ค่าเงิน สกุลเงิน กับการลงทุน

ค่าเงิน หรือ สกุลเงินเหมือนเป็นสัญลักษณประจำชาติอีกรูปแบบนึง และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของแต่ละประเทศด้วย ในแต่ละประเทศนั้นๆ เช่น THB ก็ประเทศไทย USD ก็สหรัฐอเมริกา HKD ก็ฮ่องกง JPY ก็ญี่ปุ่น EU ก็กลุ่มประเทศยูโร

โดยปกติการมีสกุลเงินเป็นเรื่องของแต่ละประเทศที่สร้างระบบกันมาจากทุนสำรองระหว่างประเทศ สกุลเงินเป็นสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือในการค้าขายระหว่างประเทศ การที่สกุลเงินนั้นมีมูลค่ายอมให้คนแลกเปลี่ยนกันได้นั้นต้องเรียกว่า ต้องสร้างความเชื่อถือให้กับนักธุรกิจเป็นอย่างมาก

โดยการค้าขาย หรือถ้าเราเองเงินไปลงทุนในประเทศไหน ต้องแลกเงินเป็นสกุลเงินประเทศนั้น เช่น ถ้าคุณจะไปเที่ยว สิงค์โปร์ คุณต้องเอาเงินบาทไปแลกสิงคโปร์ดอลล่า คือจะเอาเงินบาทไปซื้อของที่สิงค์โปร์ไม่ได้

ดังนั้น เมื่อมีความต้องการซื้อ ต้องการขาย เมื่อความต้องการซื้อขายมาพบกันก็เป็นตลาด เงินก็เหมือนสินค้าอื่นๆ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ มีความต้องการซื้อ ขาย ก็กลายเป็นตลาด

เมื่อสินค้าราคาถูก คนก็ต้องการมาก เมื่อสินค้าราคาแพง คนก็ต้องการน้อย

โดยสิ่งที่กำหนดมูลค่าคือการเติบโตของประเทศนั้น ประเทศไหนเติบโตสูง คนจะต้องการสกุลเงินนั้นมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นนั้นเอง

คราวนี้ มาดูการลงทุน ส่วนใหญ่เวลาเศรษฐกิจแต่ละประเทศเกิดปัญหา วิกฤติเศรษฐกิจ สิ่งที่ตามมาคือ ค่าเงินจะอ่อนตัวลง ด้วยความอ่อนแอของตัวเศรษฐกิจเอง ทำให้คนไม่ต้องการไปทำธุรกิจประเทศนั้น ซึ่งทำให้ ราคาของค่าเงินต่ำลงด้วย

โดยมากความจริงช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่สินค้ามีราคาถูกด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว บวกกับ ค่าเงินที่อ่อนลง ทำให้คนอาจได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ทำให้ได้กำไร 2 ต่อ

แต่สุดท้ายสำหรับผม ช่วงที่เศรษฐกิจมีความอ่อนแอ สูง มักจะมีนโยบายไรประหลาดๆ จากภาครัฐออกมาด้วย ซึ่งบางที่ก็ถือเป็นนวตกรรมใหม่ หรือ มุขเดิม ที่อาจส่งผลกระทบนักลงทุนได้ ดังนั้น มันมีความเสี่ยงระดับนึงที่ีเราต้องรู้ไว้ครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย NP ของตลาดหลักทรัพย์

StarfishX: สำหรับการดึง SET data

PPE vs Rev, Gross margin, New Margin