติผมไม่ค่อยได้เขียนบันทึกการลงทุนติดๆ กันสักเท่าไรครับ แต่วันนี้อยากเขียนด้วยต้องการให้เป็นเครื่องเตือนตัวเอง ไว้ว่า ครั้งหนึ่งเคยมีการร่วงลงของดัชนีเกิน 10% ใน 1วัน แม้จะเด้งกลับมาก็ตาม สำหรับผมมันเป็นการยืนยันว่าตลาดเปลี่ยนทิศทางมาเป็นขาลง อย่างชัดเจนแล้ว ด้วยจำนวนลดลงของดัชนีที่เกิน 20% ภายใน 3 เดือน รวมทึ้งการขายอย่างรุนแรงในมูลค่าที่มหาศาลอย่างในวันนี้ แต่ตอนนี้ไม่ต้องบอกกับใครแค่นี้ก็คงรู้ว่า เรื่องของ วิกฤตยุโรป และ อเมริกา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานาน อยุ่กับเรามานาน แต่เหมือนไม่มีใครให้ความสนใจมากเท่าไรนัก เมื่อมีมาตรการกระตุ้นออกมาที แล้วเหมือนจะได้ผล ทุกคนก็ดีใจ แต่มาตรการที่อัดฉีดหลายตัวที่เหมือนจะได้ผล แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจที่เป็นอยู่ดีขึ้น จนเมื่อหมดทางเยี่ยวยา ทุกอย่างเลยปรากฏ ความเป็นจริงที่ทุกคนต่างคาดการณ์ว่าจะเลวร้ายในอนาคตได้มาครอบงำบรรยากาศการลงทุน ทำให้ทุกคนต่างเทขายเพื่อเก็บเงินสดไว้กับตัว ส่งผลให้ตลาดหุ้น ร่วงลงมา รวมกับบรรยากาศที่ทำให้ทุกคนกลัวก็ทำให้เกิดการเทขายหมด เมื่อคนในตลาดมีความต้องการขายมากกว่า แล้วไม่มีความต้องการซื้้อ ทุกอย่...

บันทีกการลงทุน 24/09/2554 ตอน เศรษฐกิจรูป W

ในวันที่ผมเขียน ตลาดหุ้นไทยได้หลุด 1000 จุดไปเรียบร้อยแล้ว แถมเป็น 2 วันที่ ดัชนีตกลงมาร่วมเกือบ 100 จุด สาเหตุที่เกิดขึ้นคือ วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะๆ จาก ยุโรป และ อเมริกา เหมือนถึงจุดหนึ่ง ไม่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ และ รัฐบาลฝั่งกลุ่ม EU ไม่สามารถหาทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ จากหนี้ภาครัฐ และ ปัญหาการว่างงาน มาตรการที่ออกมาฉาบฉวยไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง ทำให้เหมือนว่าเศรษฐกิจนั้นพ้นการถดถอยแล้ว แต่เมื่อหมดมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐแล้ว หรือบอกว่าภาครัฐหมดความสามารถในการกระตุ้นแล้ว ก็ทำให้ทุกอย่างกลับมาสู่ที่เดิม นี้คือเศรษฐกิจแบบตัว W คือ ตกลงมาแล้วทำท่าจะเด้นไปได้พอถึงจุดหนึ่งจะตกอีก รอบนี้ใช้ฐาน 2008 ไป 2011 สรุป 3 ปี ซึ่งปี 2010 เป็นปีที่เหมือนทุกอย่างจะกลับมา แต่ปีนี้ก็ทำให้เห็นว่าทุกอย่างยังไม่สามารถวิ่งฝ่าไปได้ บางคนบอกว่า ปัญหาที่เกิดจะร้ายแรงกว่า ปี 2008 อีก แต่สำหรับผมตอนนี้ ยังไม่เกิดการล้มของบริษัทยักษ์ใหญ่ให้เห็นอย่างชัดเจน แค่คาดหวังว่า คงส่งผลให้กำไรแต่ละบริษัทลดลง แต่คงไม่ถึงกับต้องล้มไป แต่ที่แน่นอนคือ รัฐบาลแต่ละประเทศต้องแบกหนี้ก้อนมหาศาลไว้ ...

การลงทุนทางตรง การลงทุนทางอ้อม

สมัยก่อนตอนผมยังเป็นนักศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ การลงทุน เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยในการคิด GDP ด้านการใช้จ่ายเลย ซึ่งการลงทุนในมุมมองของ เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งด้านเศรษฐกิจ โดยปกติเราสามารถลงทุนได้ ไม่เพียงแต่เงินเท่านั้น ยังมีการลงทุน แบบ เป็นแรงงาน สมอง ความคิด เวลา แต่สุดท้ายก็ให้ความสำคัญที่เงิน เพราะมันสามารถวัดได้ทันที ส่วนทางจุลภาค หรืออย่างเราๆ ท่านๆ นี้ การลงทุนส่วนใหญ่คือการก้าวไปเป็น เจ้าของกิจการ หรือเป็นผู้บริหารความเสียงต่างๆ นั้นเอง โดยการเป็นผู้ประกอบการคือ การใช้ปัจจัยการผลิต ให้คุ้มค่า คือ ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ โดยทั่วไปการลงทุนแบบนี้เรียกว่า การลงทุนทางตรง Direct investment เป็นสิ่่งที่จับต้องได้ ไม่ว่าจะเปิดร้านขายหมูปิ้ง ขายคอนโด ขายหมา หรือ บริการต่างๆ เช่น นวดฝ่าเท้า มอเตอร์ไซด์รับจ้าง อื่นๆ สารพัด พวกนี้การลงทุน ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง เวลา ความสามารถ และแรงงาน ส่วนการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งคือ การลงทุนทางอ้อม Indirect investment เหมือนเป็นการฝากเค้าลงทุน หรือเป็นการเก็งกำไรอีกรูปแบบนึง เช่น การซื้อที่ อสังหา ซื้...

บันทีกการลงทุน 29/08/2554 ตอนบรรยากาศพาไป

หลังจากทีผมได้เขียนบันทึกการลงทุนไว้ล่าสุด http://gkenginvest.blogspot.com/2011/07/08072554.html เป็นช่วงการก่อนที่ผมใช้คำพูดกับเพื่อนว่า "หุ้นขึ้นจนทำอะไรไม่ถูก" ครับ เป็นเรื่องแปลกแต่อาจเป็นความโชคดีของผมก็ได้ ที่ไม่ได้ซื้อ แถมแอบขายไปเล็กน้อย แต่ก็ยังไม่สามารถเล่นรอบได้ สุดท้ายทุกอย่างก็เหมือนเดิมละครับ ช่วงก่อนหน้ามีแต่ข่าวดี เหมือนทุกคนเชื่อมั่นว่าโลกนี้จะไม่มีข่าวร้ายแล้ว จนถึงขนาดทำ New High ของปีนี้ไปเลย หรือมีการเปิดต้วย +50 จุด เรียกว่าบรรยากาศที่ดูดีพาไปจะดีกว่าครับ นักลงทุนพันธุ์เต่าอย่างผม เรียกว่าตกใจกับการขึ้นของราคาหุ้นในพอร์ต ซึ่งปกติไม่เคยไล่ทำ Newhigh มากขนาดนี้ แถมรู้สึกว่ามันดีเกินพื้นฐานต่อราคาที่ผมคิดไว้ในตอนแรกด้วย ถึงแม้ช่วงนั้น งบไตรมาส 2 จะทยอยออกกันก็ตาม แต่สุดท้าย ภาวะเศรษฐกิจนอกประเทศ ทำให้คนรู้สึกว่ามันบรรยากาศไม่ดีแล้ว เลยเทขาย เอากำไรก่อน ส่วนรายย่อย เห็นคนเทขายเยอะๆ ก็ปล่อยของขายออกมาบ้าง ซึ่งที่ราคาวิ่ง เพราะส่วนใหญ่เชื่อว่า พื้นฐานประเทศไทยต้องดีขึ้น ส่วนตอนขายคนส่วนใหญ่เชือว่า เศรษฐกิจโลกต้องมีปัญหาในระยะยาวแน่นอน ...

การวิเคราะห์จากงบกระแสเงินสดของบริษัท :ทั่วไป

มาถึงงบตัวสุดท้ายที่เราสามารถใช้วิเคราะห์พื้นฐานของบริษัทนั้นๆ ได้ คือ งบกระแสเงินสด โดยปกติเงินสดนั้นเป็นเหมือนกระแสเลือดให้บริษัท ถ้าขาดเลือดร่ายกาายก็ไม่มีตัวนำอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย ถ้าเป็นเหตุการณ์ก็อย่างนั้นก็คงไม่รอด เช่นเดียวกับบริษัท ถ้าไม่มีเงินสดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ก็บริษัทนั้นคงไม่รอดเหมือนกัน เพราะเงินสดใช้เพื่อจ่ายค่าแรง ค่าสินค้า ค่าทำให้กิจการดำเนินงานต่อไปได้ ส่วนที่มาของเงินสด ก็ได้มาจาก การกู้ การระดมทุน การขายสินค้า ซึ่งต้องมีกระแสเงินสดทั้งเข้าและออก ซึ่งการเข้าและออก ก็ถือเป็นส่วนสำคัญของการวิเคราะห์เหมือนกัน โดยงบกระแสเงินสดก็แบ่งเป็น 3 ส่วน กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ซึ่ง 3 กระแสเงินสดหมวดนี้ ได้จัดการบอกถึงที่มาที่ไปของเงินจากงบดุลแล้ว โดยความหมายและหน้าที่จะมาอธิบายในบทความต่อๆ ไปครับ

รู้จักกับสินค้าโภคภัณฑ์เบื้องต้น

สินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่มีราคาไม่คงที่เหมือนสินค้าอุตสาหกรรม เป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวตามสภาพเศรษฐกิจ ความต้องการของตลาด สภาพดินฟ้าอากาศ รวมถึงมีการเก็งกำไรจากตลาดได้ด้วย ผ่านตลาด Commodity ใหญ่ๆของโลก สินค้าโภคภัณฑ์ที่เราคุ้นเคย และมีผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งชีวิตประจำวัน ทั้งทางตรงทางอ้อม เช่น น้ำมัน ส่วนสินค้าที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจมหาภาค เช่น พวกทอง หรือโลหะมีค่าทั้งหลาย ซึ่งในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาเป็น ช่วงตลาดโลหะมีค่าได้รับความนิยมมาก ถึงกับต้องขยายเวลาทำการซื้อขายในปี 2011 เลย ส่วนสินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่เราต้องเผชิญกันทุกวันๆ ไม่ว่าราคาข้าว น้ำตาล น้ำมันปาล์ม ยางพารา หรืออื่นๆ แต่สินค้าเกษตรบ้านเรานั้น หลายๆตัว ไม่ได้โดนกำหนดจากตลาดโลก เนื่องจากสินค้าเกษตรหลายๆ ตัวเราเป็นคนผลิตเอง รวมถึงบ้านตัวก็ยังไม่มีอยู่ในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ด้วย ซึ่งบางทีราคาของพวกนี้จะอาศัยดูจากตลาดไท เอาในตอนเช้าเป็นราคาอ้างอิง ส่วนใหญ่สินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินค้าปฐมภูมิ ซึ่งจะหาได้จากธรรมชาติและแปรรูปไ้ด้บาง ส่วนมากจะเป็นต้นทุนทางอุตสหกรรม และส่งผลตอนกำไรข...

ระบบ ระเบียบ วินัย

ผมจะลองเขียนอะไรที่สรุปจากกรอบความรู้คร่าวๆ จากที่ได้เห็นจากเพื่อนที่ลงทุนด้วยกัน ซึ่งแม้ทุกคนจะมีแนวทางการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละคนมีนิสัยการลงทุน แนวคิดการเลือกลงทุนไม่เหมือนกัน ระบบเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกจุดของโลก ไม่ว่าจะเป็นระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ระบบนิเวศวิทยา ระบบร่างกาย ระบบเครื่องเสียง ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบประกันสุขภาพ ระบบ........ สารพัดอื่นๆมากมาย การลงทุนก็มีเป้นระบบ แม้อาจอยากลำบากซักหน่อย แต่มันก็มีระบบของการลงทุนจริงๆ ซึ่งถ้าดูง่าย มีภาพเล็ก ภาพใหญ่ เป็นมหภาค จุลภาค มหาภาคก็คงเป็นเรื่องของตลาด ตลาดทั้งโลก ระดับจุลภาค ก็นักลงทุนที่เป็นทั้งผู้ซื้อขาย ทำให้เกิดตลาดตามความหมายของทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมาเป็นระบบลงทุนของแต่ละบุคคล ก็หลักๆ น่าจะเป็นวิธีการเลือกการลงทุน เลือกที่จะซื้อ เลือกที่จะขาย ทุกคนๆ มักมีความคิดที่ได้ศึกษามาจาก ผู้มีประสบการณ์ หนังสือ ไม่ว่ากลยุทธ์จะเป็นเทคนิค พืันฐาน ซึ่งแต่ละคนจะหลอมรวมความรู้ ประสบการณ์ที่ได้มา ไม่ว่าจะทั้งดี ทั้งร้าย การสร้างเป็น ระบบการลงทุนตามแต่ละคนที่ได้สร้างระบบนั้นๆมา ส่วนระเบียบ เป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ เป็นแนวทางการปฎิบั...

บันทีกการลงทุน 08/07/2554

สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้กำไรมากกว่า การลงทุนหุ้นทั้งครึ่งปีรวมกันซะอีก ถึงแม้สมองผมจะสั่งให้ไม่ชอบตลาดหุ้นขาขึ้น แต่ผมก็อดดีใจไม่ได้ (สัปดาห์เดียว กำไรมากกว่าเงินเดือนผม 2 เดือนอีก) สิ่งที่ผมทำเป็นงานอดิเรกมาตลอดคือ การค้นหาหุ้นจากบริษัทที่ดี การอ่านงบการเงิน การหาแนวโน้มของบริษัท ไม่ว่าในช่วงตลาดแบบไหนก็ตาม และพยายามมั่นใจว่าสิ่งที่เราศึกษาไว้มันต้องดี และพยายามหลอกตัวเองให้ซื้อ หุ้นที่เราคิดว่าดี อย่างน้อย คือเราก็ศึกษามาแล้ว ทำให้เรามั่นใจได้ว่ามันควรต้องดี โดยราคาเป็นความเสี่ยงที่ต้องผจญทุกวันเมื่อตลาดเปิด แต่ในระยะยาวถ้าบริษัทมีการเติบโต ราคาต้องสูงขึ้นแน่นอน และอีกบริษัทโตมากเท่าไร แต่ตลาดหุ้นมีปัญหา ทำให้ราคาลงมา นั้นทำให้ผมยิ่งชอบ เพราะได้หุ้นที่มีผลตอบแทนสูง ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าความเป็นจริง และเมื่อ ตลาดกลับมาปกติเมื่อไร ราคาจะวิ่งไปที่มันควรจะอยู่ หรืออาจเกินไปกว่าความเป็นจริง สิ่งที่เป็นผมเจอ หุ้นที่ดี เวลาตลาดเป็นขาลง จะลงไม่ต่ำกว่าตลาด ผิดกับหุ้นที่พื้นฐานไม่ดี เวลาตลาดลง จะตกรุนแรง ส่วนตอนตลาดขึ้นจะแยกไม่ออกระหว่าง หุ้นดี หุ้นไม่ดี ถ้าเทียบการวิ่งของราคาอ...

วันหลังเลือกตั้งปี 2554

รูปภาพ
วันนี้เป็นวันที่ตลาดหุ้นไทยทำการปิดตัวไปด้วยดัชนี 1090.28 ซึ่งอาจไม่ใช่จุดสูงสุดในรอบเป็น 10 ปี ก็ตาม แต่สิ่งที่อยากให้จำไว้คือ วันนี้ ตลาดปรับตัวสูงขึ้นถึง 48.8 จุด และมีช่วงเวลาทำการ ทำถึง 50 จุด ผมยอมรับว่า เพิ่งเคยเห็นการปรับตัวที่เยอะขนาดนี้ (แต่ถ้าเทียบเป้น % แล้ว 4.6%) อีกสิ่งที่อยากให้จำไว้ได้เมื่อเวลาผ่านไปคือ ต่างชาติซื้อถึง หมื่นล้าน มูลค่าการซื้อขาย มี 6หมื่นล้าน ซึ่งทุกอย่างเป็นข่าวดีเกือบหมด ไม่ว่า กรีซผ่านมาตรการรัดเข็มขัด และสภายุโรปจะให้กู้เพิ่ม ตัวเลข USA ก็ดีขึ้น นับว่าทุกอย่างเรียกว่าเป็นสิ่งที่ควรจดจำไว้ในประวัติศาสตร์การลงทุนเลย ส่วนข้อคิดเตือนสตินักลงทุน ใครที่ตกรถ ก็ขอให้จำไว้ว่า ไม่ใช่รถขบวนสุดท้าย สักวันเหตุการณ์เหล่านี้เกิดอีก ส่วนใครที่ได้กำไรมากๆ ก็ขอให้จำไว้ว่า ไม่ควรหลงระเริงกับผลงานที่ได้จากตลาด ส่วนใครที่จะตัดสินใจอะไรต่อไป ผมก้ขอใช้คำพูดของ วอร์เร็น บัตเฟต ว่า กล้าในช่วงที่คนกลัว และกลัวในช่วงคนอื่นกล้า ไว้เตือนสตินะครับ ซึ่งสำหรับผมตอนนี้พื้นฐานเศรษฐกิจ ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่มีแนวโน้มดีขึ้น (หลังจากเดือนที่แล...

การวิเคราะห์จากงบกำไรขาดทุนของบริษัท :ความหมาย

งบกำไรขาดทุนเป็นอีกส่วนของงบการเงินโดยประกอบด้วยด้านรายได้ กับ รายจ่าย โดยงบกำไรขาดทุนเป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งเป้นผลมาจากกิจกรรมดำเนินงาน เช่น ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการขาย ค่าบริหารงานต่างๆ กับ พวกรายได้จากการขาย และ รายได้อื่น ซึ่งเมื่อนำรายได้ กับ รายจ่ายมา หักลบกัน ก็จะได้ผลของกำไร หรือ ขาดทุนนั้นเอง โดยส่วนใหญ่ทั่วไป กำไรนั้นย่อมดีกว่าขาดทุน คำว่ากำไรตัวนี้ ส่งผลต่อการลงทุนมาก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวววววววว และที่สำคัญ เงินปันผลก็มาจากกำไรส่วนนี้ (โดยส่วนใหญ่นะครับ ไม่นับพวกกู้มาจ่ายปันผล กับ ปันผลเกินกว่ากำไรที่ได้) ระยะสั้น เมื่อได้ข่าวว่ากำไรเมื่อไร ไม่ว่า แมงเม่า นักลงทุน นักเก็งกำไร จะมาสนใจหุ้นทันที รวมทั้งราคาจะทำการสะท้อนทันที แต่สิ่งที่อยากให้สนใจมากกว่านั้นคือ คุณภาพของกำไร นั้นดีไหม ซึ่งพวกนี้ต้องเจาะรายละเอียดลึกๆ ของงบจะทำให้เห็นได้ว่า กำไรนั้น มาอย่างไร ส่วนในระยะยาวที่สำคัญสุดของคุณภาพของกำไร จะเป็นตัวบอก ศักยภาพของบริษัทนั้นๆ ว่ามีแนวโน้มโตต่อไปได้มากแค่ไหน แต่อย่างไร กำไร ก็ดีกว่า ขาดทุนแน่นอนครับ

วิกฤตเศรษฐกิจในระดับมหภาค

ช่วงนี้ผมโดนถามเกี่ยวกับเรื่องปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเยอะมาก เนื่องจากน้องๆ ได้ไปเล่นทอง กันไว้เยอะ เลยชอบถามคำถามในเศรษฐกิจมหภาคมากขึั้น ช่วงนี้วิกฤตของ กรีซ กำลังเป็นประเด็นสำคัญ แม้จะเกิดมาเกือบ 2 ปีแล้วก็ตาม เนื่องจากความรุนแรงของระดับหนี้ และ ความซับซ้อนของค่าเงินยูโร รวมถึงภาวะวิกฤตของ อเมริกา ด้วย ซึ่่งก็เกิดจากภาวะฟองสบู่อสังหาแตก ทำให้เกิดวิกฤตทางการเงินเกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นคล้ายๆ กับไทยเมื่อปี 2540 ประมาณเมื่อ 10ปีที่แล้ว โดยสิ่งที่เกิด เกิดจากบางภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ เช่นภาคอสังหาที่มีการเก็งกำไรกันสูงเกินไป ภาครัฐที่ก่อหนี้เกินความสามารถที่จะชำระได้ ภาคการเงินที่ปล่อยกู้เกินความสามารถที่จะใช้คือได้ หรือ หลักทรัพย์ไม่ได้คุณภาพพอให้กู้เงิน ทำให้เกิดปัญหาเป็นทอดๆ กันไป ส่วนใหญ่ที่ผมเคยเห็นและพอสรุปได้ก็มีประมาณนี้ละครับ ภาครัฐ ภาคการเงิน ภาคอสังหา ที่จะโดนกันเต็มๆ เกินวิกฤตที เหมือนทุกอย่างโดนล้างหมด บริษัทก็ล้มเนื่องจากภาคการเงินไม่ปล่อยกู้ ภาคอสังหาก็ราคาตกอย่างหนัก ภาครัฐก็ไม่สามารถลงทุนได้เนือ่งจากหนี้เยอะ ( ไม่สามารถสร้างหนี้เพิ่มได้ จึงไม่มีเงินมาลงทุน ) จากนั้น ทุกภาคส่วนก็จ...

การวิเคราะห์จากงบการเงินของบริษัท :ส่วนของผู้ถือหุุ้น

ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสินออกแล้ว ซึ่งเขียนสมการออกมาได้ในรูปนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้น = สินทรัพย์ – หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้นที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง ทุนจดทะเบียน กำไร (ขาดทุน) สะสม โดยความสำคัญในการวิเคราะห์บริษัทเพื่อลงทุนของส่วนผู้ถือหุ้น ในการที่บริษัทหนึ่งจะเริ่มทำธุรกิจ ต้องมีผู้ลงทุนซึ่งส่วนนั้นก็จะกลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นไป คิดง่ายๆ ครับ ทำอะไรไม่มีทุน ออกแรงเป็นทุน ออกเงินเป็นทุน ถึงเวลาแบ่งกันก็ลำบาก ทุนทางบัญชีจะตีเป็นมูลค่าเงินเท่านั้น เวลาได้กำไร ขาดทุน ทำแล้วขาดทุน ก็เข้าเนื้อ เสียตังกันไป ซึ่งถือเป็นความเสียงในการลงทุนครับ เมื่อตีเป็นทุนออกมาได้ ก็แบ่งหุ้นรับความเสี่ยงในการกำไร หรือ ขาดทุนกันไป ในปีบัญชีแต่ละรอบ เมื่อขึ้นรอบถัดไปจะนำส่วนกำไรหรือขาดทุนนั้น มาไว้ในนี้ ส่วนใหญ่กำไรหรือขาดทุนก็จะนำมาใส่ไว้ที่ ส่วนของผู้ถือหุ้น หลังจากหักปันผลไปแล้ว โดยส่วนใหญ่เวลาจะดูว่าบริษัทมีการโตในช่วงก่อนหน้าเพียงใด ก็มาดูที่ส่วนของผู้ถือหุ้นเนียละครับ และดูย้อนหลังไปหลายๆปี ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าบริษัทใดดูส่วนข...

การสร้างนิสัยการลงทุน

ตั้งแต่เปิด Blog นี้มา ผมมักจะพูดการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือ หุ้นมาตลอด ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะบอกแต่เรื่องพื้นฐาน แต่ก็ไม่ค่อยได้บอกว่าปกติ เลือกหุ้นกันอย่างไร โดยหลักๆ การลงทุนจะมี 2 แบบ ที่คุ้นหู มูลค่า กับ เก็งกำไร สำหรับผมมันเป็น วิธีคิดมากกว่าข้อบังคับ ซึ่งใครถนัดแบบไหน หรือ เห็นดี เห็นชอบด้านไหน ก็จะทำตัวตามความเชื่อแบบนั้น แม้แต่ตัวผมเอง บางครั้งก็ไม่กล้าบอกว่าเป็น นักลงทุนมูลค่า เพราะบางเวลาก็กลายเป็นนักเก็งกำไร เหมือนกัน ที่สำคัญกว่าคือ เมื่อเราลงทุนไปสักพัก เราจะเริ่มมีรูปแบบการลงทุนไปอย่างไม่รู้ตัว เราจะมีสาเหตุที่เลือกหุ้น เลือกลงทุนเอง หรือ ซื้อ ขาย ตามเงื่อนไขอะไรบางอย่าง แม้บางครั้งจะลงทุนแบบไม่มีเหตุผล แต่นั้นก็ถือเป็นเหตุผลที่เราลงทุน ซึ่งบางคนเรียกว่า พฤติกรรมการลงทุนบ้าง ระบบเทรดบ้าง ปรัชญาการลงทุนบ้าง ทัศนคติ ส่วนผมว่าคงเหมือนกับวิชาจิตวิทยาเรื่องพฤติกรรม การทำซ้ำๆ จนเป็นนิสัยการลงทุน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ ถ้าถูกออกแบบมาดีตั้งแต่แรก เราจะไม่มีปัญหาในการลงทุน เช่น การตัดขาดทุน (เป็นอย่างแรกที่ได้เรียนรู้) การคัดเลือกหุ้นที่ดี การสะสมเงิน หรือ การออม ซึ่งส่วนใหญ่ ถ้าออกมาดีตั้...

การวิเคราะห์จากงบการเงินของบริษัท :หนี้สิน

หนี้สิน เป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างของสมการบัญชี ความหมายของหนี้สินในบัญชีคือ ภาระผูกพันที่ต้องจ่าย ซึ่งทั่วไปใครมีหนี้ก็ต้องชำระ ส่วนประกอบการมีหนี้สินคือ เจ้าหนี้ที่ลูกหนี้ต้องจ่ายเงินในไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้เงินกู้ ลูกหนี้ที่ต้องชำระเงินตามที่ตกลงกับเจ้าหนี้ สิ่งที่กู้ยืม อาจะเป็นเงิน หรือสินค้า แต่ส่วนใหญ่ในทางบัญชีทุกอย่างจะตีออกมาเป็นมูลค่าของเงินหมด โดยหนี้สินนั้น แบ่งเป็น ระยะสั้น ระยะยาว หนี้สินระยะสั้นคือ ภาระผูกพันที่ต้องจ่ายภายใน 1 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหนี้การค้า กู้ยืมเพื่อสภาพคล่องของธุรกิจ ซึ่งในการค้าขายนั้น บางทีเราซื้อของกับคู่ค้า ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินสดทันที เราสามารถนำของที่ได้มา ไปขายก่อนได้ ส่วนจะได้ระยะเวลาชำระเงินกี่วันก็ขึ้นอยู่เงื่อนไขที่คู่ค้าให้เรา เช่น 7 วัน 15 วัน 30 วัน หรือมากกว่านั้น หนี้สินระยะยาวคือ ภาระผูกพันที่ต้องจ่ายมากกว่า 1 ปี ส่วนใหญ่เป็นการกู้มาเพื่อลงทุน ซึ่งเป็นระยะยาว 3 ปี 5 ปี หรือเป็น 10 ปีเลยก็มี ส่วนใหญ่จะเป็นเงินกู้จากธนาคาร หรือ ตราสารหนี้ที่บริษัทออกขายกับนักลงทุน ส่วนหนี้จะมีดอกเบี้ยจ่ายมาเป็นต้นทุนก...

การวิเคราะห์จากงบการเงินของบริษัท :สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน โดยคำนิยามในวิชาบัญชีให้ความหมายว่า สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนคือ สินทรัพย์ที่ไม่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือ 1 รอบทำการธุรกิจ ตัวอย่างเช่น เงินฝากสถาบันการเงินที่มีข้อจำกัดในการใช้ , เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีราคาทุน , อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน , ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ , สินทรัพย์ภายใต้สัญญาสัมปทาน ซึ่งที่สำคัญ คือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ซึ่งโดยหลักจะเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีทุกบริษัทและ ( โดยส่วนใหญ่ ) มีมูลค่าค่อนข้างสูงมากที่สุด ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนั้น ส่วนใหญ่มีไว้เพื่อใช้ในการทำรายได้ เช่น -ที่ดินเอาไว้ตั้งสำนักงาน โรงงาน หรือไว้สร้างอสังหาเพื่อการขาย จนไปถึงเช่า -อุปกรณ์สำนักงานให้พนักงานทำงานหรืออำนวยความสะดวก -เครื่องจักรต่างๆไว้ผลิตสินค้า -เงินลงทุนระยะยาว เก็บดอกกินผล ซึ่งสิ่งที่มีเป็นข้อพิจารณาคือ ค่าเสื่อมของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นสิ่งที่บันทึกลงว่ามันมีการเสื่อมสภาพ ยิ่งถ้าปีที่ค่าเสื่อมมันน้อย เช่น คอมพิวเตอร์ ซึ่งนิยมตัดค่าเสื่อมประมาณ 3 ปี หมายความว่าถ้าบริษัทซื้อคอมพิวเตอร์ในวันนี้ อีก 3ปี จะหมดมูลค่...

การวิเคราะห์จากงบการเงินของบริษัท :สินทรัพย์หมุนเวียน

สินทรัพย์หมุนเวียน โดยคำนิยามในวิชาบัญชีให้ความหมายว่า สินทรัพย์หมุนเวียนคือ สินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือรอบทำการธุรกิจ ตัวอย่างเช่น เงินสด , เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด , เงินลงทุนระยะสั้น , ลูกหนี้การค้า , ตั๋วเงินรับการค้าสุทธิ , เงินให้กู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดภายในหนึ่งปี , สินค้าคงเหลือ , สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น , ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า , ดอกเบี้ยค้างรับ ในทางปฎิบัติเงินสดนั้นถือเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากที่สุด ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นในการทำธุรกิจ เงินสดจะเป็นตัวสำคัญในการให้ธุรกิจ เราสามารถนำไปจ่ายเจ้าหนี้ได้ทันที หรือนำไปเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ ถ้ามีเงินสดพอที่จะชำระหนี้ได้ รับรองบริษัทนั้นไม่มีทางล้มแน่นอน เงินลงทุนระยะสั้น เมื่อทางบริษัทต้องการนำเงินไปลงทุนในระยะสั้น เนื่องจากการเก็บเงินไว้เฉยๆ อาจทำให้เงินสดลดมูลค่าได้ตามอัตราเงินเฟ้อ ส่วนเมื่อเงินเหลือ อาจนำไปซื้อพวกหลักทรัพย์ หุ้น ในตลาด ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ภายใน T+3 หรือ 3วันนั้นเอง หรือตราสารหนี้ระยะสั้นอื่นๆ ลูกหนี้การค้า เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าด้...